ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กั
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมคราวที่แล้วเรื่อง “กลเหรียญเป็นแบงค์ Brazil Nut Effect เล่นกับจุดศูนย์ถ่วง” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)
ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูคลิปนี้ก่อนครับ:
ทุกครั้งที่คุณ Miyoko เรียงชิ้นส่วนต่างๆ เธอจะเอารับน้ำหนักใต้จุดศูนย์ถ่วงของวัตถุเสมอ ทำให้มีความสมดุล ไม่ตกลงมาครับ
ของที่จะถูกยกขึ้นมาผ่านตำแหน่งเดียว (เช่นใช้นิ้วเดียวยก หรือใช้เชือกผูก) โดยที่ของไม่หมุนแล้วตกลงไปนั้น ตำแหน่งที่ถูกยกจะต้องอยู่ในแนวเดียวกันกับจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity) ของมันครับ
ถ้าเราหยิบของมาแล้วจินตนาการว่ามันประกอบด้วยส่วนย่อยชิ้นเล็กๆเต็มไปหมดโดยที่แต่ละชิ้นเล็กๆก็มีน้ำหนักของมัน จุดศูนย์ถ่วงก็คือตำแหน่งเฉลี่ยของส่วนย่อยต่างๆโดยคำนึงถึงน้ำหนักของส่วนย่อยด้วย เช่นถ้าเรามีไม้บรรทัดตรงๆที่มีความกว้างความหนาและความหนาแน่นเท่ากันทั้งอัน จุดศูนย์ถ่วงมันก็อยู่ที่ตรงกลางไม้บรรทัด ถ้ามีลูกบอลหนักสองลูกต่อกันด้วยไม้แข็งเบาๆโดยที่ลูกบอลหนึ่งหนักกว่าอีกลูก จุดศูนย์ถ่วงก็จะอยู่บนเส้นที่ลากผ่านลูกบอลทั้งสอง แต่ใกล้ลูกบอลหนักมากกว่า
วิธีหาจุดศูนย์ถ่วงของอะไรที่มีลักษณะยาวๆก็ทำได้ดังในคลิปครับ:
สังเกตว่ามือที่ห่างจากจุดศูนย์ถ่วงมากกว่าจะมีแรงกดบนมือน้อยกว่า ความฝืดน้อยกว่าทำให้มือนั้นเริ่มขยับก่อน มือทั้งสองจะผลัดกันขยับโดยที่มือที่ห่างจากจุดศูนย์ถ่วงมากกว่าจะเป็นมือที่ขยับ จนในที่สุดมือทั้งสองก็จะไปเจอกันใต้จุดศูนย์ถ่วงครับ
จากนั้นเราก็เอาไม้บรรทัดมาผูกติดกับค้อนแล้วเลี้ยงให้สมดุลบนนิ้วหรือขอบโต๊ะครับ ส่วนหัวค้อนหนักกว่าด้ามทำให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ไปทางใกล้ๆหัวค้อนทำให้จุดที่เราเอานิ้วไปเลี้ยงอยู่ใกล้ๆหัวค้อนครับ:
แผนการตอนแรกผมจะให้เด็กๆประถมปลายเรียนรู้เรื่องการเต้นของหัวใจและหัดวัดความดันโลหิต แต่เด็กๆอยากเล่นสมดุลกัน ผมก็เลยให้เล่นกันไปครับ เด็กๆเรียงของให้สมดุลได้หลากหลายดีมากครับ:
เด็กๆบางคนเห็นอุปกรณ์วัดความดันโลหิตที่ผมเอามาด้วยเลยเข้ามาเล่นด้วย เราเลยพยายามวัดความดันด้วยการรัดต้นแขนและฟังเสียงการไหลของเลือดตามวิธีที่อธิบายไว้แบบนี้ครับ:
เนื่องจากเสียงรอบข้างดัง พวกเราจึงไม่ค่อยได้ยินเสียงการไหลของเลือดชัดเจนนัก เราเลยใช้เครื่องอัตโนมัติวัดกันแทนครับ ส่วนหลักการทำงานต่างๆเราจะไว้คุยกันเปิดเทอมหน้า
One thought on “เล่นเรื่องจุดศูนย์ถ่วง หัดวัดความดันโลหิต”