Category Archives: science

ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน” ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแม่เหล็กครับ

ผมเริ่มโดยให้เด็กๆดูวิดีโอกบและตั๊กแตนลอยอยู่ในอากาศดังในคลิปต่อไปนี้

ผมถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่ามันลอยได้อย่างไร เด็กๆบอกว่ามันอยู่ในอวกาศ แต่ผมบอกว่าจริงๆแล้วมันอยู่บนพื้นโลกนี่แหละ แต่มันอยู่ในสนามแม่เหล็กที่แรงมาก แรงกว่าสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 500,000 เท่า (ความแรงประมาณ 16 T หรือ 16 เทสล่า โดยที่สนามแม่เหล็กโลกมีขนาดประมาณ 25-65 ไมโครเทสล่า) Continue reading ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก

ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด” ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิ วันนี้เรื่องแรงตึงผิวครับ เราทำการทดลองกันสองสามอย่าง

ผมเริ่มด้วยกลจุกคอร์กลอยน้ำครับ เอาแก้วน้ำมาสองใบ เติมน้ำให้เต็ม แล้วเอาจุกคอร์กเล็กๆไปลอยในแก้วทั้งสอง ปรากฏว่าจุกคอร์กจะลอยกลางๆแก้วใบหนึ่งแต่จะลอยริมๆแก้วอีกใบ แม้ว่าเราจะไปเขี่ยๆให้จุกคอร์กลอยไปที่อื่น แต่ในแก้วใบหนึ่งจุกคอร์กจะลอยไปตรงกลางเสมอ ขณะที่อีกใบหนึ่งจุกคอร์กจะลอยไปริมๆแก้วเสมอ

ลอยแบบนี้ครับ แก้วหนึ่งจะลอยริมๆ อีกแก้วจะลอยกลางๆ    

ผมเคยถ่ายวิดีโอเรื่องนี้แล้วไว้ไปใน YouTube ฝรั่งเข้ามาด่ากันมากมายเพราะฟังไม่รู้เรื่องครับ (ทั้งๆที่ผมก็ใส่คำอธิบายภาษาอังกฤษไว้ใต้วิดีโอแล้วครับ 🙂 )

Continue reading ทำการทดลองเรื่องแรงตึงผิวกัน

ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กๆเรื่องยาน Curiosity ทดลองเรื่องความยืดหยุ่น และเล่นของเล่นไจโรสโคปกับเด็กอนุบาล” อยู่ที่นี่ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้ทำการทดลองเกี่ยวกับความยืดหยุ่นโดยสร้างและยิงเครื่องยิงแบบในเกม Angry Birds สำหรับเด็กประถม และไปเล่นแป้งข้าวโพดกับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม ผมเอาของเล่นที่เรียกว่าสลิงกี้ (Slinky) ซึ่งก็คือสปริงขนาดใหญ่เห็นได้ชัดนั่นเอง ผมปล่อยให้มันยืดหดยืดหดให้เด็กๆดู เด็กๆสังเกตเห็นว่าเมื่อผมให้สปริงยาวๆสั่น มันจะสั่นช้ากว่าตอนให้สปริงสั้นๆสั่น เช่นเดียวกันกับไม้บรรทัดยาวๆจะสั่นช้ากว่าไม้บรรทัดสั้นๆ ผมหวังว่าเด็กๆจะจำภาพเหล่านี้ได้เมื่อเขาโตขึ้นและเรียนเรื่องสปริง ค่า k ของสปริง และการสั่น คือความถี่ในการสั่นเพิ่มขึ้นตามความแข็งของสปริง (หรือค่า k ของสปริงนั่นเอง) และถ้าเราตัดสปริงให้สั้นลง ค่า k ของสปริงจะมากขึ้นทำให้สั่นเร็วขึ้นนั่นเอง

สลิงกี้ยืดๆหดๆครับ
ไม้บรรทัดสั่นครับ

 ผมบอกเด็กๆต่อว่าของที่เราเห็นว่าแข็งๆเช่นกระเบื้อง หิน เหรียญโลหะ กระจก ฯลฯ นั้น ต่างก็สามารถสั่นได้ทั้งนั้น แม้ว่าตาเราจะมองเห็นได้ยาก แต่เรารับรู้ถึงการสั่นได้จากเสียงของมันเวลาเราไปเคาะมันนั่นเอง

จากนั้นก็ถึงเวลาสนุก ผมเอาของเล่นที่ใช้หนังยางเป็นตัวดีดไม้หนีบผ้าออกไปคล้ายๆในเกม Angry Birds ที่ปล่อยนกออกไปชนหมู ผมลองใช้หนังยางยาว (สามเส้นต่อกัน) และหนังยางสั้น (สองเส้นต่อกัน) เมื่อยึดออกมาเท่าๆกัน หนังยางสั้นจะยิงได้ไกลกว่า (เหมือนกับสปริงสั้นมีค่า k มากกว่าสปริงยาว) นอกจากนี้ของเล่นอันนี้มีที่วัดมุมเพื่อช่วยในการเล็งด้วยครับ Continue reading ทดลองความยืดหยุ่น เล่นของเล่นแบบ Angry Birds และเล่นแป้งข้าวโพด