วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กอนุบาลสามมาครับ เด็กๆได้เล่นตะเกียบลมที่อาศัยหลักการที่ว่าลม (หรือของไหลอื่นๆเช่นน้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอลทำให้ลูกบอลติดอยู่กับสายลม เหมือนมีตะเกียบล่องหนที่ทำจากสายลมคีบลูกบอลอยู่ครับ ปรากฎการณ์เรียกว่า Coanda Effect ครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร” ครับ)
ผมเอาอุปกรณ์หลายอย่างมาให้เด็กๆดูครับ มีเครื่องเป่าผม พัดลมเล็กๆ เครื่องเป่าหญ้า ลูกปิงปอง ลูกโป่ง โฟมกลมๆ และลูกบอลชายหาดพลาสติก แล้วถามเด็กๆว่าถ้าเราเป่าลูกบอลกลมๆด้วยเครื่องเป่าต่างๆจะเกิดอะไรบ้างครับ ให้เด็กๆเดากันไปแล้วก็จับคู่ลูกบอลประเภทต่างๆกับเครื่องเป่าประเภทต่างๆให้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น พบว่าถ้าแรงเป่ามากไป ลูกบอลก็กระเด็นไปไกล ถ้าลูกบอลหนักไป ลูกบอลก็ตกพื้น แต่ถ้าแรงเป่ามีขนาดเหมาะสมกับลูกบอล ลมจะเลี้ยงลูกบอลให้ลอยอยู่ในอากาศ และเมื่อเปลี่ยนทิศทางลมช้าๆลูกบอกก็จะขยับโดยจะอยู่ในสายลมเสมอด้วยครับ ตัวอย่างการเล่นครับ:
Continue reading ของไหล (อากาศ, น้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอล ตะเกียบลม →
บันทึกย่อๆสัปดาห์นี้ครับ จากข่าวใหญ่เรื่องยาน Juno ไปเยี่ยมดาวพฤหัส ผมให้เด็กๆคำนวณว่าถ้าดวงอาทิตย์มีขนาด 10 cm ดาวพฤหัสจะใหญ่แค่ไหนและอยู่ไกลประมาณไหนครับ ใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับที่เปรียบเทียบขนาดโลกที่เคยทำไปแล้ว จะได้ว่าดาวพฤหัสขนาดประมาณ 1 cm และอยู่ห่างไปประมาณ 50 เมตรครับ
ผมให้เด็กสังเกตการความเกี่ยวข้องกันระหว่างกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กครับ:
และทดลองเล่นปืนแม่เหล็กครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดดาวพฤหัส กระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก ทำความคุ้นเคยกับตารางธาตุ →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วมีเด็กป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอืนๆใส่ไมโครเวฟแล้วนิ่ม ไม่กรอบ ผมเลยเอาปัญหานี้มาให้เด็กประถมคิด เด็กๆได้หัดเดา (ตั้งสมมุติฐาน) ว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง แล้วให้ไปหาทางทดลองว่าสิ่งที่เดาน่าจะถูกหรือผิดครับ เป็นการบ้านเพื่อมาคุยกันอีกสามสัปดาห์ จากนั้นได้ดูคลิปการเคลือบสีผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วยการพิมพ์ด้วยฟิล์มสีลอยน้ำ (Hydrographic Printing) โดยสืบเนี่องมาจากกิจกรรมที่เด็กๆได้หัดทำ Marbling Art ที่ใช่สีลอยน้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้เริ่มสังเกตปรากฎการณ์กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และสังเกตปืนแม่เหล็กครับ เด็กอนุบาลสามได้เล่นลูกข่างไจโรสโคปกันครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป” ครับ)
เมื่อสองสัปดาห์ก่อนน้องเอวาป.1 ถามผมว่าทำไมปลาเส้นทาโร่ใส่ไมโครเวฟถึงกรอบ แต่ของอย่างอื่นใส่ไปแล้วไม่กรอบ ผมจึงมาถามเด็กประถมว่าคิดว่าอย่างไร เด็กๆก็เสนอไอเดียต่างๆกันดังในรูปครับ:
Continue reading ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)