Category Archives: General Science Info

ลิงก์เรื่องรถไฟฟ้า (Battery Electric Vehicles)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องรถพลังไฟฟ้าเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. รถไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และแบตเตอรี่ (BEV = Battery Electric Vehicle) มีมานานพอๆกับรถเครื่องยนต์แบบที่เราคุ้นเคย แต่ข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่ที่หนักและจุพลังงานได้น้อยทำให้รถใช้เครื่องยนต์แพร่หลายกว่ามากๆในเกือบๆร้อยปีที่ผ่านมา
  2. เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่รวมถึงความรู้หลายๆอย่างที่ดีขึ้นทำให้สามารถผลิตรถไฟฟ้าได้ดีในราคาใกล้เคียงรถเครื่องยนต์แล้ว
  3. ข้อดีของรถไฟฟ้าคือ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ชิ้นส่วนน้อยทำให้พังยากขึ้น สมรรถนะดีแรงบิดสูงตั้งแต่เริ่มเร่งความเร็ว เสียงเงียบ ความร้อนน้อยกว่า ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรต่ำกว่า
  4. ข้อเสียคือ ระยะทางต่อการชาร์จยังน้อยกว่าเติมน้ำมันเต็มถัง สถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีน้อย เวลาที่ใช้ชาร์จนานกว่าเติมน้ำมันมาก
  5. ประเทศไทยเก็บภาษีแบตเตอรี่สูง ทำให้ผู้ผลิตในประเทศสร้าง BEV แข่งขันได้ยาก
  6. รถ Hybrid ที่มีเครื่องยนต์เผาไหม้น้ำมัน + มอเตอร์ + แบตเตอรี่แต่ไม่มีปลั๊กชาร์จ จะได้พลังงานการขับเคลื่อนทั้งหมดจากน้ำมันที่เติมเข้าไป ส่วนแบตเตอรี่เป็นตัวเสริมเก็บพลังงานตอนเบรคเท่านั้น จริงๆไม่น่าจะจัดรวมอยู่ในประเภทรถไฟฟ้าเท่าไรนัก
  7. มีรถที่ไม่ใช้แบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้า แต่ใช้เทคโนโลยีอื่นเก็บเช่นใช้ flywheel, super capacitor, และ hydrogen fuel cell เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่พัฒนาเท่ากับแบตเตอรี่ ทำให้ต้นทุนยังสูงกว่า
  8. รถพวกที่ใช้ไฮโดรเจนยังต้องพึ่งการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติเพื่อแปลงมีเธนเป็นไฮโดรเจน ถ้าจะแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนก็ต้องใช้พลังงานมาก พลังงานเหล่านั้นเอาไปป้อนแบตเตอรี่โดยตรงดีกว่า นอกจากนี้การเก็บและขนส่งไฮโดรเจนยังมีราคาสูง
  9. การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้ไฟฟ้าจะมีผลลดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการใช้รถส่วนตัว ควรพัฒนาระบบให้สะดวกและปลอดภัย

ลิงก์น่าสนใจ:

ตัวอย่างการทำงานของรถไฟฟ้า:

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่รถไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้:

เปรียบเทียบผลกระทบก๊าซเรือนกระจกระหว่างรถไฟฟ้าและรถเครื่องยนต์:

ข้อจำกัดของไฮโดรเจนในปัจจุบัน:

ตัวอย่างรถไฟฟ้าขนาดเล็กๆราคาถูก:

https://www.youtube.com/watch?v=2B20sgxLmys

ตัวอย่างผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่างๆในโลก: 6 of 10 Big Electric Car Companies Are in China

ลิงก์เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆสู้ภัยพิบัติ

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องเทคโนโลยีสู้ภัยพิบัติเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. มีการใช้ภาพและข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อคาดการณ์ (เช่นทิศทางพายุ, ความชุ่มน้ำของดิน, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิศาสตร์) ว่าอาจเกิดภัยพิบัติที่ใดในเวลาประมาณใด ข้อมูลต่างๆถูกประมวลด้วยซอฟท์แวร์หลายๆแบบ รวมถึงมีการพัฒนาระบบ AI ต่างๆมาช่วย
  2. ภาพและข้อมูลจากดาวเทียมใช้สำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพื่อการช่วยเหลือต่างๆ
  3. ระบบสื่อสารที่ไม่ต้องใช้เครือข่ายรวมศูนย์เริ่มมีการใช้มากขึ้น เช่นโทรศัพท์มือถืออาจติดต่อกันโดยตรงและช่วยกันส่งข้อมูลไปมาแบบ Mesh Networking (การติดต่อแบบนี้มีประโยชน์ในกรณีระบบโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้)
  4. โปรแกรมต่างๆบนโทรศัพท์มือถือสามารถช่วยระบุตัวตน ตำแหน่ง และข้อมูลอื่นๆเช่นภาพถ่าย วิดีโอ และส่งข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่ศูนย์ช่วยเหลือ
  5. มีการใช้โดรนและหุ่นยนต์ต่างๆเข้าสำรวจสถานที่ประสบภัย เพื่อสร้างแผนที่หน้างานและค้นหาผู้ประสบภัยที่ตกค้างตามที่ต่างๆ มีกล้องและเซนเซอร์ รวมถึงระบบสื่อสารกับผู้ประสบภัย
  6. มีระบบจ่ายไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ ตั้งแต่ขนาดเล็กๆจนไปถึงระดับโรงไฟฟ้า
  7. มีการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งแล้วสรุปเป็นภาพและแผนที่เพื่อช่วยในการตัดสินใจต่างๆในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการวิจัยพวก Big Data และ AI ในเรื่องนี้ด้วย

ลิงก์น่าสนใจ:

ดาวเทียมญี่ปุ่นเพื่อถ่ายภาพภัยพิบัติ:

ประเมินความเสี่ยงแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

ตัวอย่างการพัฒนา AI ช่วยดูภาพจากดาวเทียมเพื่อทำนายภัยพิบัติ:

ตัวอย่างการพัฒนา AI ช่วยเหลือบริเวณประสบภัย:

ใช้โซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่จ่ายไฟฟ้า:

ตัวอย่างโปรแกรมให้ประชาชนช่วยรายงานเรื่องต่างๆ

ตัวอย่างการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยหาผู้ประสบภัย:

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโดรน (Drone/UAV)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องโดรนเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. โดรน (drone) เป็นชื่อไม่เป็นทางการของ UAV (Unmanned Aerial Vehicle หรืออากาศยานไร้คนขับ)
  2. โดรนมีมาเกือบๆร้อยปีแล้ว มีความพยายามบังคับยานบินเช่นบอลลูนหรือเครื่องบินโดยไม่ใช้คนขับ แต่ผ่านวิทยุบังคับภาคพื้นดินตั้งแต่สมัยเริ่มมีอากาศยานและวิทยุ
  3. ประมาณปี 1935 เครื่องบินปีกสองชั้นชื่อ “Queen Bee” ถูกดัดแปลงให้บังคับจากภาคพื้นดินโดยไม่ต้องมีนักบินในเครื่อง เครื่องที่ดัดแปลงถูกเรียกว่าโดรน เป็นการเล่นคำเพราะคำว่าโดรนในภาษาอังกฤษแปลว่าผึ้งตัวผู้ ส่วนคำว่า Queen Bee แปลว่านางพญาผึ้ง โดรนรุ่นนี้ถูกใช้เป็นเป้าฝึกยิงต่อสู้อากาศยาน
  4. ผ่านมาอีกหลายสิบปีโดรนส่วนใหญ่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาถูกนำไปใช้ทางการทหาร เช่นเป็นเป้าบิน ติดกล้องสอดแนม ล่อเรดาร์และขีปนาวุธข้าศึก ติดอาวุธทำลาย ขนส่งเสบียงและยา โดรนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีปีก หน้าตาคล้ายๆเครื่องบิน แต่มีบางรุ่นหน้าตาคล้ายเฮลิคอปเตอร์
  5. สิบปีที่ผ่านมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและราคาถูกลงมาก ทำให้มีการผลิตโดรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไป มีการประยุกต์การใช้งานหลากหลาย เช่น ถ่ายภาพทางอากาศ ใช้ในการผจญเพลิง ค้นหาและกู้ภัย เฝ้าระวังป่าและสัตว์ป่า การเกษตร บินแข่ง ใช้ตกแต่งแทนพลุ และอื่นๆ โดรนสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นพวกปีกหมุน มีหลายใบพัด เช่นตระกูล quadcopter ที่มีสี่ใบพัด ส่วนโดรนหน้าตาเหมือนเครื่องบินมักจะใช้ในงานที่ต้องการความเร็วสูงและระยะทางไกลหรือบินอยู่ได้นานๆ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องลอยอยู่ในที่จำกัด
  6. ในประเทศไทยมีหลายหน่วยวิจัยและประยุกต์โดรนเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆเช่นการใช้งานทางการทหาร การสำรวจพื้นที่ไร่นา การโปรยปุ๋ยและยาฆ่าแมลง การตีความข้อมูลจากโดรนไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติม
  7. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ คอมพิวเตอร์ และ AI น่าจะทำให้โดรนทั้งหลายเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และน่าจะทำงานอื่นๆได้มากมายขึ้นกับจินตนาการของนักประดิษฐ์

ลิงก์น่าสนใจ:

ประวัติย่อของโดรน:

ตัวอย่างโดรนสำหรับถ่ายภาพและวิดีโอ:

ใช้โดรนส่งเลือดให้โรงพยาบาลต่างๆในประเทศรวันดา:

โดรนแทนพลุ:

ปัญหาต่างๆในการพัฒนาโดรนส่งของทั่วไป: