เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโดรน (Drone/UAV)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องโดรนเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. โดรน (drone) เป็นชื่อไม่เป็นทางการของ UAV (Unmanned Aerial Vehicle หรืออากาศยานไร้คนขับ)
  2. โดรนมีมาเกือบๆร้อยปีแล้ว มีความพยายามบังคับยานบินเช่นบอลลูนหรือเครื่องบินโดยไม่ใช้คนขับ แต่ผ่านวิทยุบังคับภาคพื้นดินตั้งแต่สมัยเริ่มมีอากาศยานและวิทยุ
  3. ประมาณปี 1935 เครื่องบินปีกสองชั้นชื่อ “Queen Bee” ถูกดัดแปลงให้บังคับจากภาคพื้นดินโดยไม่ต้องมีนักบินในเครื่อง เครื่องที่ดัดแปลงถูกเรียกว่าโดรน เป็นการเล่นคำเพราะคำว่าโดรนในภาษาอังกฤษแปลว่าผึ้งตัวผู้ ส่วนคำว่า Queen Bee แปลว่านางพญาผึ้ง โดรนรุ่นนี้ถูกใช้เป็นเป้าฝึกยิงต่อสู้อากาศยาน
  4. ผ่านมาอีกหลายสิบปีโดรนส่วนใหญ่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาถูกนำไปใช้ทางการทหาร เช่นเป็นเป้าบิน ติดกล้องสอดแนม ล่อเรดาร์และขีปนาวุธข้าศึก ติดอาวุธทำลาย ขนส่งเสบียงและยา โดรนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีปีก หน้าตาคล้ายๆเครื่องบิน แต่มีบางรุ่นหน้าตาคล้ายเฮลิคอปเตอร์
  5. สิบปีที่ผ่านมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและราคาถูกลงมาก ทำให้มีการผลิตโดรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไป มีการประยุกต์การใช้งานหลากหลาย เช่น ถ่ายภาพทางอากาศ ใช้ในการผจญเพลิง ค้นหาและกู้ภัย เฝ้าระวังป่าและสัตว์ป่า การเกษตร บินแข่ง ใช้ตกแต่งแทนพลุ และอื่นๆ โดรนสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นพวกปีกหมุน มีหลายใบพัด เช่นตระกูล quadcopter ที่มีสี่ใบพัด ส่วนโดรนหน้าตาเหมือนเครื่องบินมักจะใช้ในงานที่ต้องการความเร็วสูงและระยะทางไกลหรือบินอยู่ได้นานๆ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องลอยอยู่ในที่จำกัด
  6. ในประเทศไทยมีหลายหน่วยวิจัยและประยุกต์โดรนเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆเช่นการใช้งานทางการทหาร การสำรวจพื้นที่ไร่นา การโปรยปุ๋ยและยาฆ่าแมลง การตีความข้อมูลจากโดรนไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติม
  7. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ คอมพิวเตอร์ และ AI น่าจะทำให้โดรนทั้งหลายเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และน่าจะทำงานอื่นๆได้มากมายขึ้นกับจินตนาการของนักประดิษฐ์

ลิงก์น่าสนใจ:

ประวัติย่อของโดรน:

ตัวอย่างโดรนสำหรับถ่ายภาพและวิดีโอ:

ใช้โดรนส่งเลือดให้โรงพยาบาลต่างๆในประเทศรวันดา:

โดรนแทนพลุ:

ปัญหาต่างๆในการพัฒนาโดรนส่งของทั่วไป:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.