Category Archives: science class

วิทย์ม.ต้น: ฝึกไพธอน, จับเวลาลูกบอลตก

วันนี้เราคุยกันเรื่องพวกนี้ครับ:

1. รุ่นพี่ฝึกไพธอนกันต่อ เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเล็กๆหลายๆอัน มีเฉลยการบ้านจากสัปดาห์ที่แล้ว หน้าตาประมาณนี้ (โปรแกรมเบื้องต้น ไม่มี error handling เพื่อให้เข้าใจง่าย)

#สร้างโปรแกรมให้เราใส่วันที่เข้าไป แล้วคำนวณว่าวันนั้นห่างจากปัจจุบันเป็นเวลาเท่าไร

import datetime

year = int(input('ใส่ปี (ค.ศ.): '))
month = int(input('ใส่เดือน (1-12): '))
day = int(input('ใส่วัน (1-31): '))
date = datetime.date(year, month, day)
today = date.today()

time_difference = today - date
days_diff= time_difference.days

print('จำนวนวันระหว่าง ' + str(date) + ' ' + 'และ ' + str(today) +  ' คือ ' + str(days_diff) + ' วัน')

#ใช้ f-string (https://realpython.com/python-f-strings/ 
#หรือ https://careerkarma.com/blog/python-f-string/) เพื่อสามารถจัดรูปแบบได้ง่ายและตรงใจมากขึ้น

print(f"จำนวนวันระหว่าง {date} และ {today} คือ {days_diff:,} วัน")

แนะนำให้เด็กๆไปค้นคว้าและหัดใช้เรื่อง f-string ดังในบรรทัดสุดท้ายในโปรแกรมข้างบน หาอ่านได้ที่ https://careerkarma.com/blog/python-f-string/ หรือ https://realpython.com/python-f-strings/

เด็กๆรู้จักไปค้นคว้าเรื่องโมดูล datetime ผมแนะนำให้ไปดูตัวอย่างเพิ่มเติมที่ https://www.programiz.com/python-programming/datetime และ https://pymotw.com/3/datetime/

2. รุ่นพี่มีการบ้านไปเขียนโปรแกรมข้อนี้:

โปรแกรมเศษส่วน

เขียนโปรแกรมรับ เศษและส่วน ตัวที่ 1 และตัวที่ 2
หาค่า +, -, *, / ของเศษส่วน 1 และ 2

(hints: หาเรื่องเกี่ยวกับ fractions ใน Python)

3. ให้โจทย์รุ่นน้องดังนี้:

หาเวลาการตกถึงพื้นของวัตถุจากความสูงต่างๆ วาดกราฟความสูง vs. เวลา

เด็กๆก็จัดการถ่ายวิดีโอ เอาวิดีโอใส่โปรแกรม Tracker เพื่อนับจำนวนเฟรมตั้งแต่ลูกบาสเริ่มตกจนถึงพื้น แปลงจำนวนเฟรมเป็นเวลา ได้ข้อมูลต่างๆประมาณที่บันทึกไว้ในสเปรดชีตนี้ครับ

สเปรดชีตอยู่ที่นี่ครับ

ไฟล์วิดีโอต่างๆที่ถ่ายวันนี้โหลดได้ที่นี่เผื่อใครต้องการใช้ Tracker จับตำแหน่งการตกนะครับ

ผมชี้ให้เด็กๆเห็นว่าเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นสองเท่า เวลาไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่าตาม แต่จะเพิ่มแค่ประมาณ √2 เท่า (สแควรูทสอง เท่ากับประมาณ 1.4 เท่า) ถ้าจะให้เวลาเพิ่มเป็นสองเท่า ความสูงต้องเพิ่มเป็นสี่เท่า หรือสรุปได้ว่าเวลาแปรผันตรงกับสแควรูทของความสูงนั่นเอง

บรรยากาศกิจกรรมวันนี้ครับ:

กิจกรรมวิทย์ม.1 วันนี้ เด็กๆหาเวลาการตกถึงพื้นของวัตถุจากความสูงต่างๆ แล้ววาดกราฟความสูง vs. เวลา

Posted by Pongskorn Saipetch on Thursday, December 3, 2020


วิทย์ประถมและอนุบาลสาม: เล่นมอเตอร์โฮโมโพลาร์เส้นลวด

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมและเด็กอนุบาลสามบ้านพลอยภูมิครับ เด็กๆประถมหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล เด็กๆทุกคนเล่นโฮโมโพลาร์มอเตอร์ที่ทำจากถ่านไฟฉาย แม่เหล็ก และลวดทองแดง บางคนที่สนใจก็เอาลวดไปดัดเองเล่นเองครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมประถมอยู่ที่นี่ กิจกรรมอนุบาลอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆประถมได้ดูมายากลเหล่านี้ครับ ดูเฉพาะตอนแรกที่เป็นกล ยังไม่ดูส่วนเฉลยตอนหลัง แล้วดูเฉลยหลังจากได้พยายามคิดพยายามอธิบายว่ากลแต่ละกลทำอย่างไรกันก่อน วันนี้คือกุมารทองคิดเลข:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็นครับ

ผมสอนเด็กๆประถมว่าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กอยู่ใกล้ๆกัน จะมีแรงกระทำกับกระแสไฟฟ้าในทิศทางที่ตั้งฉากกับทั้งทิศทางสนามแม่เหล็กและทิศทางกระแสไฟฟ้า ถ้าเราออกแบบขดลวดและแม่เหล็กให้อยู่ใกล้กันอย่างเหมาะสมก็สามารถทำให้ขดลวดหรือแม่เหล็กเคลื่อนที่ได้ หลักการนี้ถูกใช้ในการสร้างมอเตอร์ประเภทต่างๆ สร้างลำโพง และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอีกหลายชนิด

วันนี้มาสอนวิธีทำมอเตอร์แบบแรกๆของโลกเรียกว่าโฮโมโพลาร์มอเตอร์ วิธีทำดังในคลิปครับ:

จากนั้นผมก็แจกขดลวดที่ดัดไว้แล้วให้เด็กๆเล่น สำหรับเด็กที่สนใจจะดัดลวดเอง ผมก็ตัดลวดแจกให้เด็กๆไปทดลองทำเอง พบว่าเด็กๆตั้งแต่อนุบาลสามถึงป.6 เล่นของเล่นนี้อย่างสนุกสนาน

ของเล่นอันนี้ทำง่ายเหมาะกับให้เด็กๆทดลองทำเล่นเอง เป็นการปลูกฝังให้เคยชินกับเรื่องแม่เหล็ก กระแสไฟฟ้า แบตเตอรี่ครับ

วิทย์ม.ต้น: ประดิษฐ์และสังเกตโฮโมโพลาร์มอเตอร์แบบต่างๆ

วันนี้ในกิจกรรมวิทย์ม.ต้น เราดูคลิป The Human Era ของ Kurzgesagt และผมเล่าเรื่องความหวังของผมที่เผ่าพันธุ์มนุษย์จะไม่ทำอะไรโง่ๆแล้วสูญพันธุ์:

อยากให้เด็กๆดูอีกสองคลิปนี้ด้วยครับ แต่ไม่ได้เปิดในชั้นเรียน:

จากนั้นเด็กๆก็ดัดลวดทองแดงทำโฮโมโพลาร์มอเตอร์แบบต่างๆ สังเกตว่าแบบไหนหมุนเร็ว หมุนช้า หมุนนาน แบบไหนอาจประดับบ้านได้ บรรยากาศและคลิปวิดีโอมีดังนี้ครับ:

วันนี้กิจกรรมวิทย์ม.ต้น เราดูคลิป The Human Era ของ Kurzgesagt…

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, December 1, 2020

วิดีโอจากกิจกรรมวิทย์ม.ต้นวันนี้ครับ (วันนี้กิจกรรมวิทย์ม.ต้น เราดูคลิป The Human Era ของ Kurzgesagt…

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, December 1, 2020

วิธีทำโฮโมโพลาร์มอเตอร์เส้นลวดทำอย่างนี้ครับ: