วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep.1 ที่อยู่ของเราในจักรวาล

วันนี้เราคุยกันผ่าน Google Meet หลังจากเด็กๆได้ไปดูสารคดี Cosmos ตอนที่ 1 ที่บ้านระหว่างสัปดาห์ที่แล้ว (ตอน Standing Up in The Milky Way)

หลักการสำคัญทางวิทยาศาสตร์คือ “Test ideas by experiment and observation, build on those ideas that pass the test, reject the ones that fail, follow the evidence wherever it leads and question everything.” หรือ “ทดสอบแนวคิดโดยการทดลองและการสังเกต ต่อยอดแนวคิดที่ผ่านการทดสอบแล้ว ปฏิเสธแนวคิดที่ล้มเหลว ติดตามข้อพิสูจน์ไม่ว่ามันจะนำไปที่ไหนก็ตาม และตั้งคำถามทุกอย่าง (อย่าเชื่อง่าย)” หลักการนี้ทำให้เราเข้าใจความจริงว่าธรรมชาติทำงานอย่างไรได้มากขึ้นเรื่อยๆ

เราอยู่บนโลกซึ่งเป็นดาวเคราะห์เล็กๆที่อยู่ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์หนึ่งในดาวนับแสนล้านดวงในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ทางช้างเผือกเป็นหนึ่งในนับแสนล้านกาแล็กซี่ที่อยู่ในจักรวาลที่เราสังเกตเห็น

รู้จักการวัดระยะทางเป็นปีแสง ซึ่งเท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศเป็นเวลาหนึ่งปี เท่ากับประมาณ 10 ล้านล้านกิโลเมตร (แสงเดินทางได้ประมาณ 3 แสนกิโลเมตรในหนึ่งวินาที และเป็นความเร็วสูงสุดของการเคลื่อนที่เท่าที่เรารู้ในจักรวาลเรา)

อายุจักรวาลประมาณ 13,800 ล้านปี และเราพยายามเข้าใจเวลายาวๆโดยบีบให้เวลาทั้ง 13,800 ล้านปีมาอยู่ในปฏิทินปีเดียว โดยให้วันที่ 1 มกราคือจุดเริ่มต้นของจักรวาลของเรา และเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคือปัจจุบัน วิธีนี้เรียกว่า Cosmic Calendar ด้วยวิธีนี้ 1 วันในปฏิทินเท่ากับประมาณ 40 ล้าน ปี 1 เดือนในปฏิทินเท่ากับประมาณพันล้านปี ด้วยอัตราส่วนในปฏิทินมนุษย์พึ่งเริ่มเขียนหนังสือสิบกว่าวินาทีก่อนเที่ยงคืนครับ (ลองกดเข้าไปดูเหตุการณ์สำคัญต่างๆว่าอยู่ในปฏิทินวันไหนนะครับ เข้าไปที่เว็บเต็มของเขาเพื่อดูรายละเอียดได้ด้วยครับ)

ลิงก์แนะนำ ฝึกภาษา สะสมความรู้รอบตัว เกี่ยวกับ episode นี้:

1. Cosmic Calendar: http://www.cosmiccalendar.net กดดูรายละเอียดประวัติจักรวาลเรา

2. Light seconds, light years, light centuries: How to measure extreme distances:

3. Distances: Crash Course Astronomy #25:

4. ภาพ Hubble Deep Fields ภาพถ่ายกาแล็กซีนับพันที่อยู่ในพื้นที่บังได้ด้วยเม็ดข้าวสารที่ปลายนิ้ว: https://hubblesite.org/contents/articles/hubble-deep-fields

5. How we know the Universe is ancient:

6. Professor Dave Explains astronomy playlist สำหรับค่อยๆดูสะสมไปเรื่อยๆ: https://www.youtube.com/watch?v=i8U9ZjRXClI&list=PLybg94GvOJ9E9BcCODbTNw2xU4b1cWSi6

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.