อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “กลนิ้วนางจอมดื้อและความเฉื่อยของเหรียญ” นะครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ สำหรับเด็กประถมเราได้คุยกั
เริ่มแรกเด็กประถมได้ดูลูกโฟมกลมๆสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซ็นติเมตรมาให้เด็กๆดู ให้สมมุติว่าเป็นดวงอาทิตย์ ผมถามเด็กๆว่าถ้าลูกกลมๆนี่คือดวงอาทิตย์ โลกจะมีขนาดสักเท่าไร เด็กๆก็ทำไม้ทำมือกะประมาณขนาดโลกให้เล็กๆกว่าดวงอาทิตย์ สักพักผมก็เฉลย โดยเอาถุงเม็ดโฟมเล็กๆมาให้ดู บอกว่าเม็ดโฟมสีฟ้าหนึ่งอันคือขนาดโลก เด็กๆก็ตื่นเต้นกันเพราะไม่คิดว่าโลกจะเล็กกว่าดวงอาทิตย์อย่างนั้น
ลูกโฟมสีขาวแทนดวงอาทิตย์ เม็ดโฟมเล็กๆสีฟ้าหนึ่งเม็ดแทนโลกครับ |
ผมบอกเด็กๆว่าเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์จะใหญ่ประมาณ 100 เท่าของโลก (จริงๆคือ 109 เท่า) ดังที่เห็นขนาดลูกบอลโฟมและเม็ดโฟม
ภาพวาดเปรียบเทียบขนาดดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ครับ โลกคืออันกลมๆเล็กๆอันที่สามจากทางซ้าย |
จากนั้นผมก็ให้เด็กๆเดาว่าแล้วโลกห่างจากดวงอาทิตย์เท่าไร เด็กๆส่วนใหญ่จะคิดว่าไม่ไกลมาก คือห่างแค่ช่วงแขนหรือไม่กี่ช่วงแขน (ตามรูปที่เห็นในหนังสือทั่วไป) ผมบอกว่าจริงๆแล้ว ระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะยาวประมาณ 100 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์ด้วย (จริงๆคือ 107 เท่า) ดังนั้น ถ้าลูกบอลโฟมคือดวงอาทิตย์และมีขนาด 10 เซ็นติเมตร เม็ดโฟมสีฟ้าที่แทนโลกต้องห่างออกไปประมาณสิบเมตร (ถึง 11 เมตร) จากนั้นผมก็เอาเม็ดโฟมสีฟ้าเดินออกห่างจากโฟมสีขาวไป 16 ก้าวเนื่องจากแต่ละก้าวของผมยาวประมาณ 70 เซ็นติเมตร ทุกคนที่เห็นขนาดและระยะทางอย่างนี้ต่างก็ประหลาดใจ ว่าไกลจริงๆ และโลกก็เล็กจริงๆ
สำหรับเด็กโต ผมเพิ่มคำถามว่าแล้วรู้ไหมว่าดาวฤกษ์อันต่อไปจะห่างออกไปแค่ไหนถ้าดวงอาทิตย์และโลกมีขนาดเท่านี้ เด็กๆคิดว่าห่างไปเป็นร้อยเมตร
ผมเฉลยว่า ดาวฤกษ์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมีชื่อว่า Proxima Centauri (พร็อกซิม่า เซ็นทอรี) แสงต้องใช้เวลาเดินทางสี่ปีกว่าๆถึงจะไปถึง เทียบกับแสงใช้เวลาแปดนาทีกว่าๆถึงจะไปถึงดวงอาทิตย์ ถ้าเทียบระยะทางกันด้วยอัตราส่วนลูกบอลโฟมแทนดวงอาทิตย์ ดาวนี้จะห่างไปประมาณ 2,600 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางจากกรุงเทพไปตอนใต้ของญี่ปุ่น (หรือเลยฮ่องกงไปอีก 1,000 กิโลเมตร)
คำถามเพิ่มเติมสำหรับเด็กโตก็คือ ทำไมเราเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีเหลืองหรือแดง และยิ่งแดงมากเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก ดวงอาทิตย์เปลี่ยนสีหรือไม่
หลังจากเด็กๆงงแป๊บนึง ผมก็เล่าให้ฟังว่าจริงๆแล้วถ้าเราดูดวงอาทิตย์จากอวกาศ ดวงอาทิตย์จะดูมีสีขาว เพราะดวงอาทิตย์ร้อนมาก ที่ผิวร้อนประมาณห้าพันหกพันองศาเซลเซียส ถ้าเราสังเกตเทียน เตาและเหล็กร้อน เราจะเห็นว่าตอนร้อนไม่มากจะมีสีแดงๆเหลืองๆ ถ้าร้อนมากๆจะมีสีขาวๆ ความจริงสีขาวนี่คือสิ่งที่ตาและสมองเราเห็นเวลาเราเห็นสีรุ้งทั้งหลายพร้อมๆกัน ในแสงอาทิตย์ก็เหมือนกัน มีแสงสีรุ้งทั้งหลายรวมกับแสงที่เรามองไม่เห็นด้วย
คราวนี้เวลาแสงอาทิตย์วิ่งเข้ามาในอากาศรอบๆโลก แสงสีต่างๆบางส่วนก็จะโดนโมเลกุลอากาศแล้วกระเด้งไปมา แสงพวกสีม่วงครามน้ำเงินเขียวจะไปยุ่งกับโมเลกุลอากาศมากกว่าแสงพวกเหลืองๆแดงๆ ทำให้ปริมาณแสงพวกม่วงครามน้ำเงินเขียวไปกระจัดกระจายในอากาศมากกว่าพวกแสงเหลืองๆแดงๆ ทำให้ท้องฟ้ามีสีฟ้าๆอันเนื่องมาจากแสงเหล่านั้นกระจัดกระจายเยอะ เจ้าแสงพวกเหลืองๆแดงๆวิ่งผ่านอากาศมาเข้าตาหรือกล้องเราได้มาก เราก็เลยเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีเหลืองๆแดงๆ สาเหตุที่เราเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีแดงตอนขึ้นหรือตกก็เพราะว่าเวลาช่วงนั้นแสงจะวิ่งผ่านอากาศมากกว่าตอนเวลาเที่ยงๆทำให้สีพวกม่วงครามน้ำเงินเขียวกระจายไปได้มากขึ้น และพวกสีเหลืองก็กระจายมากกว่าตอนเที่ยงเพราะวิ่งผ่านอากาศมากกว่า เลยเหลือสัดส่วนสีแดงมาเข้าตาเราเยอะขี้นครับ
เปรียบเทียบการกระจัดกระจายของแสงสีต่างๆครับ พวกฟ้าๆม่วงๆจะกระจายกว่าพวกแดง |
ภาพหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปครับ จะเห็นว่าแสงที่วิ่งผ่านอากาศเยอะๆ (ด้านล่างของภาพ) จะเหลือเป็นสีแดงเยอะ ส่วนสีฟ้าข้างบนมันเกิดจากการกระจายของสีฟ้าที่เด้งไปเด้งมาหลายรอบแล้ว เป็นสีฟ้าทั่วๆ |
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ดูได้จากที่นี่นะครับ
หลังจากพูดคุยเรื่องดวงอาทิตย์และโลกเสร็จ เด็กๆก็ได้ดูภาพลวงตาต่างๆหลายแบบ เพื่อย้ำเตือนว่าพวกเราถูกหลอกด้วยประสาทสัมผัสและสมองง่ายแค่ไหน
ก่อนอื่นเราดูรูปนี้กันครับ
ทุกคนเห็นได้ชัดเจนว่าสี่เหลี่ยมข้างบนมืดกว่าสี่เหลี่ยมข้างล่างมาก แต่พอเอาอะไรไปบังตรงกลาง เราจะพบว่าทั้งสองที่สีใกล้เคียงกันมาก (ลองเอานิ้วทาบจอดูครับ)
ผมเอาภาพเดียวกัน แต่วาดสีเหลืองและสีดำทับบริเวณตรงกลางครับ ความสว่างดูเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน
สาเหตุที่เราเห็นอย่างนี้ก็เพราะว่าการมองเห็นของเรา เกิดจากการวาดภาพประมวลผลในสมอง สมองพิจารณาสิ่งแวดล้อมหลายอย่างก่อนที่จะเดาว่าภาพที่เราเห็นควรจะเป็นอย่างไร แสงและเงาต่างๆมีส่วนสำคัญที่เราจะคิดว่าควร”เห็น”อะไรครับ
ต่อมาเด็กๆก็ได้ดูขนาดของวงกลมตรงกลางที่ดูเหมือนเปลี่ยนไปมาเมื่อวงกลมรอบๆเปลี่ยนขนาดครับ ผมถามเด็กๆว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าขนาดวงกลมตรงกลางเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน มีเด็กบางคนเสนอว่าให้วัดขนาดดูครับ พอผมเอาไม้บันทัดไปทาบก็พบว่าขนาดของวงกลมตรงกลางไม่เปลี่ยนจริงๆ
ได้เห็นภาพลวงตาว่าขนาดของรถไม่เท่ากัน แต่ถ้าใช้ไม้บันทัดวัดมันก็มีขนาดเท่ากันครับ สาเหตุที่เรามองว่าไม่เท่ากันก็เพราะเราเห็นรูปถนนที่แสดงว่ารถคันขวาสุดต้องอยู่ไกลจากเราที่สุด มันจึงควรใหญ่ที่สุดครับ:
ได้ดูภาพนี้ที่ถ้าเราเอามือปิดตรงกลาง หรือข้างๆ จะทำให้ดูเหมือนภาพเคลื่อนไหวเร็วหรือช้าต่างกันครับ:
ได้ดูภาพนักเต้นรำว่าหมุนทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกาครับ:
เราสามารถเห็นว่าเธอหมุนได้ทั้งตามเข็มและทวนเข็มเลยครับ เพราะสมองพยายามแปลการเคลื่อนที่ของเงาแบนๆให้เป็นสิ่งของสามมิติ
มีคนทำภาพนักเต้นรำโดยใส่เส้นสีต่างๆให้บอกใบ้สมองว่าควรตีความว่าหมุนแบบไหน วิธีดูคือพยายามมองไปที่รูปซ้ายหรือขวา แล้วค่อยมองคนตรงกลาง คนตรงกลางจะหมุนตามรูปซ้ายหรือขวาที่เรามองครับ:
เด็กๆได้เปรียบเทียบว่าหอคอยอันไหนเอียงกว่ากันครับ:
คนส่วนใหญ่จะคิดว่าอันขวาเอียงกว่านะครับ แต่เมื่อเด็กๆทดลองวัดทดลองทาบดูจะพบว่าทั้งสองอันเป็นรูปเดียวกันครับ เอียงเท่าๆกัน อันนี้เกิดเพราะในโลกสามมิติ ของที่ขนานกันเมื่อเรามองดูจะเห็นว่าลู่เข้าหากันครับ เช่นถนนไกลๆ หรือรางรถไฟไกลๆ พอเราเห็นรูปหอคอยที่ไม่ลู่เข้าหากัน เราเลยคิดว่าอันหนึ่งมันเอียงกว่าอีกอันครับ
ภาพเด็กๆวัดและทาบหอคอยครับ:
เด็กโตได้ดูภาพที่พิมพ์บนกระดาษแบบบิดๆเบี้ยวๆแต่เมื่อมองผ่านตาข้างเดียวหรือกล้องจะดูเหมือนภาพสามมิติด้วยครับ (ภาพพวกนี้เรียกว่า Anamorphic Illusion) ครับ เด็กๆได้ดูของที่จัดวางเรียงไว้แล้วมองด้วยมุมๆหนึ่งแล้วดูเป็นของอีกอย่างหนึ่ง (เรียกว่า Forced Perspective) ได้ดูโฆษณารถและแว่นที่ใช้หลักการนี้ด้วย สาเหตุที่เราเห็นอย่างนี้ได้ก็เพราะสมองพยายามคิดว่าภาพสองมิติบนจอรับภาพหลังตาที่เห็นมันคือวัตถุสามมิติแบบไหนนั่นเองครับ บางครั้งก็คิดไม่ตรงกับความเป็นจริง
ผมย้ำให้เด็กๆฟังว่าเนื่องจากเราถูกหลอกได้ง่ายมาก เราจึงต้องระมัดระวังในการเชื่อต่างๆครับ ต้องพยายามหาหลักฐาน หาวิธีตรวจสอบสิ่งต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้หลอกตัวเอง รู้จักใช้เครื่องมีอชั่งตวงวัดเพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆเป็นปริมาณที่ไม่เกี่ยวของกับการมั่วของสมองเราครับ
สำหรับเด็กๆอนุบาลสามโรงเรียนบ้านพลอยภูมิผมสอนทำของเล่นจากกระดาษคือทำคอปเตอร์กระดาษครับ เอากระดาษมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาตัดตามรูปข้างล่างแล้วพับแล้วปล่อยจากที่สูงให้มันหมุนๆครับ
พอทำให้ดูเสร็จก็ให้เด็กๆทำกันเองเป็นการหัดทำของเล่นเองครับ
ต่อไปนี้คือบรรยากาศและบันทึกการเรียนรู้ของเด็กๆครับ อัลบั้มเต็มอยู่ที่นี่นะครับ
Fantastic topics. Illusions seem a great way to introduce the question about evidence and observation: can we trust what we see? In science, the answer is “no” and we use other tools and instruments to take measurements. In law, however, eye-witness testimony is considered very powerful evidence, but what did they really see and how sure can we be?
This hollow mask illusion is my favourite that you might not have seen:
Even though I know what I should see, my eye+brain always misinterprets. In a way, it is similar to the spinning shadow that can be perceived to go either direction.
Here’s a nice collection of optical illusions:
This is part of a series made by Ze Frank, an amazingly creative person. His shows are worth watching but, you might not like the language he uses for watching with the children.
See you soon!
Josh
Thank you, Josh!
I plan to let the kids play around with a version of the hollow face illusion (the dragon cut-out) some time in the future.
Ze Frank’s video is hilarious 😀
I was more than happy to find this web site. I wanted to thank you for your time just for this
fantastic read!! I definitely loved every part of it and I have you saved to fav to look at new things on your site.