วันอังคารที่ผ่านมาวันผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้เริ่มรู้จักพลังงานศักย์เคมี ได้ดูคลิปพลังงานมหาศาลที่อยู่ในอาหารเช่นน้ำตาล (ทำเป็นเชื้อเพลิงจรวดได้) เด็กประถมต้นได้ดูคลิปใบเลื่อยที่ทำจากกระดาษ และประดิษฐ์ของเล่นคอปเตอร์ไม้ไอติมที่ยิงขึ้นที่สูงด้วยหนังยาง เด็กประถมปลายได้ประดิษฐ์เครื่องยิงลูกปิงปองด้วยความยืดหยุ่นของถุงมือยางครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “สร้างของเล่น Catapult (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น)” ครับ)
สำหรับเด็กประถมต้น ก่อนอื่นผมให้ดูคลิปการเอากระดาษมาหมุนเร็วๆใช้เป็นใบเลื่อยครับ:
เมื่อกระดาษหมุนเร็วๆ ขอบกระดาษจะวิ่งหนีจากศูนย์กลางการหมุนทำให้แผ่นกระดาษเรียบและตรง แข็งพอที่จะไปตัดสิ่งต่างๆได้ครับ เป็นของแปลกๆให้เด็กๆได้ดูกันว่ามีอย่างนี้ด้วย Continue reading คลิปพลังงานศักย์เคมี ของเล่นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ใบเลื่อยกระดาษ →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้สร้างของเล่น Catapult (อ่านว่าแค็ทตะพัลท์) ที่ใช้หลักการการเปลี่ยนรูปพลังงานศักย์ยืดหยุ่นในแท่งพลาสติกที่บิดงอเป็นพลังงานจลน์ของกระสุนลอยออกไปที่เป้า ได้เปรียบเทียบว่าแท่งพลาสติกสั้นและยาวอย่างไหนดีดได้แรงกว่ากัน และจำนวนแท่งพลาสติกมีผลต่อความแรงอย่างไร และได้เล่นยิงกระสุนให้ลอยตกลงบนกลองครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คลิปหุ่นยนต์ปลาหมึก เดาวิธีเล่นมายากล พลังงานศักย์ยืดหยุ่น รถไฟเหาะจำลอง” ครับ)
ก่อนอื่นผมให้เด็กๆดูคลิปการเล่นกลครับ ให้เห็นว่าส่ิงที่เราเห็นกับสิ่งที่เป็นจริงอาจจะไม่เหมือนกันเลยก็ได้ครับ เป็นการปลูกวัคซีนให้เด็กๆ โตไปจะได้ไม่ถูกผู้วิเศษทั้งหลายหลอก (ผู้วิเศษทั้งหลายเป็นนักเล่นกลทั้งนั้นครับ ส่วนใหญ่เล่นไม่เก่งด้วย เลยต้องมาหลอกชาวบ้านว่ามีเวทย์มนต์เป็นผู้วิเศษ) เวลาให้เด็กๆดู ให้หยุดแล้วถามเด็กๆว่าเห็นอะไรก่อนนะครับ แล้วค่อยเปิดส่วนที่เฉลยครึ่งหลัง:
หลังจากนั้นเราก็ประดิษฐ์และเล่นของเล่นที่เปลี่ยนพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเป็นพลังงานจลน์กัน (สืบเนื่องจากคราวที่แล้วที่เราคุยกันเรื่องพลังงานศักย์ยืดหยุ่นครับ) คลิปวิธีประดิษฐ์และเล่นคือนี่ครับ: Continue reading สร้างของเล่น Catapult (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น) →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กอนุบาลสามมาครับ เด็กๆได้เล่นตะเกียบลมที่อาศัยหลักการที่ว่าลม (หรือของไหลอื่นๆเช่นน้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอลทำให้ลูกบอลติดอยู่กับสายลม เหมือนมีตะเกียบล่องหนที่ทำจากสายลมคีบลูกบอลอยู่ครับ ปรากฎการณ์เรียกว่า Coanda Effect ครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร” ครับ)
ผมเอาอุปกรณ์หลายอย่างมาให้เด็กๆดูครับ มีเครื่องเป่าผม พัดลมเล็กๆ เครื่องเป่าหญ้า ลูกปิงปอง ลูกโป่ง โฟมกลมๆ และลูกบอลชายหาดพลาสติก แล้วถามเด็กๆว่าถ้าเราเป่าลูกบอลกลมๆด้วยเครื่องเป่าต่างๆจะเกิดอะไรบ้างครับ ให้เด็กๆเดากันไปแล้วก็จับคู่ลูกบอลประเภทต่างๆกับเครื่องเป่าประเภทต่างๆให้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น พบว่าถ้าแรงเป่ามากไป ลูกบอลก็กระเด็นไปไกล ถ้าลูกบอลหนักไป ลูกบอลก็ตกพื้น แต่ถ้าแรงเป่ามีขนาดเหมาะสมกับลูกบอล ลมจะเลี้ยงลูกบอลให้ลอยอยู่ในอากาศ และเมื่อเปลี่ยนทิศทางลมช้าๆลูกบอกก็จะขยับโดยจะอยู่ในสายลมเสมอด้วยครับ ตัวอย่างการเล่นครับ:
Continue reading ของไหล (อากาศ, น้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอล ตะเกียบลม →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)