อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยผู้สูงอายุเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. อุปกรณ์ติดตัว (Wearables) เช่น Apple Watch และ Smart Watch อื่นๆหรือแถบรัดหน้าอก เริ่มสามารถตรวจับการล้ม ความเร็วหรือจังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือแม้แต่คลื่นหัวใจผิดปกติ แล้วแจ้งเตือน หรือแจ้งผู้ช่วยเหลือได้
  2. มีโปรแกรมติดในโทรศัพท์เพื่อเตือนกำหนดการกินยา ตรวจจับการล้มได้
  3. อุปกรณ์สมาร์ทโฮมเช่น กล้อง หรือเครื่องตรวจจับควันที่สามารถส่งข้อมูลไปโทรศัพท์ได้ มีประโยชน์
  4. มีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณ GPS และประวัติการเคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุหลงลืม
  5. มีบริษัทที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นวิทยุแบบเรดาร์ตรวจจับตำแหน่ง การเคลื่อนไหว ลมหายใจ และการเต้นของหัวใจของผู้คนในบ้านโดยไม่ต้องใส่อุปกรณ์ติดตัว

ตัวอย่างการใช้ Apple Watch ตรวจจับการล้ม:

ตัวอย่างการใช้ Apple Watch ตรวจการทำงานของหัวใจ:

ตัวอย่างตรวจคลื่นหัวใจด้วย Apple Watch (ยังไม่ได้เปิดใช้ในทุกประเทศ ตอนนี้ประเทศไทยยังไม่เปิด):

เครื่องตรวจจับควันทำงานอย่างไร

ตัวอย่างเครื่องตรวจจับควันต่อ Wifi:

ลิงก์บริษัท Emerald ที่ตรวจจับผู้คนด้วยคลื่นวิทยุครับ

วิดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยีบริษัทเขา:

วิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศสู้ภาวะโลกร้อน (Carbon Capture)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องการจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศสู้โลกร้อนเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. ภาวะโลกร้อนเกิดจากก๊าซเรือนกระจกเช่นไอน้ำ มีเธน คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไม่ค่อยปล่อยให้ความร้อนในรูปรังสีอินฟราเรดหนีออกไปจากโลก
  2. ปริมาณคาร์บอนไอออกไซด์เพิ่มขึ้นมากจากก่อนยุคอุตสาหกรรม (ก่อนเราจะเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซเชื้อเพลิง) ร่วม 2 เท่า (จากประมาณ 250 ppm เป็น 400 ppm ในเวลาสองร้อยปี)
  3. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มประมาณ 16,000 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 2 ppm ต่อปี)
  4. ถ้าไม่จัดการปัญหานี้เราอาจสูญพันธุ์ได้จากวงจรอุบาทว์ (positive feedback) ที่โลกร้อนมากขึ้นเรื่อยๆจนสิ่งมีชีวิตปัจจุบันอยู่ไม่ได้
  5. วิธีที่มนุษย์พยายามทำกันคือลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังแสงอาทิตย์ และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วยวิธีต่างๆเช่นปลูกต้นไม้ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินปูนหรือพลาสติก ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ขบวนการผลิตสร้างก๊าซเรือนกระจกมากๆ

ลิงก์น่าสนใจ:

ไอซ์แลนด์ทดลองเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินปูนได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งทดแทนเนื้อที่อาจช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

เครื่องจักรนิรันดร์ (Perpetual Motion Machine)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องเครื่องจักรนิรันดร์ ซึ่งก็คือเครื่องจักรที่สามารถทำงานต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องป้อนพลังงานเข้าไป เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. เครื่องจักรแบบนั้นไม่มีในปัจจุบันครับ
  2. ถ้ามีเครื่องจักรแบบนั้น มันจะทำงานขัดกับกฎธรรมชาติเรื่องการอนุรักษ์พลังงานหรือการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี (กฎทางเทอร์โมไดนามิกส์) ผู้ประดิษฐ์น่าจะได้รางวัลโนเบลจากการค้นพบกฎธรรมชาติใหม่ๆและร่ำรวยจากพลังงานที่เขาขาย
  3. ผู้ประดิษฐ์อาจเข้าใจผิดเช่นวัดพลังงานผิดพลาด หรือไม่ได้สังเกตว่ามีพลังงานวิ่งเข้าไปในเครื่องจักร หรือไม่ก็ตั้งใจหลอกลวงผู้อื่นโดยใส่แหล่งพลังงานเช่นแบตเตอรี่ไว้ข้างใน

รวมตัวอย่างคลิป (หลอกๆแต่ดูสมจริง) ใน YouTube ครับ

ตัวอย่างลิงก์อธิบายที่น่าสนใจ:

บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)