Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: Self-Selection Bias, Big History Project, เล่นฟ้าผ่าจิ๋ว

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง self-selection bias จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เราต้องระวังว่าการสรุปต่างๆของเราอาจเกิดจากเลือกแหล่งข้อมูลที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ทำให้บทสรุปของเราไม่ตรงกับความจริงครับ

เด็กๆได้รู้จักเว็บ Big History Project ซื่งเป็นเว็บอธิบายความเป็นมาโดยย่อ (มากๆ) ว่ามนุษยชาติมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร บทเรียนจะเน้นว่าสิ่งที่ซับซ้อนใหม่ๆเกิดจากสิ่งที่เรียบง่ายกว่าเมื่อมีส่วนผสมและสภาวะที่เหมาะสม มีมีสิ่งซับซ้อนใหม่ๆเกิดขึ้นจะเรียกว่า Threshold โดยผมจะให้เด็กๆดูข้อมูลสัปดาห์ละ Threshold แล้วมาคุยกันครับ

จากนั้นเด็กก็หัดเป็น μThor หรือ μZeus (ไมโครธอร์, ไมโครซูส) หรือเทพเจ้าสายฟ้าขนาดจิ๋ว สร้างฟ้าผ่าจิ๋วจากไม้ชอร์ตยุงกันครับ หลักการเป็นประมาณนี้ครับ:

ภาพกิจกรรมเด็กๆครับ:

วิทย์ม.ต้น: เขียนโปรแกรมดูการเติบโตของเงิน, แบบฝึกหัดพิมพ์เรียงอักษรเป็นสามเหลี่ยมต่างๆ

เด็กม. 2-3 ได้ศึกษาการเติบโตของเงินแบบดอกเบี้ยทบต้น ให้เห็นผลของเวลาและอัตราผลตอบแทนว่าทำให้เงินเติบโตกันอย่างไร และทำไมควรจะเอาเงินไปวางไว้ในที่ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ การบ้านคือให้ไปคำนวณว่าถ้าเราลงทุนทุกปีเท่าๆกันด้วยอัตราผลตอบแทนเท่าๆกันเราจะมีเงินเก็บเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไปนานๆครับ ในอนาคตจะให้เด็กๆใช้ Bisection Method คำนวณเงินที่เราต้องออมหรืออัตราผลตอบแทนที่เราต้องหามาถ้าเรามีเป้าหมายเงินออมในอนาคต

ฟังก์ชั่นการคำนวณค่าเงินในอนาคตเป็นสูตรง่ายๆ:

ลองเปรียบเทียบผลตอบแทนต่างๆกัน:

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องอย่างนี้อ่านได้ที่: Compound Interest, ดอกเบี้ยทบต้น, และ อุปสรรคของคนรอพลังจาก “ดอกเบี้ยทบต้น”

สามารถโหลดโค้ดม.2-3 ใน Jupyter Notebook นี้ หรือดูออนไลน์ที่ https://nbviewer.jupyter.org/url/witpoko.com/wp-content/uploads/2019/07/2019-07-26_G8-9.ipynb นะครับ

เด็กม. 1 ได้ทำแบบฝึกหัดเขียนโปรแกรมไพธอน และพยายามแก้ปัญหาพิมพ์ตัวอักษรเรียงเป็นสามเหลี่ยมแบบต่างๆครับ หน้าตาประมาณนี้ครับ:

สามารถโหลดโค้ดม.1ในJupyter Notebook นี้ หรือดูออนไลน์ที่ https://nbviewer.jupyter.org/url/witpoko.com/wp-content/uploads/2019/07/2019-07-26_G7.ipynbนะครับ

วิทย์ม.ต้น: Hedonic Treadmill, สมรภูมิลูกโป่ง

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง hedonic treadmill จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เรามักจะเคยชินกับความสุข (หรือความทุกข์) ของเราเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเราจะมีความสุขชั่วคราวกับของใหม่ที่ซื้อมา เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น หรือถูกล็อตเตอรี่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะรู้สึกเฉยๆกับมันและอยากได้อะไรใหม่ๆอีก

ต่อจากนั้นผมก็แนะนำหนังสือ Origin Story โดย David Christian เพื่อให้เด็กๆอ่านไปเรื่อยๆเป็นการเพิ่มความรู้รอบตัวครับ เนื้อหาจะเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมจากโครงที่ถูกนำเสนอในคลิปนี้:

ต่อจากนั้นเราก็ทำความรู้จักกับ Coanda effect คือการที่ของไหลเช่นน้ำหรือสายลมชอบวิ่งไปผิวเรียบๆของวัตถุ ถ้าวัตถุมีลักษณะโค้งๆคล้ายผิวลูกโป่ง สายน้ำหรือสายลมก็จะวิ่งโค้งไปตามผิวและวัตถุก็จะถูกดูดเข้าสู่สายน้ำหรือสายลมด้วย

ถ้าสายลมแรงพอ เช่นออกมาจากเครื่องอัดลมความดันสูง แรงลมสามารถ “คีบ” ไขควงให้ลอยอยู่ได้ด้วยครับ:

ในอดีตผมเคยอัดคลิปการเล่นประมาณนี้ไว้ที่ช่องเด็กจิ๋ว & ดร.โก้ด้วยครับ เด็กๆอาจจะชอบดู:

เด็กๆได้ทดลองเอาลูกโป่งไปติดกับสายน้ำจากก๊อกให้รู้สึกถึงแรงที่กดและดูดลูกโป่งโดยสายน้ำครับ:

จากนั้นเราก็เอาพัดลมเป่าลมชึ้นจากพื้น แล้วเอาลูกโป่งไปวางข้างบน ให้สายลมวิ่งรอบๆลูกโป่งและทำการ “คีบ” มันไว้ครับ ลักษณะสายลมที่วิ่งรอบๆลูกโป่งจะมีหน้าตาประมาณนี้ ทำโดยเอาเชือกฟางมาฉีกให้เป็นเส้นเล็กๆแล้วไปติดหน้าพัดลมครับ:

พอเข้าใจปรากฎการณ์นี้แล้วเราก็เล่นสมรภูมิลูกโป่งกันครับ เอาพัดลมมาตั้งใกล้ๆกันสามตัว แล้วเด็กๆเป่าลูกโป่งขนาดต่างๆกัน มีการตกแต่งด้วยกระดาษ หรือถ่วงน้ำหนักด้วยคลิปหนีบกระดาษ แล้วปล่อยให้มันลอยชนกัน ดูว่าใครอยู่ได้นานที่สุดกันครับ:

ให้เด็กๆสังเกตดูครับว่าขนาดมีผลอย่างไรกับการลอย การติดกระดาษเข้าไปทำให้เกิดอะไรขึ้น การถ่วงน้ำหนักทำให้เกิดอะไรขึ้น

ภาพบรรยากาศกิจกรรมวันนี้อยู่ที่ลิงก์นี้นะครับ