Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: Volunteer’s Folly, ความรู้เรื่องไวรัส, หัดดูกราฟการเคลื่อนที่

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง volunteer’s folly จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ให้คิดพิจารณาดีๆว่าเราจะช่วยเหลือโครงการต่างๆอย่างไร ให้ดูว่าการใช้เวลาและทักษะของเราทำงานอาสาสมัครมีประสิทธิภาพมากกว่าหรือน้อยกว่าถ้าเราใช้เวลาและทักษะของเราหาเงินแล้วเอาเงินมาจ้างคนที่ทำงานที่เราจะไปอาสาได้ดีกว่าเรา

จากนั้นผมให้เด็กๆรู้จักไวรัสตามนี้:

และความรู้เบื้องต้นเรื่องไวรัสอูฮั่น

คลิปเพิ่มเติมสำหรับเด็กๆที่สนใจครับ:

ในเวลาที่เหลือ ผมให้เด็กๆรู้จักการเคลื่อนที่ในแนวเดียว (ใน 1 มิติ) แล้วเราก็วาดกราฟตำแหน่งเทียบกับเวลาต่างๆกัน ยกตัวอย่างกราฟเช่นในภาพนี้:

ผมอธิบายว่าความชัน = (ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป) หารด้วย (เวลาที่เปลี่ยนไป) ก็คือความเร็วนั่นเอง

จากนั้นก็ให้เด็กๆหัดวาดกราฟตำแหน่งเทียบกับเวลาสำหรับสิ่งต่างๆ การบ้านคือให้เด็กๆไปวาดกราฟสำหรับตำแหน่งแนวนอนของลูกตุ้มแกว่งๆ และตำแหน่งแนวตั้งของลูกตุ้มที่แขวนไว้กับหนังยางหรือสปริงที่ดึงแล้วปล่อยให้แกว่งขึ้นลงครับ

วิทย์ม.ต้น: หมอดูทำนายอย่างไร (Forer Effect), ทำของเล่นเทรบูเชท์กระป๋อง

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง Forer Effect (หรือ Barnum effect) จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่อธิบายว่าหมอดู ซินแส ผู้วิเศษ โค้ชชีวิต นักวิเคราะห์หุ้น ฯลฯ หาเลี้ยงชีพได้โดยการทำนายเรื่องราวหลายๆเรื่องแต่ไม่เฉพาะเจาะจงเกินไป เรื่องราวที่เล่าที่ทำนายก็เป็นเรื่องที่ครอบคลุมกลุ่มคนใหญ่ๆแล้วคนฟังก็จะไปเลือกเชื่อเอาเอง ไม่ค่อยจำเรื่องที่ไม่ตรงกับตน

ลองเข้าไปอ่านเรื่อง “เปิดตำราโหราศาสตร์ทำนายดวงความรักทั้ง 12 ราศี สำหรับทุกคนที่ไม่เชื่อเรื่องคำทำนาย” และดูคลิปเหล่านี้นะครับ

ตอนแรกเราจะคุยกันเรื่องตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่งกันต่อแต่เราตัดสินใจประดิษฐ์ของเล่นเทรบูเชท์กระป๋องเล่นกันแทนครับ วิธีทำเป็นดังในคลิปครับ:

วิทย์ม.ต้น: ใช้ SymPy แก้สมการสัญญลักษณ์และตัวเลข, สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานซ้ำๆแทนเรา

วิทย์โปรแกรมมิ่งวันศุกร์ครั้งนี้ เด็กม.3 ดูโจทย์นี้เพื่อแปลงเป็นสมการให้ SymPy แก้ปัญหาให้ครับ

เราแปลงเป็นสมการในตัวแปร x, y, z ให้ SymPy แก้ได้แบบนี้ครับ:

เราเอาค่า x, y, z ไปแทนค่าได้แบบนี้ คำตอบคือ 41:

ทดลองหาจุดตัดของวงกลมและเส้นตรงครับ:

ใช้คำสั่ง div หาผลหารและเศษการหารโพลีโนเมียลได้ด้วยครับ:

สำหรับเด็กม.1 เราพยายามหาค่า x ที่ทำให้ xx = 2 (จากตอนท้ายของวิดีโอข้างบน) เราทำโดยเดาก่อนว่า 11 = 1 และ 22 = 4 ดังนั้น x น่าจะอยู่ระหว่าง 1 กับ 2 แล้วเด็กๆก็ลองดูตรงกลางระหว่าง 1 กับ 2 ว่า 1.51.5 = 1.84… แสดงว่าคำตอบควรอยู่ระหว่าง 1.5 กับ 2 จึงลองดูตรงกลาง = 1.75 พบว่า 1.751.75 = 2.66 แสดงว่าคำตอบควรอยู่ระหว่าง 1.5 กับ 1.75 ถ้าเราทำต่อไปเราก็จะหาทางแบ่งครึ่งช่วงคำตอบไปเรื่อยๆ แต่เราหัดเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ไล่ให้เราได้ดังนี้ครับ:

พบว่า x = 1.5596104694623696…. จะทำให้ xx = 2 ครับ

ผมถามเด็กว่าถ้าจะหาค่า x ที่ทำให้ xx = 3 จะทำอย่างไร เด็กๆก็แก้โปรแกรมนิดนึงได้คำตอบ x = 1.8254550229248308… ทำให้ xx = 3 ครับ:

ผมถามเด็กม.1 ด้วยว่าถ้าคำนวณ (1+1/1)1, (1+1/2)2, (1+1/3)3, (1+1/4)4, …, (1+1/n)n โดยที่ n ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ค่าที่คำนวณจะใหญ่ไปเรื่อยๆไหม เด็กๆก็ให้ไพธอนคำนวณให้ พบว่าผลการคำนวณจะประมาณ 2.71828… (ซึ่งเท่ากับค่าคงที่ออยเลอร์หรือค่า e นั่นเองครับ)