Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: Neomania, เล่นและ พยายามหาความเร็วปืนใหญ่ลม

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง neomania จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่เราชอบตื่นเต้นกับของใหม่ๆเกินไป ปัญหาก็คือของใหม่ๆหลายๆอย่างไม่ได้มีประโยชน์อะไรนักและของเก่าๆที่ใช้กันมานานๆหลายๆอย่างก็มีประโยชน์ เราต้องเลือกใช้ให้ถูก ให้มีประโยชน์

จากนั้นเด็กๆก็เล่นปืนใหญ่ลม (Vortex Cannon) กัน โดยเด็กๆได้ดูบางส่วนของคลิปพวกนี้ก่อนครับ:

มีคลิปแนะนำที่ไม่ได้ดูเพราะไม่มีเวลาพอด้วยครับ:

จากนั้นผมก็อธิบายการประกอบและเล่นของเล่นพวกนี้:

จากนั้นเด็กก็เล่นและพยายามหาความเร็วลมที่พุ่งออกมาจากปืนใหญ่ลม บรรยากาศกิจกรรมของเราครับ:

วิทย์ม.ต้น: Birthday Paradox ต่อ

วิทย์โปรแกรมมิ่งวันศุกร์นี้ เด็กๆม.3 เขียนโปรแกรมไล่ดูว่าต้องมีคนสักกี่คนอยู่ด้วยกันแล้วความน่าจะเป็นที่จะมีคนวันเกิดซ้ำกันบ้างเกิน 50% พบว่าต้องมีคน 23 คนครับ

หน้าตาฟังก์ชั่นคำนวณความน่าจะเป็นที่คน k คนจะไม่มีวันเกิดซ้ำกันเลย และมีวันเกิดซ้ำกันบ้างจะเป็นประมาณนี้ครับ:

เราวาดกราฟดูด้วย matplotlib ได้ดังนี้ครับ:

เราสามารถดูปัญหาคล้ายๆกันคือแทนที่จะเป็นวันเกิดอาจจะเป็นสิ่งต่างๆจำนวนหลายชิ้น แล้วมีคนจำนวนหนึ่งมาเลือกสุ่มๆ ดูความน่าจะเป็นที่จะเลือกซ้ำกันก็ได้ครับ ถ้าจะแก้ปัญหาทั่วไปแบบนี้เราก็ดัดแปลงฟังก์ชั่นให้ยืดหยุ่นมากขึ้นดังนี้:

เช่นสมมุติว่ามีคนหลายคนใส่นาฬิกาโดยที่ไม่ได้ตั้งกันมาให้ตรงกับเวลามาตรฐานก่อน เข็มวินาทีของแต่ละคนก็อาจจะชี้เลขจาก 0 ถึง 59 ถ้าเราสมมุติว่าโอกาสที่เข็มชี้เลขต่างๆด้วยความน่าจะเป็นเท่าๆกัน เราก็สามารถหาโอกาสที่คน k คนจะมีเข็มวินาทีซ้ำกันอยู่ได้ด้วยฟังก์ชั่น prob_some_repeat(60, k) เราจะพบว่าเมื่อมีคน 10 คน ความน่าจะเป็นที่มีเข็มชี้ไปที่วินาทีซ้ำๆกันบ้างจะมากกว่า 50% ครับ

ด้วยคณิตศาสตร์ระดับสูงขึ้นไป เราจะสามารถคำนวณได้ว่าถ้ามีของให้เลือก N ชิ้น แล้วมีคน k คนมาเลือกสุ่มๆโดยโอกาสเลือกของแต่ละชิ้นเท่าๆกัน ความน่าจะเป็นที่จะมีการเลือกซ้ำจะมีค่า 50% เมื่อ k มีค่าประมาณ 1.2 √N เท่านั้นครับ

การบ้านคือให้เด็กๆไปทดลองหาว่าสำหรับของ 10, 10^2, 10^3, 10^4, 10^5, 10^6 ชิ้นต้องมีคนกี่คนเลือกถึงมีโอกาสเลือกซ้ำกันประมาณ 50% และใกล้กับค่า 1.2 √N ไหม

วิทย์ม.ต้น: Inability To Close Doors, วัดการตกของลูกบอลด้วย Tracker

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง Inability to close doors จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่เรามักจะพยายามดำเนินชีวิตให้มีทางเลือกมากๆเสมอ บางครั้งทำให้เราไม่โฟกัสกับสิ่งที่ควรทำเท่าที่ควร ทางเลือกที่มีมากเกินไปอาจทำให้เราเสียเวลากับเรื่องที่ไม่สำคัญหรือไม่มีผลดีเท่าไร

จากนั้นเด็กๆก็ทำการทดลองถ่ายวิดีโอการตกของลูกบอลยาง ลูกปิงปอง และลูกปิงปองติดร่มชูชีพด้วยโปรแกรม Tracker ครับ (ตัวอย่างวิธีใช้ Tracker อยู่ที่นี่นะครับ)

เราพบว่าความเร็วการตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยอัตราคงที่ประมาณ 10 เมตรต่อวินาทีต่อวินาที (= 10 m/s^2 หรือเท่ากับค่า g โดยประมาณ) แสดงว่าแรงต้านอากาศมีผลน้อยมากในการตกของลูกบอลทั้งสอง

กราฟความเร็วในแนวดิ่งของลูกปิงปองที่เวลาต่างๆ จะเห็นความเร็วการตกเร็วขึ้นเรื่อยๆด้วยอัตราคงที่ ประมาณ 10 m/s^2 ที่เวลาประมาณ 0.53 และ 1.45 จะเห็นการกระเด้งของลูกปิงปองเมื่อตกถึงพื้นครับ
กราฟตำแหน่งในแนวดิ่งของลูกบอลยางเทียบกับเวลา

ต่อไปเอาถุงพลาสติกทำเป็นร่มชูชีพให้ลูกปิงปอง แรงต้านอากาศมากพอที่ทำให้ความเร็วสูงสุดในการตกเหลีอประมาณ 1.5-2 เมตรต่อวินาที ถ้าไม่มีร่มชูชีพความเร็วจะเพิ่มถึง 5 เมตรต่อวินาทีจากการตกมาประมาณ 1.8 เมตร

ความเร็วแนวดิ่งของลูกปิงปองติดร่มชูชีพ ตอนแรกจะตกเร็วขึ้นแล้วก็ตกด้วยความเร็วที่ไม่เพิ่มเพราะแรงต้านอากาศ

หน้าตาโปรแกรมตอนวิเคราะห์คลิปวิดีโอครับ:

ไฟล์วิดีโอและไฟล์ Tracker สามารถโหลดไปทดลองเปิดเองได้จากที่นี่ครับ

บรรยากาศกิจกรรมของเราครับ: