Category Archives: science class

ของเล่นจากเบคกิ้งโซดา+น้ำส้มสายชู

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปผมไปสาธิตของเล่นให้เด็กๆอนุบาลสามโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิดูครับ คือใช้เบคกิ้งโซดา+น้ำส้มสายชูสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป่าลูกโป่ง ยิงจุกคอร์ก และถุงระเบิดครับ

เบคกิ้งโซดาเป็นส่วนประกอบทำให้ขนมปังฟูและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำอะไรๆได้หลายๆอย่างครับ มีขายทั่วไปตามร้านที่ขายส่วนผสมขนมปังหรือเค้ก สำหรับวันนี้เราจะเอามาเล่นโดยเอามาผสมกับน้ำส้มสายชู พอผสมแล้วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเยอะครับ เราเอามาเล่นได้หลายแบบ

แบบแรกคือเป่าลูกโป่งครับ เราใช้เบคกิ้งโซดาครึ่งช้อนชาถึงหนึ่งช้อนโต๊ะใส่ไว้ในลูกโป่ง และใส่น้ำส้มสายชูประมาณ 30-60 ซีซีที่ใส่ไว้ในขวด  จากนั้นเราก็เอาลูกโป่งมาปิดปากขวดแล้วเราก็เขย่าให้เบคกิ้งโซดาตกลงจากลูกโป่งลงไปผสมกับน้ำส้มสายชูในขวดเพื่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มาทำให้ลูกโป่งพองครับ เชิญดูคลิปประกอบครับ:

Continue reading ของเล่นจากเบคกิ้งโซดา+น้ำส้มสายชู

เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ความเร็วลมและความดันอากาศ วัดความต้านทานและแรงดันไฟฟ้า และตัดโฟมด้วยลวดไฟฟ้า” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง วิดีโอโซ่มหัศจรรย์ เล่นของเล่นไจโรสโคป ของเล่นสลิงกี้ และเลี้ยงลูกบอลชายหาดด้วยล

เราเริ่มโดยการดูวิดีโอประหลาดของโซ่ลูกปัดครับ เชิญดูคลิปก่อนครับ:

อันนี้เป็นคลิปแบบสโลโมชั่นและคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นครับ:

เวลาโซ่ตกลงมา มันถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงให้มีความเร็วสูง แล้วมันก็ดึงโซ่ส่วนที่เหลือในโหลแก้วให้พุ่งขึ้นออกจากปากโหลแก้วด้วยความเร็วสูง โซ่ที่พุ่งด้วยความเร็วสูงในทิศทางขึ้นต้องเปลี่ยนทิศทางให้ตกลงในแนวดิ่ง มันจึงใช้เวลาและระยะทางยาวพอสมควรในการเปลี่ยนความเร็วจากวิ่งขึ้นให้เป็นวิ่งลง ทำให้เราเห็นการเคลื่อนที่ที่เราไม่คุ้นเคยครับ Continue reading เรียนรู้เกี่ยวกับการสั่น ดูวิดีโอการสั่นของแผ่นโลหะด้วยคลื่นเสียง

ความเร็วลมและความดันอากาศ วัดความต้านทานและแรงดันไฟฟ้า และตัดโฟมด้วยลวดไฟฟ้า

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “สูญญากาศมหัศจรรย์” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้สำหรับสำหรับเด็กอนุบาลและประถม 1-3 เราเล่นเลี้ยงลูกบอลด้วยลมโดยอาศัยหลักการเรื่องความเร็วลมและความดันอากาศกัน สำหรับประถม 4-6 เราหัดวัดความต้านทานไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าและตัดโฟมด้วยลวดไฟฟ้าร้อนๆกันครับ

สำหรับการทดลองเกี่ยวกับความเร็วลมและความดันอากาศ เราใช้หลักการที่ว่า โดยธรรมชาติของอากาศนั้น ถ้าอากาศไหลเร็วบริเวณไหน ความดันอากาศบริเวณนั้นจะต่ำลง ไม่ใช่สูงขึ้นอย่างที่คนส่วนใหญ่คิด วิธีทดลองง่ายที่สุดก็คือเอากระดาษมาวางจดริมฝีปากล่าง แล้วก็เป่าลมให้วิ่งผ่านเหนือแผ่นกระดาษเร็วๆ ลมเหนือกระดาษจะมีความเร็วสูงกว่าอากาศใต้กระดาษที่อยู่นิ่ง ความดันเหนือกระดาษจึงน้อยกว่าความดันใต้กระดาษ กระดาษจึงลอยขึ้น (ซึ่งขัดกับความคาดหมายของคนทั่วไปที่คิดว่าถ้าเราเป่าลมเหนือกระดาษ กระดาษน่าจะตกลง)

เป่าอย่างนี้ครับ แล้วกระดาษจะลอยขึ้น    

 
ต่อมาผมก็เอาเครื่องเป่าผมมาเลี้ยงลูกปิงปองให้เด็กๆดู เริ่มโดยเอาเครื่องเป่าผมที่ปรับให้ไม่ร้อนได้มาเป่าลมออกในแนวตั้ง แล้วก็เอาลูกปิงปองไปวางเบาๆในกระแสลม ลูกปิงปองจะลอยอยู่ได้ และที่มหัศจรรย์ก็คือเมื่อเราเคลื่อนเครื่องเป่าผมไปมา หรือเอียงไปมาเล็กน้อย ลูกปิงปองจะลอยตามเหมือนมีอะไรจับมันให้ติดไว้กับเครื่องเป่าผม เชิญดูคลิปการทดลองครับ:

นอกจากนี้เรายังสามารถเอาเครื่องเป่าลมแรงๆมาทำการทดลองเดียวกันกับลูกบอลเป่าลมขนาดใหญ่ๆได้ด้วยครับ: Continue reading ความเร็วลมและความดันอากาศ วัดความต้านทานและแรงดันไฟฟ้า และตัดโฟมด้วยลวดไฟฟ้า