วิทย์ม.ต้น: ทดลองเกี่ยวกับความถี่ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ วัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม

สรุปลิงก์ที่เกี่ยวข้องในการพูดคุยวันนี้ แนะนำให้เด็กๆไปทบทวนหรือดูเพิ่มเติมนะครับ:

1. Black Holes 101 | National Geographic

2. Black Holes Explained – From Birth to Death

3. First Image of a Black Hole!

4. What is Dark Matter and Dark Energy?

5. ความถี่ธรรมชาติของลวดเกาหัว

6. หาความถี่ธรรรมชาติของลวดเกาหัวโดยใช้คลื่นเสียงกระตุ้น (เปรียบเสมือนผลักชิงช้าให้ถูกจังหวะ) ก้านสั้นได้ประมาณ 39-40 Hz

7. แต่ละคนส่งเสียง “อา” แล้วอัดเสียงและหาสเปกตรัมด้วยโปรแกรม Audacity (วิธีทำนองเดียวกับที่บันทึกไว้ที่วิทย์ม.ต้น: ดูคลื่นเสียงและสเปกตรัมของมัน )

8. หาความถี่ธรรมชาติของขันทองเหลือง เคาะแล้วให้ Audacity หาให้ว่ามีความถี่แถวไหนบ้าง

9. พยายามกระตุ้นให้ขันทองเหลืองสั่นที่ความถี่ธรรมชาติโดยใช้ลำโพงปล่อยความถี่เหล่านั้นใส่ แต่เสียงดังเกินไปและยังมองไม่เห็นการสั่น

10. เปลี่ยนเป็นวิธีฟัง beats โดยปล่อยเสียงจากลำโพงแถวๆความถี่ธรรมชาติของขัน และเคาะขัน จะได้ยินเสียงรวมจากลำโพงและขันเป็นเสียงดังค่อยดังค่อยสลับกันไป ปรากฎการณ์ beats นี้ใช้จูนเสียงเครื่องดนตรีด้วย ยกตัวอย่างดังในคลิปนี้:

11. ความถี่ที่วัตถุสั่นเองเมื่อเราไปเคาะ บิด หรือดีดมันเรียกว่าความถี่ธรรมชาติความถี่ธรรมชาติของวัตถุแต่ละชิ้นจะมีหลายความถี่ และขึ้นอยู่กับรูปทรง ขนาด วิธีที่เราจับมัน และประเภทวัสดุ ถ้าเรากระตุ้นมันด้วยความถี่ธรรมชาติเหล่านั้นมันจะสั่นตามแรงๆจากปรากฏการณ์สั่นพ้อง (resonance)

12. เวลาที่เหลือเด็กๆช่วยกันวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มที่ทำจากน็อตเหล็กผูกด้วยเส้นด้ายที่ความยาวต่างๆ ข้อมูลอยู่ที https://docs.google.com/spreadsheets/d/1vPh5uK_QLnmrjN4odsvjQQvz0l7IEhf8ES877qedyJ0/edit?usp=sharing ให้เด็กๆไปดูว่าความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความยาวลูกตุ้มเป็นอย่างไร โดยตอบคำถามว่าถ้าจะให้คาบเพิ่มเป็นสองเท่า ความยาวลูกตุ้มต้องเพิ่มกี่เท่าครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.