วิทย์ม.ต้น: Dare Mighty Things, ทำไมภูเขาดาวอังคารสูงกว่าบนโลก, ฟ้าผ่าจำลองในห้อง

วันนี้ในกิจกรรมวิทย์ม.ต้นเราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. ก่อนเวลาเรียนเราดูคลิปของเล่นแปลกๆ:

2. เราดูวิดีโอที่ถ่ายจากดาวอังคารที่ใช้เวลาส่งข้อมูลจำนวนมากหลายวัน เปรียบเทียบกับคลิปที่ศิลปินวาดว่ายาน Perseverance จะลงจอดอย่างไร กับวิดีโอที่ถ่ายมาจริงๆ:

คลิปที่ศิลปินวาด:

วิดีโอที่ถ่ายมาจริงๆจากดาวอังคาร:

แนะนำคลิปเพิ่มเติมสำหรับเด็กที่สนใจ:

3. ร่มชูชีพที่ใช้ลดความเร็วยานที่ไปดาวอังคารมีรหัสลับด้วยครับ ลายแดงขาวเข้ารหัสเป็นประโยคว่า Dare Mighty Things หรือกล้าทำสิ่งอันยิ่งใหญ่:

ดูข้อมูลเพิ่มเติมภาษาไทยได้ที่นี่:

DARE MIGHTY THINGS ถ้าใครได้ดูวีดีโอการลงจอดของยาน Perseverance อาจจะได้เห็นร่มชูชีพความเร็วเหนือเสียงของ JPL…

Posted by มติพล ตั้งมติธรรม on Tuesday, February 23, 2021

4. เราคุยกันว่าทำไมภูเขาบนดาวอังคารจึงสูงกว่าโลกได้  มีคนสังเกตว่าวัสดุต่างๆล้วนแต่มีข้อจำกัดในการรับน้ำหนักหรือแรง(ต่อขนาดพื้นที่)ทั้งสิ้น ถ้าเป็นดินน้ำมันก็รับน้ำหนักได้น้อยหน่อย ถ้าเป็นปูนเป็นเหล็กก็รับน้ำหนักได้มากกว่า แต่แม้แต่ของแข็งๆเช่นหินก็รับน้ำหนักได้จำกัด ถ้าน้ำหนักที่กดทับมากไปก็จะแตกถล่มลง ภูเขาสูงๆบนโลกจึงสูงแค่ประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตรเท่านั้น ต้นไม้ก็สูงอย่างมากประมาณร้อยเมตรเท่านั้น แต่บนดาวอังคารที่แรงโน้มถ่วงอ่อนกว่าบนโลก 2.6 เท่าน้ำหนักของหินจะน้อยกว่ามันจึงซ้อนกันได้สูงจนเป็นภูเขาที่สูงกว่า 20 กิโลเมตรโดยไม่ถล่มลงมา

ความสามารถในการรับแรงที่จำกัดของวัตถุต่างๆยังอธิบายว่าทำไมดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์จึงกลมๆ แต่ของที่เล็กกว่าเช่นดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยจึงรูปร่างไม่กลม คำอธิบายก็คือดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก จึงมีแรงโน้มถ่วงมาก วัตถุต่างๆที่ผิวของดาวเหล่านั้นจึงซ้อนกันได้ไม่สูงนักก่อนที่จะพังทลายเนื่องจากน้ำหนักของตัวมันเอง ส่วนดาวหางดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อย แรงโน้มถ่วงน้อย ไม่พอที่จะเกิดน้ำหนักกดทับให้วัตถุที่ผิวพังราบลงมา หน้าตามันจึงไม่กลม

5. เราคุยกันเรื่องการบ้านที่ให้ไปดูคลิป Basic Electricity และให้เขียนสรุปเอง ตัวอย่างการเขียนสรุปเป็นเช่นนี้ครับ:

การบ้านเจ้าหมวย ให้เขาไปดูคลิป YouTube เรื่องไฟฟ้าเบื้องต้นแล้วเขียนสรุปเอง ใช้ได้ ?

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, February 23, 2021

6. เราเอาไม้ช็อตยุงมาศึกษาว่าทำงานอย่างไร เกี่ยวอะไรกับฟ้าผ่า เนื้อหาเหมือนในโพสต์นี้ครับ

7. เราเอาวงจรสร้างฟ้าผ่าเล็กๆมาป้อนด้วยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงที่สามารถวัดกำลังวัตต์ที่ป้อนเข้าไปได้จากแรงดันเป็นโวลท์และกระแสไฟฟ้าเป็นแอมป์ พบว่าใช้แรงดันประมาณ 3 โวลท์กว่าๆ กระแสประมาณ 2 แอมป์กว่าๆ จึงส่งกำลังเข้าไปในวงจรประมาณ 8 วัตต์ หรือ 8 จูลต่อวินาที

8. เมื่อต่อวงจรฟ้าผ่ากับเข็มหมุด สามารถแยกให้เข็มหมุดอยู่ห่างกันประมาณ 1.5 เซ็นติเมตร แต่ก็ยังมีสายฟ้าวิ่งระหว่างปลายเข็มหมุด สามารถประมาณได้ว่าความต่างศักย์ที่ปลายเข็มหมุดจะประมาณ (1.5 cm)/(3,000 V/mm) = 45,000 โวลท์ เนื่องจากอากาศจะเริ่มนำไฟฟ้าเมื่อมีความต่างศักย์ 3,000 โวลท์ต่อมิลลิเมตร

กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศระหว่างปลายเข็มที่ห่างกัน 1.5 cm ได้ แสดงว่าความต่างศักย์อาจจะประมาณ 45,000 โวลท์

9. คุยกันเรื่องพลังงานในอาหาร ในข้าวหนึ่งจานพลังงาน 500 กิโลแคลอรี่จะเท่ากับประมาณ 2 ล้านจูล สาเหตุที่พลังงานมากๆอย่างนี้ไม่ทำให้เราระเบิดก็เพราะว่าพลังงานในอาหารจะถูกปลดปล่อยมาช้าๆด้วยการย่อย คิดเป็นกำลังหลักสิบหลักร้อยวัตต์ ระเบิดเช่น C-4 มีพลังงานต่อน้ำหนักน้อยกว่าอาหารของเราแต่โมเลกุลของมันสามารถปลอดปล่อยพลังงานทั้งหมดออกมาได้ในเวลาอันสั้นทำให้เกิดการระเบิดเสียหายได้มาก เราดูตัวอย่างพลังงานที่อยู่ในขนมกัมมีแบร์ที่เมื่อมีออกซิเจนใน potassium chlorate มารวมจะปล่อยพลังงานออกมาอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.