วิทย์ม.ต้น: ทรานซิสเตอร์, การสร้างชิป, เมฆในขวด, วงจรไฟฟ้ากระแสตรง

วันนี้ในกิจกรรมวิทย์ม.ต้นเราคุยกันเรื่องเหล่านี้ครับ:

1. ก่อนเวลาเรียน เราดูคลิปของเล่นวิทย์:

2. เรียนรู้เรื่องเมฆเกิดอย่างไร, อุณหภูมิก๊าซกับความดัน, การขยายตัวของก๊าซทำให้อุณหภูมิต่ำลง แล้วก็ทดลองสร้างเมฆในขวดกัน

หลักการทำงานก็คือเมื่อเราอัดอากาศให้มีความดันเพิ่มขึ้น อุณหภูมิอากาศจะสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราให้อากาศขยายตัว อุณหภูมิของมันก็จะต่ำลง ถ้าเราสามารถให้อากาศขยายตัวอย่างรวดเร็วให้ความดันลดอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิมันก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกันครับ 

ใช้หลักการที่ว่าอากาศขยายตัวจะเย็นมาสร้างเมฆในขวดครับ โดยเอาน้ำหรือแอลกอฮอล์เล็กน้อยใส่ขวดใส อัดอากาศเข้าไปให้ความดันสูงๆ อุณหภูมิในขวดก็จะสูงขึ้นด้วยตามความดันทำให้มีน้ำหรือแอลกอฮอล์ระเหยเป็นไอมากขึ้น เมื่อเปิดปากขวดให้อากาศวิ่งออกอย่างรวดเร็ว ความดันข้างในก็จะลดลง อุณหภูมิก็ลดลงอย่างรวดเร็วด้วย ไอน้ำหรือไอแอลกอฮอล์ก็จะควบแน่นกลายเป็นละอองเล็กๆลอยอยู่ในขวด เป็นเมฆหมอกให้เราเห็น เมฆในท้องฟ้าก็เกิดแบบประมาณนี้ โดยไอน้ำลอยขึ้นไปสูงๆแล้วเย็นลงควบแน่นเป็นเมฆครับ ตอนอัดอากาศและตอนปล่อยอากาศเราลองวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดด้วยครับ พบว่าอุณหภูมิต่างกันประมาณ 4-7 องศาเซลเซียส

ผมเคยบันทึกวิธีทำไว้ในคลิปเหล่านี้ครับ อันนี้ทำด้วยน้ำเย็น:

อันนี้ทำด้วยแอลกอฮอล์:

อันนี้เปรียบเทียบระหว่างทำด้วยน้ำ ทำด้วยแอลกอฮอล์ และแบบใช้ขวดเปล่า:

3. คุยกันเรื่องทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟฟ้า และเป็นพื้นฐานเทคโนโลยีต่างๆของมนุษยชาติ แนะนำให้เด็กๆดูคลิปนี้ครับ:

ถ้าเด็กๆสนใจว่าทรานซิสเตอร์มารวมกันแล้วทำงานอย่างไร แนะนำให้ดูอันนี้ครับ:

4. คลิปการรวมวงจรไฟฟ้าต่างๆรวมถึงทรานซิสเตอร์เป็นแสนเป็นล้านถึงพันล้านตัวให้อยู่ในชิปเดียวกัน:

5. เราคุยกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V) กระแสไฟฟ้า (I) และความต้านทาน (R) ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง V = IR

6. การบ้านเด็กๆคือดูคลิปทั้งหมดในลิสต์ Electronics for Beginners ข้างล่างนี้เป็นการบ้านพร้อมกับบันทึกโน๊ตตัวเองก่อนมาพบกันอีกครั้งวันพุธหน้าครับ:

7. บรรยากาศกิจกรรมวันนี้ครับ:

กิจกรรมวิทย์ม.ต้นวันพุธ เด็กๆเริ่มรู้จักทรานซิสเตอร์, ดูคลิปการสร้างชิป CPU, เมฆคืออะไร, สร้างเมฆในขวด, วงจรไฟฟ้ากระแสตรง

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, February 16, 2021

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.