วันนี้เราฝึกใช้สเปรดชีตเป็นเครื่องคิดเลขช่วยคำนวณสิ่งต่างๆกันต่อครับ
- เด็กม.2 เปรียบเทียบขนาดปลายนิ้วกับเซลล์ จะได้อัตราส่วนพอๆกับเมล็ดข้าวกับห้อง (ลองคำนวณตามที่คลิปนี้เทียบเอาไว้) ตัวอย่างสเปรดชีตอยู่ที่นี่ครับ
2. เด็กม.2 รู้จัก geometric mean ที่ใช้หาค่าเฉลี่ยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณที่มีการเติบโตแบบเรขาคณิต (geometric growth หรือ exponential growth)
3. เด็กม.1และ 2 ได้รู้จักหน้า YouTube ของ Dr. James O’Donoghue ที่มีอนิเมชั่นช่วยให้เข้าใจระบบสุริยะและความเร็วแสงอย่างดีเยี่ยม ยกตัวอย่างเช่นอัตราการหมุนของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ:
วิดีโอยาวห้าชั่วโมงกว่าๆซึ่งเป็นเวลาจริงๆที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆจนถึงพลูโต ระยะทางมีอัตราส่วนที่ถูกต้องเมื่อเทียบกับความเร็วแสง ขนาดดาวต่างๆขยายขึ้น 1,000 เท่าเพื่อให้เราสามารถมองเห็นได้:
เปรียบเทียบขนาดและการหมุนของดาวเคราะห์ต่างๆและดวงอาทิตย์:
พื้นผิวโลกถ้าไม่มีน้ำปกคลุม:
4. เราเปรียบเทียบแนวที่เปลือกโลกชนกันในอนิเมชั่นพื้นผิวโลกข้างบน กับแนวที่มีแผ่นดินไหวข้างล่าง:
5. เด็กม.1 ได้รู้จักดาวนิวตรอน (neutron star) ที่แรงกดทับจากแรงโน้มถ่วงกดให้อะตอมยุบตัว ผลักอิเล็กตรอนไปรวมกับโปรตอนในนิวเคลียสกลายเป็นนิวตรอน ทำให้อะตอมลดขนาดเหลือเท่านิวเคลียสที่เต็มไปด้วยนิวตรอน ได้รู้จักว่าเทคโนโลยีต่างๆของเราเกิดขึ้นได้เพราะมีดาวนิวตรอนโคจรและชนกันทำให้เกิดธาตุหนักหลายๆชนิดที่เราใช้สร้างเครื่องมือต่างๆของเรา (กระบวนการชนนี้เรียกว่า kilonova )
6. เด็กม.1 และ 2 ได้รู้จัก Time Value of Money ซึ่งแปลว่าเงินปัจจุบันจะมีค่ามากกว่าเงินจำนวนเดียวกันในอนาคต เช่นเงิน 10,000 บาทวันนี้มีค่ากว่าเงิน 10,000 บาทอีก 12 เดือนข้างหน้า
7. โดยปกติเงินปัจจุบันจะมีค่ามากกว่าเงินจำนวนเดียวกันในอนาคต เพราะเงินปัจจุบันสามารถเอาไปลงทุนให้งอกเงยได้ นอกจากนี้ของต่างๆก็อาจมีราคาแพงขึ้นทำให้ในอนาคตต้องใช้จำนวนเงินมากขึ้นเพื่อซื้อของเท่าเดิม (ภาวะเงินเฟ้อ หรืออ่านง่ายๆที่นี่)
8. เด็กๆหัดคำนวณราคาสินค้าที่เงินเฟ้อต่อปีเท่ากับค่าต่างๆ สเปรดชีตตัวอย่างอยู่ที่นี่ครับ
9. การบ้านเด็กๆสำหรับศุกร์หน้าคือให้ไปทดลองเปลี่ยนอัตราเงินเฟ้อเพื่อหาคำตอบให้ปัญหานี้: ถ้าสินค้าราคาเพิ่มเป็น 2 เท่าในเวลา 1, 2, 3, 6, 10, 36, หรือ 72 ปี อัตราเงินเฟ้อในแต่ละกรณีเท่ากับเท่าไรต่อปี
One thought on “วิทย์ม.ต้น: หัดใช้สเปรดชีตต่อ, อนิเมชั่นระบบสุริยะ, ดาวนิวตรอน, Time Value of Money, เงินเฟ้อ”