วันนี้เราฝึกใช้สเปรดชีตเป็นเครื่องคิดเลขช่วยคำนวณสิ่งต่างๆกันต่อครับ
- เด็กม.2 หัดคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว x และ y โดยให้สเปรดชีตคำนวณและวาดกราฟให้ดู ให้ลองวาด y=3x, y=x^(1/2), y = -2x, y = 3x+2, y = -2x+5, x = y^(1/2), xy = 5, และ y = 5x^2 ตัวอย่างสเปรดชีตอยู่ที่นี่ครับ
2. เด็กม.1 ได้ดูคลิปดาวหาง NEOWISE ที่เห็นการเคลื่อนที่ของมันเทียบกับแบ็คกราวด์ดาวที่อยู่ไกลๆครับ เห็นดาวเทียมวิ่งผ่านไปมาด้วย
ผมเล่าให้ฟังด้วยว่าหางของดาวหางคืออะไร (ข้อมูลจากที่นี่ครับ หรือภาษาไทยที่นี่ครับ)
มีภาพอื่นๆที่เด็กๆยังไม่ได้ดูในห้องเรียน ถ่ายในประเทศไทยเผยแพร่โดย NARIT (สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ) ด้วยครับ:
#ดาวหางนีโอไวส์ อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด #TeamNARIT เก็บภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” คืนใกล้โลกที่สุด มาฝากคนไทยครับ…
Posted by NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ on Thursday, July 23, 2020
3. เด็กม.1 ได้ดูภาพดวงจันทร์และสิ่งอื่นๆที่ผมถ่ายด้วยกล้อง Nikon P1000 ในอัลบั้ม Moon and Other Heavenly Bodies ครับ:
Posted by Pongskorn Saipetch on Sunday, July 5, 2020
4. สืบเนื่องจากวิดีโอที่เด็กๆได้ดูเมื่อวันพุธเรื่อง “วิทย์ม.ต้น: ขนาดอะตอม, ข้อมูลต่อเนื่องสี่พันล้านปีใน DNA, การคัดเลือกพันธ์ VS. ความน่าจะเป็น”:
ผมให้เด็กๆคำนวณเองโดยหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตว่าอะตอมมีขนาดประมาณเท่าไร (เช่นจาก Wolfram Alpha หรือจาก Wikipedia) และเทียบขนาดกับกำปั้นแบบในวิดีโอว่า ถ้าขยายขนาดอะตอมให้มีขนาดเท่ากับลูกหิน (ประมาณ 1 cm) กำปั้นจะใหญ่ประมาณโลกจริงไหม เด็กๆกรอกข้อมูลกันในสเปรดชีตให้ช่วยคิด หัดรู้จัก prefix พวก เซ็นติ = 10^-2, พิโค = 10^-12, กิโล = 10^3, ฯลฯ ตัวอย่างสเปรดชีตอยู่ที่นี่และที่นี่ครับ
เด็กๆรู้จักหนังสือ Cell Biology by the Numbers เพื่อรู้จักขนาด ปริมาตรเซลล์ต่างๆในร่างกายเรา เซลล์สเปิร์มเล็กมากเมื่อเทียบกับเซลล์ไข่ ไมโตคอนเดรียของเรามักจะมาจากแม่ทั้งหมด:
การบ้านศุกร์หน้าของเด็กๆคือให้ไปเปรียบเทียบขนาดปลายนิ้ว เซลล์ โปรตีน อะตอม ที่วิดีโอเปรียบเทียบไว้ว่าจริงหรือไม่