วิทย์ม.ต้น: Cognitive Dissonance, กำเนิดธาตุ, เลนส์เล่นกล, น้ำพุโซ่

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง cognitive dissonance จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่บางทีเราจะมีความคิดขัดแย้งกันเองภายใน หรือขัดแย้งกับหลักฐานภายนอก ทำให้เราไม่สบายใจและมักจะสร้างเรื่องราวขึ้นมาปลอบใจตนเอง/มองหาหลักฐานอื่นๆ/หลีกเลี่ยงหลักฐานที่ไม่ชอบ เพื่อให้สบายใจขึ้นครับ

เราได้พูดคุยกับเรื่องธาตุต่างๆในจักรวาล ซึ่งเป็น threshold ที่ 3 ใน Big History Project

เรื่องตารางธาตุและ Dmitri Mendeleev

เห็นช่วงชีวิตของดวงดาว (เพราะดวงดาวเป็นที่สังเคราะห์ธาตุต่างๆจากไฮโดรเจนและฮีเลียม):

จาก http://planetfacts.org/wp-content/uploads/2011/04/Life-Cycle-of-a-Star.gif
จาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/47/Star_Life_Cycle_Chart.jpg

ได้รู้จักเว็บตารางธาตุที่น่าสนใจ ที่ https://ptable.com:

จากเว็บ https://ptable.com

และที่ https://periodictable.com:

จากเว็บ https://periodictable.com

และได้รู้จักเพลงตารางธาตุ:

จากนั้นเด็กๆก็ได้เลนส์เล่นกลที่เรียกว่า Lubor’s Lens (เลนส์ลูเบอร์) กัน มันเป็นแผ่นพลาสติกบางๆที่จะมีเส้นนูนเล็กๆเรียงกันเป็นแถบเส้นตรง เส้นนูนเหล่านี้จะทำให้แสงในแนวหนึ่งกระจัดกระจายขณะที่ในแนวที่ตั้งฉากจะวิ่งผ่านไปได้ดีกว่ามาก เวลามองผ่านเลนส์นี้เราจะเห็นของที่วางในแนวหนึ่งแต่จะไม่เห็นในอีกแนวหนึ่งดังภาพต่อไปนี้:

อีกอย่างที่เด็กๆได้เล่นคือน้ำพุโซ่ที่เราเอาโซ่เล็กๆมาใส่ถ้วยแล้วปล่อยให้ปลายข้างหนึ่งตกลง ปลายที่ตกจะตกเร็วขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อเร็วพอมันจะดึงให้โซ่ที่เหลือในถ้วยวิ่งออกจากถ้วยด้วยความเร็วสูง โซ่ที่วิ่งขึ้นจะพุ่งไปสูงกว่าขอบถ้วยก่อนจะเลี้ยวตกลงสู่พื้น:

คุณ Steve Mould เป็นคนแรกที่ทำอย่างนี้แล้วมาเผยแพร่ใน YouTube เมื่อหกปีที่แล้ว:

นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าน้ำพุโซ่ทำงานอย่างไร เปเปอร์อยู่ที่ https://royalsocietypublishing.org/doi/full/10.1098/rspa.2013.0689 พบว่าแต่ละปล้องของโซ่จะต้องบิดและดีดตัวมันขึ้นมาจากพื้นด้วยถึงจะเกิดปรากฎการณ์นี้ได้ เชือกนิ่มๆจะไม่สามารถพุ่งขึ้นมาเป็นน้ำพุได้แต่โซ่ที่แต่ละปล้องสามารถประมาณได้ด้วยแท่งตรงๆสั้นๆจะพุ่งขึ้นมาเป็นน้ำพุได้

บรรยากาศในห้องเรียนของเราครับ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.