วิทย์ม.ต้น: Conjunction Fallacy, ประมาณปริมาตรลมด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)

วันนี้เด็กๆเรียนเรื่อง The deception of specific cases (conjunction fallacy) จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ให้ระวังธรรมชาติของเราที่ชอบฟังเรื่องราวที่มีรายละเอียดเข้ากันได้กับอคติต่างๆของเรา และเรามักคิดว่าเรื่องราวเหล่านั้นมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่าความเป็นจริง เวลาตัดสินใจอะไรที่สำคัญให้ป้องกันตัวจากความคิดแบบนี้ด้วย

ผมเล่าเรื่องงานวิจัยให้เด็กๆฟังเรื่องเวลาขอให้ใครทำอะไรถ้าใส่เหตุผลบางอย่างเข้าไปด้วยทำให้มีโอกาสขอสำเร็จมากขึ้นด้วย ทั้งๆที่บางครั้ง “เหตุผล” ไม่ได้เข้าท่าเลย อ่านสรุปได้ที่นี่ครับ: The Power of the Word “Because” To Get People To Do Stuff

ผมเอาเครื่องวัดความเร็วลมที่เรียกว่า anemometer มาให้เด็กๆดู แล้วให้เด็กๆช่วยกันหาวิธีว่าเราจะหาทางวัดปริมาตรอากาศที่เราเป่าผ่านเครื่องนี้ได้ไหม เด็กๆก็ช่วยกันคิดทำท่อให้ลมที่เราเป่าทั้งหมดวิ่งผ่านเครื่องวัดความเร็วและจับเวลากันครับ เนื่องจากความเร็วเปลี่ยนไปเรื่อยๆระหว่างเป่าโดยเริ่มจากศูนย์แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมากที่สุดแล้วลดลงมาเป็นศูนย์ ผมเลยบอกเด็กๆว่าเราอาจประมาณแบบหยาบๆมากๆว่าให้ประมาณความเร็วเฉลี่ยเป็นความเร็วสูงสุดหารสองไปเลย

นอกจากนี้ ผมเสนอเด็กๆว่าถ้าเรารู้ว่าความเร็วลมเป็นเท่าไรที่เวลาต่างๆ เราอาจเอามาวาดกราฟ ความเร็ว vs. เวลา แล้วหาความยาวของเส้นลมที่วิ่งผ่านเครื่องวัดโดยการหาพื้นที่ใต้กราฟนั้นโดยการแบ่งพื้นที่ใต้กราฟเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูหลายๆอันแล้วบวกกัน เราทำอย่างนั้นโดยถ่ายวิดีโอการเป่าอากาศ เอาคลิปวิดีโอเข้าโปรแกรม Tracker แล้วขยับดูไปทีละเฟรม แล้วเปลี่ยนเฟรมเป็นเวลา เอาค่าความเร็วที่เวลาต่างๆใส่เข้า Excel แล้วหาพื้นที่ใต้กราฟครับ:

ภาพบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.