วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 9 กันครับ วันนี้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก
เด็กๆถ้าอยากรู้ว่าเราแบ่งยุคของโลกอย่างไร ลองไปดูที่ Geologic time scale ครับ เช่นยุคประมาณ 350 ล้านปีที่แล้วที่ยังไม่มีตัวอะไรย่อยสลายต้นไม้ทำให้สะสมกลายเป็นถ่านหินเรียกว่า Carboniferous ครับ ชื่อมันแปลว่า carbo- (ถ่านหิน) + fero- (รวบรวม/ขนมา) ในวิดีโอ Cosmos ยุคนี้คือยุคที่มีออกซิเจนเยอะๆและแมลงที่อาศัยการแพร่ของอากาศเข้าไปตามรูตามผิวร่างกายสามารถเติบโตมีขนาดใหญ่มากๆครับ
ถ้าไม่อยากอ่านข้างบน ดูคลิปนี้ก็ดีครับ มีซับอังกฤษครับ:
แนะนำช่อง PBS Eons ครับ:
ลิงก์นี้ (Geologic time scale ที่ UC Berkeley) กดดูแต่ละยุคได้ง่ายและอ่านง่ายกว่าใน Wikipedia ครับ เด็กๆจะเห็นตัวย่อ mya ซึ่งย่อมาจาก million years ago (ล้านปีที่แล้ว) นะครับ
อยากให้เด็กๆเข้าไปอ่าน Life Timeline ด้วยนะครับ จะได้รู้เกี่ยวกับว่าสิ่งมีชีวิตพวกไหนเกิดขี้นประมาณไหนในประวัติศาสตร์โลก
ถ้าอยากรู้เรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั้งหลายที่ผ่านมา เข้าไปดูหน้านี้ครับ: Extinction event การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดก็คือเมื่อประมาณ 65-66 ล้านปีที่แล้วที่ไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ตายไปทำให้บรรพบุรุษเราที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีโอกาสแพร่พันธุ์หากินได้ทั่วไปมากขึ้น
การสูญพันธุ์ใหญ่ๆที่ผ่านมา 5 ครั้งครับ:
ในช่อง PBS Eons มีหลายวิดีโอที่อยากให้เด็กๆได้ดูครับ เช่นเรื่องการเคลื่อนที่ของทวีปต่างๆ ถ้าฟังไม่ทันกดดูซับนะครับ:
เรื่องไมโตคอนเดรียและคลอโรพลาสท์ที่เมื่อก่อนน่าจะเป็นแบคทีเรียอิสระ แต่มารวมตัวกับเซลล์อื่นกลายเป็นเซลล์สมัยนี้:
และเรื่องไทรโลไบท์ครับ:
ช่องนี้มีวิดีโออีกมากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตบนโลกครับ ถ้าสนใจกดดูไปเรื่อยๆนะครับ
อันนี้เรื่อง James Cameron ลงไปในน้ำลึกกว่า 10 กิโลเมตรที่เราคุยกันในห้องเรียน:
https://youtu.be/C8B4hClNWWc