จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อวัน)

เจ็ดวันอันตรายและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย

ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาผมเห็นรายงานข่าวอุบัติเหตุและการตายทางจราจรว่าเจ็ดวันอันตรายมีคนตายไปเท่าไรแล้ว ทำให้ผมสงสัยว่าจริงๆแล้วมันอันตรายแค่ไหน (มากกว่าปกติแค่ไหน) ผมเลยไปเอาข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนมาดูครับ

ข้อมูลเป็นตารางตัวเลข ทำให้ดูลำบาก ผมเลยเอาตัวเลขมาวาดกราฟสำหรับจำนวนต่อเดือนและต่อวันครับ:

จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อเดือน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อเดือน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อวัน)
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย (ต่อวัน)

 สำหรับคนตายในช่วงเจ็ดวันอันตราย ผมก็ค้นหาใน Google  เพื่อดูข่าวเก่าๆไปเรื่อยๆ ได้ตัวเลขมาดังนี้ครับ:

ปี คนตายในเจ็ดวันอันตราย ตายต่อวัน (เจ็ดวันอันตราย) ตายต่อวันเฉลี่ยปีนั้นๆ อัตราส่วน
2553 361 52    
2554 271 39 28 1.38
2555 320 46 27 1.69
2556 321 46 24 1.91
2557 322 46 19 2.42
2558 364 52    

กราฟครับ:

เจ็ดวันอันตราย
คนตายในเจ็ดวันอันตรายปีต่างๆ

พบว่า:

  1.  คนตายตอนปีใหม่มากกว่าตอนสงกรานต์ครับ
  2.  น่าประหลาดใจที่คนตายเดือนมีนามากกว่าเมษา
  3. ดูเหมือนจำนวนคนตายจะลดลงเรื่อยๆตามปีนะครับ
  4. จำนวนคนตายช่วงเจ็ดวันอันตรายมีประมาณเกือบๆสามร้อยถึงสามร้อยกว่าๆหรือประมาณ 40-50 คนต่อวัน
  5. จำนวนคนตายช่วงเจ็ดวันอันตรายต่อวันจะมากกว่าค่าเฉลี่ยของปีประมาณหนึ่งเท่ากว่าๆถึงสองเท่ากว่าๆ (ผมก็ไม่แน่ใจว่าทำไมตัวเลขของปี 2554 มันต่ำกว่าปีอื่นๆเยอะนะครับ ไม่รู้ว่าตัวเลขผิดหรือรณรงค์ได้ผลดี)

ความคิดเห็น:

  1. ผมอยากให้หน่วยงานราชการเผยแพร่ข้อมูลในรูปที่เอาไปใช้ง่ายๆกว่าเป็นไฟล์ PDF ครับ ถ้าเป็น .csv (Comma-separted values) ที่โปรแกรมทั้งหลายสามารถ export และ import ได้ง่ายๆจะดีมากครับ
  2. ดูกราฟจะทำความเข้าใจขนาดของตัวเลขได้ดีกว่าดูตารางตัวเลขครับ
  3. ผมไม่รู้ว่าตัวเลขเชื่อได้แค่ไหนนะครับ มีมาจากแหล่งเดียว ไม่ได้เช็คกับแหล่งอื่นๆที่เป็นอิสระต่อกัน

ไฟล์ที่ผมกรอกตัวเลขต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ

เพิ่มเติม 21 เมษา 2558: อาจารย์ Döyse Ponladesh MV เพิ่มเติมดังนี้ครับ: “ตัวเลขมี seasonal ค่อนข้างชัดนะครับ คือสูงช่วง พ.ย ธ.ค. (อากาศดี คนคงเที่ยวกันเยอะ) และต่ำช่วงหน้าฝน คือ ก.ค. ส.ค. ก.ย.”  และ  “และอีกอย่างที่ชัดจากตารางของจารย์โก้ก็คือ แม้ว่าตัวเลขตายต่อวันจะลดลงเรื่อยๆ (จาก 28 เหลือ 19) แต่ช่วง 7 วันอันตรายกลับไม่ลดลงเลย (ratio ของจารย์ถึงพุ่งขึ้นตลอด) หรือเพราะช่วงเทศกาลยังไงก็ต้องเมาต้องมันส์ จะมี campaign กันยังไงก็ไม่สน”

One thought on “เจ็ดวันอันตรายและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย”

  1. Interesting. A while ago, I investigated measures of traffic dangers here in Thailand, compared with other countries. The headline conclusions:
    – the number of traffic fatalities per capita is high (top 10 in the world)
    – when adjusted for automobile usage (per km driven or per vehicle owned) Thailand was better than the median, roughly 60% percentile

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.