เนื่องจากผมไปเห็นกระทู้ในพันทิพเกี่ยวกับการติวลูกอนุบาลเพื่อสอบเข้าป.1 ผมก็เลยโวยวายว่า “เร่งเรียนจนเด็กโตเป็นหุ่นยนต์ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นยกเว้นข้อสอบ สอบเสร็จก็ลืม ต่อยอดไม่เป็น คิดอะไรใหม่ๆไม่ได้ ถ้าเด็กมีทักษะและความคิดคล้ายหุ่นยนต์ อีกหน่อยก็จะตกงานเพราะคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์จริงๆ #การศึกษาไทยดั่งไททานิค”
ในคอมเม้นท์มีข้อความที่ภรรยาแนะนำเพื่อนรุ่นน้องที่ผมอยากคัดลอกมาไว้ที่นี่ดังนี้:
พี่ ว่าต้องลองคิดอย่างนี้ค่ะ สมมุติเราตายพรุ่งนี้ มีเวลาแค่วันนี้ที่จะอยู่กับลูก แต่ลูกยังดูแลตัวเองไม่ได้เล้ยยย แล้วเรายังห่วงอะไรลูกบ้าง มีอะไรที่อิฉันยังไม่ได้ปลูกฝังบ้าง
คิด แบบนี้แล้วน่าจะพอเขย่าร่างคนเป็นพ่อแม่ให้มีสติ จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นกับลูกได้บ้าง เชื่อไหมว่าเรื่อง โรงเรียนจะไม่ใช่สิ่งที่แม่จะห่วงสุด
สำหรับ พี่แล้ว ห่วงสุดก็เรื่อง ทักษะการแก้ปัญหา ความอดทน พยายาม รับผิดชอบ มั่นใจในตัวเอง การใช้ชีวิตให้มีสุข ตรรกะการมองโลก ซึ่งเรื่องพวกนี้ เราสอนกันเองที่บ้านทั้งนั้นค่ะ ดังนั้นที่โรงเรียนก็ให้เรียนไป แต่ที่บ้านเองก็ต้องสอนและปลูกฝังเรื่องพวกนี้ โดยอย่าหลงไปยึดติดกับคะแนนและโรงเรียน ต้องมองจุดประสงค์หลักของแต่ละกิจกรรมที่ทำกับลูกให้ออกค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น
การ ที่ลูกหน้าที่ควักการบ้านขึ้นมาทำด้วยตัวเอง ย่อมสำคัญว่าเค้าทำการบ้านถูกหรือเปล่า สะอาดหรือเปล่า คือให้ชมเวลาเค้ารับผิดชอบ แต่ไม่ต้องไปจุ๊กจิ๊ก หงุดหงิดกับความไม่สมบูรณ์แบบของการบ้าน
เมื่อ ถึงเวลากินข้าวแล้วเด็กนั่งทานข้าวเองบนโต๊ะอาหาร สำคัญกว่าการที่เด็กกินอาหารเยอะเท่าที่แม่ต้องการหรือเปล่า มารยาทบนโต๊ะต้องเป๊ะ แต่ไม่ใช่ไม่สอนเรื่องมารยาทนะ เราควรยังสอนการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และมารยาทได้ แต่ถ้ามื้อนี้ยังทำไม่ได้ ปล่อยเค้าไปก่อน แล้วมื้อหน้าก็สอนอีก แต่อย่าไปเปิดสนามรบว่าลูกต้องกินเป๊ะตามนี้
พี่ว่าบทความนี้ก็เขียนได้ตรงประเด็นที่คุยกันอยู่ค่ะ ไปอ่านด้วยนะคะ
“อยากให้ลูกเรียนเก่ง ไปทำไมกัน ฟังข้อดี ข้อเสีย ก่อนจะเล่นบทพ่อแม่หลงทาง” โดย น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
http://www.elib-online.com/doctors2/child_learn02.html