Category Archives: science

ไปคุยกับเด็กๆเรื่องขนาดของสิ่งต่างๆ

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ซาบซึ้งกับการเติบโตแบบเอ็กซโปเนนเชียลด้วยการพับกระดาษ, เล่นกล้องคาไลโดสโคป” ครับ)

เมื่อวานผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรมมาครับ คราวนี้เกี่ยวกับขนาดของสิ่งต่างๆ

ผมวางแผนตอนแรกไว้ว่าผมจะทำการทดลองปั้นดินน้ำมันกับเด็กๆเพื่อทดลองรับน้ำหนักแล้วสังเกตว่าดินน้ำมันจะต้องมีขนาดอย่างไรเพื่อไปเชื่อมโยงกับลักษณะขาของสัตว์ใหญ่สัตว์เล็กและขนาดของภูเขาบนโลกและดาวอังคาร แต่ก่อนที่จะทำการปั้นผมให้เด็กๆดูขนาดสิ่งของต่างๆที่สามารถซูมเข้าซูมออกได้ด้วยโปรแกรม The Scale of the Universe 2 ที่ http://htwins.net/scale2/ โดยคิดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ปรากฏว่าเด็กๆสนใจสิ่งต่างๆมากเลยใช้เวลาจนหมดหนึ่งชั่วโมงเลย วันนี้เราเลยไม่ได้ปั้นอะไรแต่ก็สนุกดีครับ ตัวอย่างหน้าจอของโปรแกรมที่เราเห็นครับ:

Continue reading ไปคุยกับเด็กๆเรื่องขนาดของสิ่งต่างๆ

ซาบซึ้งกับการเติบโตแบบเอ็กซโปเนนเชียลด้วยการพับกระดาษ, เล่นกล้องคาไลโดสโคป

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก ภาค 2: แม่เหล็กไฟฟ้า” ครับ)

เมื่อวานนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับคราวนี้เรื่องพับกระดาษและส่องกล้องคาไลโดสโคปสำหรับเด็กปฐมธรรม และส่องกล้องคาไลโดสโคปสำหรับเด็กอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ

ผมไปซื้อกล้องคาไลโดสโคป (kaleidoscope) มาจากงานวิทยาศาสตร์ ผมเลยเอามาให้เด็กๆส่องดูครับ ข้างในมีกระจกใส่ไว้สามอัน ตรงปลายมีพลาสติกใสๆทรงกลมติดอยู่เพื่อให้ภาพจากภายนอกเข้าไปสะท้อนไปมาข้างใน ให้เกิดลวดลายที่มีความสมมาตรสวยงาม ตอนให้เด็กๆดูก็ไม่ได้บอกเด็กๆว่ามันมีอะไรข้างใน แล้วให้เด็กๆเดา เด็กๆหลายคนเดาได้ว่ามีกระจกหลายอันครับ ตัวอย่างภาพที่เห็นครับ: Continue reading ซาบซึ้งกับการเติบโตแบบเอ็กซโปเนนเชียลด้วยการพับกระดาษ, เล่นกล้องคาไลโดสโคป

ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก ภาค 2: แม่เหล็กไฟฟ้า

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก” ครับ)

วันนี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนภูมิธรรม และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับเด็กประถม และมอเตอร์โฮโมโพลาร์สำหรับเด็กอนุบาลครับ

สำหรับเด็กประถม เราเล่นและเรียนเกี่ยวกับแม่เหล็กต่อจากสัปดาห์ที่แล้วครับ ผมเริ่มโดยเอาหินที่เป็นแม่เหล็ก (เรียกว่าโหลดสโตน, Lodestone) ออกมาให้เด็กๆดู มันเป็นหินที่เป็นแม่เหล็กโดยธรรมชาติ คนสมัยโบราณเป็นพันปีมาแล้วสังเกตว่าถ้าแขวนหินพวกนี้ไว้ มันจะค่อยๆหมุนจนชี้ไปในทิศทางเดิมตลอด มันจึงเป็นเข็มทิศธรรมชาติอันแรกที่คนรู้จักใช้ ผมถามเด็กๆว่ารู้จักเข็มทิศใช่ไหม รู้ไหมทำไมเข็มทิศถึงชี้ไปทางเดิมตลอด เด็กๆบางคนตอบได้ว่าเพราะโลกมีขั้วแม่เหล็ก แม่เหล็กในเข็มทิศจึงชึ้ไปในแนวขั้วแม่เหล็กโลก ผมตอบว่าใช่แล้ว ในโลกมีความร้อนสูงมาก มีโลหะหลอมละลายอยู่ โลหะเหล่านี้ก็หมุนๆไปตามโลกด้วย การหมุนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่สร้างสนามแม่เหล็กโลก นอกจากนี้ขั้วแม่เหล็กโลกก็เคลื่อนที่ช้าๆมีการกลับทิศทางหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมาเพราะการเคลื่อนที่ของโลหะเหลวคงจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ใช้เวลาเป็นแสนปี และก็คงไม่มีอันตรายอะไรเพราะเวลาเราดูฟอสซิลสิ่งมีชีวิตในอดีต เราไม่เห็นว่าการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กโลกทำให้มีการสูญพันธุ์อะไรมากเป็นพิเศษ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองดูที่นี่นะครับ ถ้าสนใจ)

จากนั้นเราก็มาดูคลิปกัน ในสัปดาห์ที่แล้วผมเล่าเรื่องเกี่ยวกับเครื่อง MRI ที่มีแม่เหล็กที่มีกำลังแรงมากอยู่ข้างในให้เด็กๆฟัง สัปดาห์นี้ผมจึงเริ่มโดยเอาวิดีโอคลิปที่คนทดลองเอาของต่างๆเข้าไปใกล้เครื่อง MRI ที่ปลดระวางแล้ว:

จะเห็นได้ว่าแม่เหล็กในเครื่อง MRI ดูดเก้าอี้เข้าไปด้วยแรงร่วมๆหนึ่งตันเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่อง MRI จึงต้องเอาโลหะต่างๆออกจากร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายถ้าแม่เหล็กดูดโลหะได้ Continue reading ใครๆก็ชอบเล่นแม่เหล็ก ภาค 2: แม่เหล็กไฟฟ้า