Category Archives: science

ดูวิดีโอเปิดโปงการหลอกลวงชาวบ้าน ดู Leidenfrost Effect คุยกันเรื่องโมเมนตัมและกฎของนิวตัน และเล่นเรือป๊อกแป๊กกัน

 

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทดลองเอาน้ำและน้ำมันพืชใส่เตาไมโครเวฟ และเริ่มทดลองเรื่องโมเมนตัม” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ (กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์นติดธุระเลยไม่ได้มาวันนี้ครับ) วันนี้เด็กอนุบาลสามได้ดูของเล่นเรือป๊อกแป๊ก เด็กประถมทั้งต้นและปลายได้ดูวิดีโอคลิปว่าผู้วิเศษหลอกลวงชาวบ้านอย่างไร ได้ดูการทดลองที่เอามือเปียกจุ่มไปในตะกั่วเหลวที่ร้อนมากๆแต่ไม่เป็นอันตรายเพราะไอน้ำทำตัวเป็นฉนวนความร้อนป้องกันมือตามปรากฏการณ์ Leidenfrost Effect เด็กประถมปลายได้เริ่มเรียนเรื่องปริมาณการเคลื่อนที่ (โมเมนตัม) และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันครับ

สำหรับเด็กประถม ก่อนอื่นผมถามว่าใครเล่นเป่ายิงฉุบไม่เคยแพ้บ้าง แล้วให้เด็กๆลองเป่ายิงฉุบกัน ปรากฏว่าไม่มีใครชนะตลอด ผมเลยบอกว่าแต่จริงๆมีหุ่นยนต์ที่เป่ายิงฉุบไม่เคยแพ้ดังในคลิปนี้:

วิธีทำก็คือหุ่นยนต์โกงครับ มันมีกล้องที่มองว่ามือคนออกมาเป็นแบบไหนแล้วมันสามารถสั่งการให้มือของมันทำงานในหนึ่งส่วนพันวินาทีต่อมา (หรือเร็วกว่าคนกระพริบตาเป็นสองสามร้อยเท่า) คนจึงแพ้ตลอด เด็กชายธีธัชถามว่าถ้าเอาหุ่นยนต์แบบนี้สองตัวมาสู้กันใครจะชนะ ผมบอกว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน มันอาจจะออกเป็นค้อนตลอดก็ได้ Continue reading ดูวิดีโอเปิดโปงการหลอกลวงชาวบ้าน ดู Leidenfrost Effect คุยกันเรื่องโมเมนตัมและกฎของนิวตัน และเล่นเรือป๊อกแป๊กกัน

ทดลองเอาน้ำและน้ำมันพืชใส่เตาไมโครเวฟ และเริ่มทดลองเรื่องโมเมนตัม

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกับเด็กเรื่องโมเลกุลน้ำ แรงตึงผิว สบู่และน้ำยาล้างจาน featuring ซูเปอร์คอนดัคเตอร์” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ (กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์นติดธุระเลยไม่ได้เข้ามาครับ) วันนี้สำหรับเด็กอนุบาลเราได้ดูของเล่นที่ทำจากลูกเหล็กกลมๆและแม่เหล็กกลมๆมาเรียงกัน (เรียกว่าปืนเก๊าซ์หรือเก๊าเซี่ยนกัน Gaussian Gun) และลูกตุ้มที่เรียงกันเป็นแถว (Newton’s Cradle) ส่วนเด็กประถมเราได้วัดอุณหภูมิของน้ำและน้ำมันพืชเมื่อใส่เข้าไปในเตาไมโครเวฟว่าอะไรร้อนกว่ากัน และทำไมปรากฎการณ์นี้จึงอธิบายว่าทำไมเราดูทีวีดาวเทียมไม่ได้เมื่อฝนตกหนัก เมื่อทำการทดลองเสร็จ เราก็ได้ทดลองเล่นเจ้า Gaussian Gun และ Newton’s Cradle เป็นการเริ่มต้นการเรียนเรื่องปริมาณการเคลื่อนที่หรือที่เรียกกันว่าโมเมนตัม (Momentum) กัน นอกจากนี้เด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอคลิปเปรียบเทียบโมเมนตัมของหนังสติ๊ก (Slingshot) กับปืนสั้นประเภทต่างๆครับ

สำหรับเด็กประถม ผมพยายามทำการทดลองที่เกี่ยวของกับโมเลกุลของน้ำอีกหลังจากที่เราคุยกันเรื่องแรงขึงผิวและโมเลกุลของน้ำไปเมื่อครั้งที่แล้ว เราเริ่มด้วยการเอาน้ำและน้ำมันพืชทำอาหารใส่ถ้วยแก้วเล็กๆให้มีปริมาณประมาณเท่าๆกัน (โดยน้ำหนัก) แล้ววัดอุณหภูมิ จากนั้นก็ใส่ไปในเตาไมโครเวฟแล้วเปิดสวิทช์สัก 15 วินาทีแล้วเอามาวัดอุณหภูมิอีกที  (ก่อนจะทำการทดลอง ให้เด็กๆลองเดาว่าอะไรจะร้อนกว่ากันก่อน)

 
อุณหภูมิก่อนใส่ไปในเตาไมโครเวฟชองน้ำมันพืชและน้ำครับ
หลังจากเอาใส่ไปในเตาไมโครเวฟประมาณ 15 วินาที

เราพบว่าตอนเริ่มต้น ทั้งน้ำและน้ำมันพืชมีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส หลังจากใส่เตาไมโครเวฟไป 15 วินาที น้ำมีอุณหภูมิประมาณ 70 องศา และน้ำมันพืชมีอุณหภูมิประมาณ 45 องศา แสดงว่าน้ำมีอุณหภูมิเปลี่ยนไปเท่ากับประมาณ 70-30 = 40 องศา ขณะที่น้ำมันพืชมีอุณหภูมิเปลี่ยนไป 15 องศา หรือน้ำร้อนขึ้นกว่าน้ำมันเยอะเลย Continue reading ทดลองเอาน้ำและน้ำมันพืชใส่เตาไมโครเวฟ และเริ่มทดลองเรื่องโมเมนตัม

คุยกับเด็กเรื่องโมเลกุลน้ำ แรงตึงผิว สบู่และน้ำยาล้างจาน featuring ซูเปอร์คอนดัคเตอร์

 

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ทำไอศครีม ดูลูกบอลกระเด้ง เล่นเรือป๊อกแป๊ก ปล่อยลูกแก้วใส่เป้า” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรม กลุ่มบ้านเรียนเฟิร์น และอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เราทำการทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิวครับ โดยเด็กๆได้เข้าใจว่าแรงตึงผิวเกิดจากการดูดกันของโมเลกุลน้ำ สารเคมีบางชนิดเช่นสบู่หรือน้ำยาล้างจานจะเข้าไปจับโมเลกุลของน้ำทำให้โมเลกุลน้ำดูดกันไม่ได้ ทำให้แรงตึงผิวลดลง เราได้ทดลองลอยคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำ และหยดสีบนผิวนมให้เกิดลวดลายสวยๆเมื่อหยดน้ำสบู่ลงไป เด็กประถมได้ดูวิดีโอสเปรย์เคลือบกันน้ำและน้ำมัน นอกจากนั้นเด็กประถมปลายได้ดูวิดีโอซูเปอร์คอนดัคเตอร์ด้วย (เรื่องมันมาถึงนี่ได้เพราะเด็กๆถามว่าโมเลกุลหยุดสั่นได้ไหมถ้าเย็นมากๆ)

ผมเล่าให้ฟังก่อนว่าน้ำและสารต่างๆจะมีส่วนประกอบต่างๆกัน เจ้าส่วนประกอบเล็กๆที่เป็นสารต่างๆจะเรียกว่าโมเลกุลของสารนั้นๆ เช่นน้ำประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำ แต่ละโมเลกุลของน้ำก็ประกอบด้วยออกซิเจนหนึ่งอะตอมรวมอยู่กับไฮโดรเจนสองอะตอม เราเลยเรียก H2O (เอชทูโอ) ว่าคือน้ำ หน้าตาโมเลกุลของน้ำก็คล้ายๆมิกกี้เมาส์ที่หูเล็กๆสองข้างคืออะตอมไฮโดรเจน โมเลกุลของน้ำเล็กมาก เล็กขนาดที่ว่าในน้ำหนึ่งแก้วมีโมเลกุลน้ำมากกว่าล้านล้านล้านล้านโมเลกุล (มากกว่า 1,000,000,000,000,000,000,000,000 โมเลกุล)

ภาพจำลองโมเลกุลน้ำห้าอันอยู่ใกล้ๆกันและดูดกันจากแรงทางไฟฟ้า สีแดงคืออะตอมออกซิเจน สีขาวคืออะตอมไฮโดรเจน

Continue reading คุยกับเด็กเรื่องโมเลกุลน้ำ แรงตึงผิว สบู่และน้ำยาล้างจาน featuring ซูเปอร์คอนดัคเตอร์