วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้หัดวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มที่ยาวต่างๆกัน แล้วเราเอาข้อมูลทุกคนมารวมกันเพื่อดูกราฟความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความยาว เด็กประถมปลายได้สังเกตและเสนอคำอธิบายว่าทำไมแม่เหล็กถึง “ดูด” กระดาษที่ลอยน้ำอยู่ เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมสามอย่างครับ
(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม” ครับ)
หลังจากเด็กประถมต้นได้เรียนรู้เรื่องการแกว่งของลูกตุ้มไปบ้างในสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้เด็กๆก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆช่วยกันวัดคาบการแกว่งของลูกตุ้มความยาวต่างๆกันครับ เราใช้น็อตเหล็กเป็นลูกตุ้ม ใช้กาวดินน้ำมันติดเชือกให้ห้อยไว้กับขอบโต๊ะหรืออะไรสูงๆ วัดความยาวลูกตุ้มจากจุดที่เชือกถูกห้อยไ้ว้จนถึงกึ่งกลางน็อต จับเวลาที่ลูกตุ้มแกว่งสิบรอบแล้วหารด้วยสิบเพื่อให้ได้เวลาการแกว่งหนึ่งรอบ
Continue reading หัดวัดคาบการแกว่งลูกตุ้ม “แม่เหล็กดูดกระดาษ” เคลื่อนที่เป็นวงกลม →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้ม ได้สังเกตว่าปล่อยลูกตุ้มที่มุมต่างๆกันมีคาบการแกว่งเหมือนกันหรือไม่ สังเกตการหยุดของลูกตุ้มอันเกิดจากแรงต้านอากาศ และทำอย่างไรให้ผลของแรงต้านอากาศน้อยลง สังเกตคาบของการแกว่งเมื่อเทียบกับความยาวลูกตุ้ม สังเกตว่าคาบเพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อความยาวเพิ่มขึ้นสี่เท่า เด็กประถมปลายได้เอาขวดพลาสติกมาติดวาล์วที่ทำจากเทปกาวเพื่อเป็นปั๊มน้ำง่ายๆครับ เด็กอนุบาลสามทับหนึ่งได้เล่นของเล่นจากหลักการแรงสู่ศูนย์กลางสำหรับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมสามชนิดครับ
(อัลบั้มภาพกิจกรรมอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสำหรับประถม สมดุลสำหรับอนุบาล” ครับ)
สำหรับเด็กประถมต้น ผมให้สังเกตการแกว่งของลูกตุ้มครับ ผมเอาเชือกเส้นเล็กๆมาใส่ลูกตุ้มดินน้ำมันเล็กๆให้ความยาวเชือกถึงกลางลูกตุ้มยาว 50 เซ็นติเมตร จับลูกตุ้มยกขึ้นแล้วปล่อยให้มันแกว่ง มันแกว่งน้อยลงเรื่อยๆได้สัก 20-23 รอบก็หยุดแกว่ง ผมถามเด็กๆสองคำถามว่า ทำไมมันถึงแกว่ง และทำไมมันถึงหยุดแกว่ง Continue reading การแกว่งของลูกตุ้ม ปั๊มน้ำขวดพลาสติก เคลื่อนที่เป็นวงกลม →
วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ลองวิ่งเป็นวงกลมเล็กและวงกลมใหญ่ ให้สังเกตว่าวิ่งแบบไหนลื่นง่ายกว่ากัน เด็กประถมทั้งต้นและปลายได้ทดลองกับอุปกรณ์หลายอย่างเพื่อเข้าใจว่าการเคลื่อนที่เป็นวงกลมต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางทำให้เป็นวงกลม ไม่งั้นจะวิ่งเป็นเส้นตรง เด็กอนุบาลสามได้ทดลองเกี่ยวกับสมดุลและการทรงตัวครับ
(อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่องจรวด ทำจรวดลูกโป่ง สมดุลสำหรับเด็กอนุบาล” ครับ)
สำหรับเด็กประถม ผมแสดงกลวิทยาศาสตร์นี้ก่อนครับ:
ถ้าใครไม่เคยเห็นกลนี้ จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากเลยครับว่าทำไมเหรียญถึงไม่ตกลงมาเวลาเราแกว่งไม้แขวนเสื้อ มันเป็นเรื่องเดียวกันกับแรงโน้มถ่วงเทียมที่เราเคยคุยกันไปแล้วที่นี่ และได้ทำการทดลองแบบคลิปนี้ครับ:
Continue reading การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสำหรับประถม สมดุลสำหรับอนุบาล →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)