Category Archives: science

การวิวัฒนาการของตา กล้องรูเข็ม กลจากไฟฟ้าสถิต

เมื่อวันอังคารผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอเครื่องพับผ้า เด็กประถมปลายได้ทายว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าใส่ไนโตรเจนเหลวเข้าไปในลูกโป่ง เลยต่อเนื่องได้ดูวิดีโอ Leidenfrost Maze เด็กประถมทั้งหมดได้ดูวิดีโอการวิวัฒนาการของตาและได้ทดลองเล่นกล้องรูเข็ม ที่คล้ายกับตาของสัตว์บางชนิด เด็กอนุบาลสามทับสองได้หัดเล่นกลจากไฟฟ้าสถิตสามอย่างคือใช้มือดูดหลอดกาแฟ ใช้หลอดกาแฟดูดเม็ดโฟม และใช้หลอดกาแฟผลักหลอดกาแฟ 

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ภาพขาวดำกลายเป็นสี! แบบจำลองตา ตัวอย่างประโยชน์คณิต กลไฟฟ้าสถิต” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้นผมเล่าข่าวเรื่องการเพาะปลูกที่ใช้พื้นที่และน้ำน้อยโดยการปลูกเป็นชั้นๆในตึก ควบคุมแสง และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้ต้นไม้เติบโตเร็วครับ เป็นการเพิ่มผลผลิตเกษตรกรรมที่น่าสนใจครับ ถ้าสนใจอ่านที่ลิงก์นี้นะครับ

เด็กประถมต้นได้ดูโฆษณาเครื่องมือพับผ้าด้วยครับ อยากปลูกฝังไอเดียให้เด็กๆอยากประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือช่วยผ่อนแรงต่างๆครับ:

https://www.youtube.com/watch?v=6hcjpRstdvs

ต่อจากนั้นเด็กๆก็ได้ดูคลิปอธิบายการวิวัฒนาการของตา จากเซลล์ที่รับแสงได้อยู่บนผิวแบนๆรู้แต่ว่ามืดและสว่าง กลายเป็นเซลล์รับแสงอยู่ในรอยบุ๋มลงไปที่รับรู้ทิศทางของแสง จนกระทั้งเป็นตาแบบกล้องรูเข็มและตาที่มีเลนส์อยู่ด้านหน้าแบบตาพวกเราที่สามารถมองเห็นภาพได้ครับ: Continue reading การวิวัฒนาการของตา กล้องรูเข็ม กลจากไฟฟ้าสถิต

สอนวิทย์มัธยม 1: การเปรียบเทียบ การแปลงหน่วย การประมาณหยาบๆ (Order of Magnitude Estimate)

สัปดาห์นี้ผมคุยกับเด็กๆม. 1 กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจปริมาณต่างๆครับ

ตอนเราเริ่ม เรามีกิจกรรมหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตครับ สิ่งทีเราได้รู้จากกิจกรรมคือ 

  1. วัตถุขนาดที่เรามองเห็นที่วิ่งเร็วที่สุดที่มนุษย์สร้างคือยานอวกาศ Juno ตอนเข้าใกล้ดาวพฤหัส มีความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อวินาทีครับ หรือมากกว่า 1/10,000 ความเร็วแสงนิดหน่อย (แสงวิ่งเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที)  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วนี้ไปยังดาวที่ใกล้สุดจะใช้เวลาประมาณ 30,000 ปีครับ
  2. เพื่อเปรียบเทียบความเร็วนี้ เราพบว่ากระสุนปืนมีความเร็วประมาณ 1-3 เท่าความเร็วเสียง ถ้าปืนสั้นก็ช้าหน่อย ปืนยาวไรเฟิลก็เร็วหน่อย
  3. เสียงมีความเร็วประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศ หรือวิ่ง 1 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 3 วินาที
  4. ยาน Juno วิ่งเร็วกว่ากระสุนปืนไรเฟิลประมาณ 40 เท่า
  5. แสงมีความเร็วเป็นประมาณล้านเท่าความเร็วเสียง เวลาฟ้าแลบแล้วเราจับเวลาว่ากี่วินาทีก่อนจะได้ยินฟ้าร้อง เราก็สามารถประมาณได้ว่าจุดที่เกิดฟ้าแลบฟ้าร้องห่างออกไปเท่ากับ 340 เมตรต่อวินาทีที่เรานับ
  6. เราได้ดูวิดีโอกระสุนวิ่งไปหาเป้าที่ห่างไป 800 เมตรครับ:

Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: การเปรียบเทียบ การแปลงหน่วย การประมาณหยาบๆ (Order of Magnitude Estimate)

ภาพขาวดำกลายเป็นสี! แบบจำลองตา ตัวอย่างประโยชน์คณิต กลไฟฟ้าสถิต

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาครับ เด็กประถมได้ดูภาพลวงตาอีกนิดหน่อย ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงวิดีโอสดๆให้คนในวิดีโอขยับปากตามที่เราต้องการ (ผมบอกเด็กๆว่าต้องใช้คณิตศาสตร์สร้างของอย่างนี้ เด็กๆสนใจฝีกอีกสักสิบปีก็ทำได้) ได้เห็นภาพลวงตาที่เราเห็นภาพขาวดำเป็นภาพสีเนื่องจากความล้าของเซลล์รับแสงในตาเรา ได้เห็นแบบจำลองดวงตาและจอรับภาพเรตินาข้างหลังที่ทำจากโคมกระดาษญี่ปุ่น เลนส์รวมแสงแบบ Fresnel และพลาสติกจากถุงก๊อบแก๊บ เด็กอนุบาลสามได้เล่นกลสามอย่างด้วยไฟฟ้าสถิตคือใช้มือดูดหลอดกาแฟ ใช้หลอดกาแฟดูดเม็ดโฟม และใช้หลอดดูดกาแฟผลักกันครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ข้อจำกัดของประสาทสัมผัสสำหรับประถม กลความดันอากาศสำหรับอนุบาล” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมให้ดูภาพนี้ก่อนเลยครับ มันเป็นภาพถ่ายลวงตาที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต ให้ดูว่ามีอะไรผิดปกติไหม ผมบอกว่าคนส่วนใหญ่จะรู้สึกแปลกๆแต่มองไม่ออกว่าอะไรทำให้แปลก แต่ถ้าเฉลยปุ๊บจะเห็นปั๊บ แล้วจะกลับไปมองเห็นอย่างเดิมไม่ได้เลย จะเห็นแบบที่เฉลยไปตลอด เชิญทดลองมองดูครับ ผมจะเฉลยข้างล่างภาพ:

เห็นอะไรผิดปกติไหมครับ
เห็นอะไรผิดปกติไหมครับ

Continue reading ภาพขาวดำกลายเป็นสี! แบบจำลองตา ตัวอย่างประโยชน์คณิต กลไฟฟ้าสถิต