Category Archives: science

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 8, จำลองของตกลงสู่หลุมดำ

วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 8 กันครับ วันนี้เรื่องดาวฤกษ์ประเภทต่างๆ พอดูเสร็จเราก็ปล่อยลูกเปตองในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวยเพื่อจินตนาการถึงของที่ตกลงสู่หลุมดำจะวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆชนกันไปมาจนร้อนมากๆเปล่งแสงเอ็กซ์เรย์กันครับ

เด็กๆควรอ่านเรื่องดาวฤกษ์เป็นความรู้รอบตัวจากเว็บของ NASA ที่นี่ครับ 

รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ เป็นภาษาไทยที่นี่ หรือถ้าไม่อยากอ่านแต่อยากดูคลิปลองดูที่นี่ครับ:

การเกิดและตายของดาวฤกษ์ครับ:

ประวัตินิดหน่อยว่าทำไมถึงแจกแจงดาวฤกษ์เป็น OBAFGKM  (จำง่ายๆว่า Oh, Be A Fine Guy(Girl), Kiss Me.):

O จะเป็นพวกร้อนสุด พวก M จะเป็นพวกเย็นสุด ถ้าอยากรู้ประวัติ H-R Diagram (Hertzsprung-Russell Diagram) ที่อยู่ในวิดีโอกดดูที่นี่นะครับ

 มีดาวขนาดใหญ่มากๆด้วยครับ:

อันนี้ความรู้รอบตัวว่าทำไมเราถึงเห็นดาวเป็นแฉกๆทั้งๆที่ดวงดาวจริงๆเป็นทรงกลมครับ:

เนื่องจากใน Cosmos มีการพูดถึงของตกลงไปในหลุมดำด้วย เราเลยหาเรื่องเล่น เอาลูกเปตองมากลิ้งในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวย ให้เห็นว่าเวลาของที่โคจรหลุมดำวิ่งเข้าไปใกล้ๆ มันจะมีความเร็วสูงขึ้น และเมื่อของเหล่านั้นชนกันจะเกิดความร้อนเปล่งแสงเป็นเอ็กซ์เรย์ได้ เราเอากล้องถ่ายการเคลื่อนที่ของลูกเปตองใส่ไปในโปรแกรม Tracker เพื่อวัดตำแหน่งของมันด้วยครับ เด็กๆเล่นกันโดยหาทางทำให้ลูกเปตองโคจรอยู่นานที่สุดด้วยวิธีต่างๆกันครับ

ถ้าไม่เคยใช้โปรแกรม Tracker ลองไปดูคลิปและลิงก์ที่วิดีโอนี้นะครับ:

 

 

แรงลอยตัว, Chromatography, ลูกปิงปองยกลูกเทนนิส

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้หัดอธิบายมายากล (ฝึกคิดแบบวิทยาศาสตร์) ประถมต้นได้ทำกิจกรรมรู้จักกับแรงลอยตัว ประถมปลายได้เล่นแยกส่วนประกอบสีเมจิกด้วยวิธี Chromatography เด็กอนุบาลสามได้เล่นของเล่นลูกปิงปองยกลูกเทนนิสด้วยการเหวี่ยงเป็นวงกลม

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมต่างๆอยู่ที่นี่นะครับ กิจกรรมประถมคราวที่แล้วเรื่อง “ทำยังไงให้เห็นอากาศ การเคลื่อนที่เป็นวงกลมต้องมีแรงสู่ศูนย์กลาง” ครับ รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

เด็กประถมได้ดูมายากลอันนี้ครับ ผู้หญิงเข้าไปในกล่องแล้วดูเหมือนหายไป เด็กๆดูเฉพาะส่วนมายากลก่อน ยังไม่ดูเฉลยครับ:

https://youtu.be/bC0DmsVocsg

ให้เด็กๆคิดและเสนอคำอธิบายว่ากลนี้ทำได้อย่างไร ให้หัดสังเกต ตั้งสมมุติฐานและตรวจสอบว่าสมมุติฐานเข้ากันได้กับข้อสังเกตต่างๆไหม สมมุติฐานไหนขัดกับข้อสังเกตและต้องล้มไป เป็นการหัดคิดแบบวิทยาศาสตร์ครับ หลังจากเด็กๆคิดกันสักพักก็ดูเฉลยกันครับ

ต่อจากนั้นเด็กประถมต้นได้ทำกิจกรรมเพื่อเริ่มเข้าใจเรื่องแรงลอยตัว ถามเด็กๆว่าเด็กๆเคยลงไปในน้ำไหม สามารถลอยตัวด้วยท่าปลาดาวหรือแมงกระพรุนไหม 

ตัวอย่างการลอยตัวแบบปลาดาวครับ: 

https://www.youtube.com/watch?v=K1p19ZmNNuU

ถามเด็กๆว่าทำไมคนถึงลอยอยู่ได้ และถ้าจะจมจะต้องเป็นอย่างไร สักพักเด็กๆก็เข้าใจว่าในปอดและกระเพาะมีอากาศช่วยให้ลอย ถ้าน้ำเข้าปอดเข้ากระเพาะก็จะจม เราทดลองแบบจำลองด้วยขวดแก้วปิดและเปิดให้น้ำเข้าไปเพื่อเปรียบเทียบการลอยและจม:

ต่อจากนั้นเด็กๆก็ผลัดกันกดขวดพลาสติกขนาดใหญ่ปิดฝา เปรียบเทียบกับขนาดเล็กปิดฝา ว่าแบบไหนกดให้จมน้ำยากกว่ากัน เด็กๆก็เข้าใจว่าขนาดขวดที่จมในน้ำมีผลว่าจมยากจมง่ายแค่ไหน:

จากนั้นเด็กๆก็ลองเปรียบเทียบขวดขนาดใหญ่เท่ากัน ปิดฝาทั้งคู่ แต่ขวดหนึ่งใส่น้ำไว้ครึ่งขวด อีกขวดมีแต่อากาศ  เด็กๆเดาถูกว่าขวดที่มีแต่อากาศน่าจะกดให้จมได้ยากกว่า แล้วก็ลองทดลองกดจริงๆ:

สำหรับเด็กประถมต้น เราจะทำการทดลองเกี่ยวกับแรงลอยตัวต่อไปอีกในอนาคตครับ วันนี้เป็นการเริ่มเล่นให้คุ้นเคยก่อน

สำหรับเด็กประถมปลาย วันนี้ผมให้เล่น Chromatography (โครมาโตกราฟี) แบบที่เราเล่นกันเรียกว่าโครมาโตกราฟีแบบกระดาษ วิธีก็คือเอากระดาษกรอง (เช่นกระดาษกรองสำหรับชงกาแฟ) มาแต้มด้วยสี แล้วเอาปลายด้านหนึ่งจุ่มน้ำ (อย่าให้ท่วมจุดสีที่แต้ม) แล้วรอให้น้ำซึมขึ้นมาบนกระดาษและพาส่วนประกอบต่างๆของจุดสีวิ่งตามมาด้วย ส่วนประกอบต่างๆวิ่งช้าเร็วไม่เท่ากันเลยเห็นมันแยกออกจากกันครับ ถ้าสีไม่ละลายน้ำมันก็จะไม่ซึมไปตามกระดาษกรอง ต้องหาสารละลายอื่นที่ละลายสีได้มาใช้แทนน้ำ เทคนิคโครมาโตกราฟีนี้ใช้แยกสารที่ผสมกันอยู่ให้รู้ว่ามีอะไรบ้าง แต่วันนี้เด็กๆตื่นเต้นกับการทำให้มีลวดลายสวยๆกันมากกว่า ซึ่งก็ดีแล้วครับ กิจกรรมต้องสนุกก่อนถึงจะมีหวังว่าเด็กๆจะอยากรู้เพิ่มเติม

ตัวอย่างสีที่เด็กๆทำเป็นรุ้งเลยครับ:

สำหรับเด็กอนุบาล 3/1 เด็กๆได้เล่นใช้ของเบายกของหนักด้วยการเคลื่อนที่เป็นวงกลมครับ ถ้าเป็นทฤษฎีก็คือถ้าของจะเคลื่อนที่เป็นวงกลม มันต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางดึงมัน ถ้าเราใช้เชือกผูกของที่แกว่งเป็นวงกลม แรงตึงในเชือกก็สามารถเอาไปยกของได้ครับ แต่สำหรับเด็กๆเราไม่ได้คุยกันเรื่องทฤษฎีอะไร แค่บอกวิธีประดิษฐ์ของเล่นเพื่อให้ไปลองทำและเล่นดูดันนี้ครับ:

ผมเคยบันทึกไว้ในช่องเด็กจิ๋ว & ดร.โก้โดยใช้ยางลบและลูกเทนนิสด้วยครับ:

เด็กๆสนุกสนานกับการเหวี่ยงและหมุนกันใหญ่ครับ:

 

วิทย์ม.ต้น: ดูคลิปหุ่นยนต์ดิสนีย์, เขียนโปรแกรม Scratch กันต่อ + Scratch Offline Editor

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้ดูคลิปหุ่นยนต์ที่บริษัทดิสนีย์ประดิษฐ์เพื่อไปใช้ในสวนสนุกของเขาครับ มีแบบขยับหน้าได้แนบเนียนเหมือนมีชีวิตสำหรับเรื่อง Avatar:

 และมีหุ่นยนต์สตันต์แมนชื่อ Stuntronics ที่แสดงบทผาดโผนแทนคน:

รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Disney Imagineering has created autonomous robot stunt doubles นะครับ

หลังจากนั้นเด็กๆก็นั่งเขียนโปรแกรม Scratch กันต่อ ก็ติดบั๊กเล็กๆน้อยๆมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ผมสอนวิธีดีบักแบบให้เปรียบเทียบว่าพฤติกรรมของโปรแกรมเกิดจากส่วนไหนของโปรแกรม และส่วนนั้นๆทำงานอย่างที่เราคิดว่ามันควรจะทำหรือไม่ และบอกเคล็ดลับเด็กๆว่าคนที่เขียนโปรแกรมเก่งๆนั้นเขาจะสามารถนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆและนั่งคิดต่อเนื่องเกี่ยวกับโปรแกรมได้นานๆทั้งนั้น

ผมแนะนำให้เด็กๆได้รู้จัก Scratch Offline Editor ที่ทำให้สามารถนั่งเขียนโปรแกรม Scratch ได้โดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต และไม่ติดปัญหาเวลาเขียนโปรแกรมใหญ่ๆแล้ว save ได้มั่งไม่ได้มั่งครับ

ลองเข้าไปดูงานที่เด็กๆกำลังทำกันได้ครับ สามารถกด  See Inside เพื่อดูว่าข้างในมีโปรแกรมหน้าตาอย่างไรถึงทำงานได้อย่างที่เห็น แต่งานบางคนก็ยังไม่ได้เปิดให้ดูเป็นสาธารณะนะครับ:

Titus: https://scratch.mit.edu/users/StzzSmarauder/
Boongie: https://scratch.mit.edu/users/Blue_BG/
Poon: https://scratch.mit.edu/users/poonpoon23/
Pun: https://scratch.mit.edu/users/naragin/
Jung: https://scratch.mit.edu/users/jungie/
Chunly: https://scratch.mit.edu/users/chanyachun/
Tatia: https://scratch.mit.edu/users/wonderTS/
Pitchee: https://scratch.mit.edu/users/Pitchee/
Tangmo: https://scratch.mit.edu/users/pigbompp/