ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอส เรื่องนาฬิกาชีวิตประจำวัน เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ
สรุปคือ:
ร่างกายของเราทำงานเป็นวงจรรอบละประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian rhythm ) ระดับสารเคมีเช่นฮอร์โมนต่างๆ อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเผาผลาญและการย่อยอาหาร ความสามารถในการคิดและสมาธิ ความง่วงและการนอน จะเปลี่ยนไปตามเวลาระหว่างวัน เปรียบเสมือนร่างกายเรามีนาฬิกาอยู่ภายใน สิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก สัตว์ พืช หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวก็แสดงการทำงานเป็นวงจร 24 ชั่วโมง เป็นการปรับตัวด้วยการวิวัฒนาการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมกลางวันกลางคืนบนโลก มีนักวิจัยได้รางวัลโนเบล เรื่องนาฬิกาในร่างกายประเภทนี้ด้วย ในร่างกายของเรา การทำงานเป็นวงจรนี้มีอยู่ตั้งแต่ในระดับเซลล์แต่ละเซลล์และระดับอวัยวะของเรา สมองส่วน SCN จะส่งสัญญาณบอกให้ร่างกายส่วนต่างๆทำงานไปด้วยกัน สมองส่วน SCN “รู้ว่าเช้าแล้ว” โดยสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ในตา ที่มีความไวต่อแสงสีฟ้า และ”รู้ว่ามืดแล้ว” เมื่อเซลล์ในตารับแสงน้อยลง คน (และสัตว์ทดลอง) ที่ดำรงชีวิตแตกต่างไปจากวงจรนาฬิกาของร่างกายประจำวันติดต่อกันเป็นเวลานานๆมักจะป่วยหรืออ่อนแอลง เช่นการนอนไม่เป็นเวลา นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารทั้งวัน มักจะทำให้รู้สึกเหนื่อย รู้สึกพักผ่อนไม่พอ ง่วงบ่อย น้ำหนักขึ้น ป่วยง่าย และอาจเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ รวมไปถึงโรคทางหลอดเลือดและหัวใจ สมองเสื่อม สิ่งที่เราน่าจะทำได้ให้เข้ากับนาฬิกาชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นก็คือนอนให้เป็นเวลา นอนให้นานพอประมาณ 7-8 ชั่วโมง เดินกลางแจ้งรับแสงแดดบ้างวันละสัก 10-30 นาที เดินและขยับตัวบ่อยๆ ทานอาหารทุกมื้อในช่วงเวลา 10 ชั่วโมง (เช่นถ้าทานอาหารมื้อแรกตอน 6 โมงเช้าก็ควรทานมื้อสุดท้ายภายในเวลา 16:00, ถ้าทานมื้อแรกตอน 9 โมงเช้าก็ควรทานมื้อสุดท้ายภายใน 19:00 เป็นต้น) อาหารมื้อสุดท้ายควรห่างจากเวลานอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
ลิงก์ที่น่าสนใจ:
รางวัลโนเบลเรื่องกลไก circadian rhythm
Center for Circadian Biology at UCSD
Lamia Lab, Scripps Institute
Regulatory Biology Laboratory, Salk Institute
myCircadianClock app
VIDEO
VIDEO
ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอส เรื่อง AI กับ Covid-19 เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ
สรุปคือ:
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมที่ทำงานโดยการเรียนรู้จากข้อมูลตัวอย่างแล้วให้คำตอบออกมา ต่างกับโปรแกรมทั่วไปที่โปรแกรมเมอร์จะเป็นคนกำหนดรายละเอียดทุกขั้นตอนว่าจะให้ตอบอย่างไร แต่ AI จะถูกกำหนดว่าจะเรียนรู้จากข้อมูลอย่างไรเท่านั้น ข้อสรุปที่ AI ตัดสินจะออกมาจากข้อมูลและวิธีเรียนรู้ ไม่ได้มาจากข้อสรุปของโปรแกรมเมอร์ ข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดมีมากมายมหาศาล ตั้งแต่ข้อมูลจำนวนคนไข้ประเภทต่างๆ, ข้อมูลข่าวและโซเชียลมีเดีย, ข้อมูลการเดินทาง, ข้อมูลงานวิจัย, ข้อมูลทางเคมีของยา, ข้อมูลทางพันธุกรรมและโปรตีนของไวรัส ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้สามารถเอาไปใช้สอน AI แบบต่างๆ ให้มันช่วยคิดช่วยสรุปช่วยตัดสินให้มนุษย์ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ก็เช่น การทำนายการเกิดโรคระบาดใหม่, ระบบคัดกรองผู้ป่วยจากอาการและการเดินทาง, การวินิจฉัยจากภาพ CT ทรวงอก, การเสนอยาที่ใช้รักษาโรคอื่นอยู่แล้วมาทดลองกับ Covid-19, การสรุปแนวโน้มงานวิจัยต่างๆ ฯลฯ ในอนาคต เมื่อเรามีเซนเซอร์ด้านสุขภาพติดตัวมากขึ้น ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ก็น่าจะสามารถถูกไปใช้ในการทำนาย แนะนำ และรักษาโรคต่างๆและโรคระบาดใหม่ๆได้ดีขึ้นอีก
ตัวอย่างลิงก์ที่น่าสนใจ:
บริษัท Blue Dot ที่ตรวจสอบการเกิดโรคระบาด
สรุปแนวโน้มงานวิจัยด้วย NLP ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของ AI
ปัญหาที่เชิญชวนนักวิจัยด้าน AI มาแก้ที่ Kaggle
ตัวอย่างข่าวการใช้ AI ดูภาพ CT ทรวงอกเพื่อวินิจฉัย 1 , 2
ข่าวเรื่องการใช้ AI แนะนำว่ายาอะไรน่าเอามาทดลองสู้กับ Covid-19
Conference จากมหาวิทยาลัย Standford เกี่ยวกับ Covid-19 และ AI:
VIDEO
ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอส เรื่องกิจกรรมทำง่ายๆแก้เบื่อที่บ้าน เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ
ลิงก์ที่อ้างอิงครับ
การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว: เก็บเหรียญในจานใส่น้ำโรยพริกไทย , นมหลากสี , ตะแกรงกันน้ำหก ท่อกระดาษทรงพลัง กลตั้งไข่ , อธิบายไว้ที่นี่ ครับกล้องจุลทรรศน์มือถือ, อธิบายไว้ที่นี่ ครับ การทดลองเกี่ยวกับน้ำแปดอย่าง ช่องยูทูบเด็กจิ๋วดร.โก้ หนังสืออ่านฟรีเกี่ยวกับดาราศาสตร์ภาษาไทย แหล่งเรียนภาษาอังกฤษ และอีกแหล่ง ครับ
Posts navigation
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)