Category Archives: General Science Info

ลิงก์เรื่องเอลนีโญ (El Niño), ลานีญา (La Niña)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องปรากฎการณ์เอลนีโญ และลานีญา เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ:

  1. ในมหาสมุทรแปซิฟิกแถวๆเส้นศูนย์สูตรระหว่างออสเตรเลียกับอเมริกาใต้ตอนเหนือ ปกติจะมีลมพัดจากทิศตะวันออกมายังทิศตะวันตก ลมนี้เรียกว่า Trade Wind หรือลมสินค้า ผลคือพาความชื้นมาทำให้ฝนตกแถบออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และน้ำแถบอเมริกาใต้ตอนเหนือมีอุณหภูมิต่ำมีปลาให้จับเป็นปกติ
  2. เมื่อลมนี้อ่อนตัวลง ฝนจะมาไม่ถึงฝั่งเอเชีย ทำให้น้ำแล้งกว่าปกติ ส่วนฝั่งอเมริกาใต้จะมีฝนตกมากขึ้นอาจมีน้ำท่วม และน้ำทะเลอุ่นกว่าปกติทำให้จับปลาได้น้อยลง เหตุการณ์นี้เรียกว่าเอลนีโญ
  3. เมื่อลมนี้แรงกว่าปกติ จะพาความชื้นฝั่งเอเชียมาก ทำให้ฝนตกมากอาจมีน้ำท่วม ส่วนฝั่งอเมริกาใต้จะแห้งแล้งกว่าปกติ น้ำเย็นขึ้นมีปลามากขึ้น ปรากฎการณ์นี้เรียกว่าลานีญา
  4. ปรากฎการณ์นี้เกิดเป็นระยะๆทุกๆ 2-7 ปี แต่ละครั้งมีอยู่นาน 9 เดือนถึง 2 ปี มีหลักฐานว่ามีมาเป็นพันปีแล้ว
  5. ยังไม่แน่ใจว่าภาวะโลกร้อนทำให้เอลนีโญ/ลานีญาเกิดบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้นหรือเปล่า

ลิงก์เผื่อมีประโยชน์ครับ:

กระแสน้ำในมหาสมุทรเกิดได้อย่างไร:

คลิปเอลนิโญจาก National Geographic:

ENSO: El Niño-Southern Oscillation:

คลิปภาษาไทยครับ:

ลิงก์เรื่องมนุษย์เคยไปดวงจันทร์(หรือเปล่า? )

ครบรอบ 50 ปีมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก ก็มีเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดมาแพร่ความเชื่อผิดๆว่ามนุษย์ไม่เคยไปเหยียบดวงจันทร์อีกแล้วครับ วันนี้ผมจึงบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องว่าทำไมเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดเขาเข้าใจผิด มนุษย์เคยไปดวงจันทร์แล้วจริงๆ เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ:

  1. มนุษย์เคยไปดวงจันทร์จริงๆ
  2. มนุษย์เคยเก็บหินดวงจันทร์มาโลก
  3. มนุษย์ทิ้งอุปกรณ์วิทย์หลายอย่างไว้บนดวงจันทร์ มีกระจก (retroreflectors) ที่หอดูดาวสามารถยิงเลเซอร์ไปที่ดวงจันทร์แล้วรอไม่ถึงสามวินาทีเพื่อดูแสงที่สะท้อนกลับมา
  4. ความเข้าใจผิดเรื่องบรรยากาศบนดวงจันทร์ (สุญญากาศ ไม่มีลม ไม่มีสายน้ำ), เรื่อง perspective, เรื่องธรรมชาติของฝุ่นและหินบนดวงจันทร์, และเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้นักทฤษฎีสมคบคิดตีความภาพและวิดีโอต่างๆผิด
  5. ยานสำรวจจากหลายๆชาติเห็นร่องรอยหลักฐานการลงจอดและสำรวจบนผิวดวงจันทร์

ลิงก์ภาษาไทยเรื่องนี้ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข้อมูล ภาพถ่าย บันทึกจากการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ทุกครั้ง (Apollo Lunar Surface Journal)

ข้อโต้แย้งโดยนักดาราศาสตร์ Phil Plait ต่อรายการทีวีที่แพร่ความคิดว่าคนไม่เคยไปดวงจันทร์

ปล่อยค้อนกับขนนกพร้อมๆกันบนดวงจันทร์ ตกถึงพื้นพร้อมๆกันเพราะไม่มีแรงต้านอากาศ:

ฝุ่นที่กระเด็นจากล้อรถบนดวงจันทร์ตกลงพื้นต่างจากโลกเพราะบนดวงจันทร์ไม่มีอากาศคอยต้านฝุ่นขนาดต่างๆครับ:

สัมภาษณ์คุณนีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ครับ:

สัมภาษณ์คุณไมเคิล คอลลินส์ ผู้ขับยาน Apollo 11 Command Module รอรับนีล อาร์มสตรองและบัซ อัลดรินที่ไปเดินบนดวงจันทร์ครับ:

กระจกที่มนุษย์อวกาศทิ้งไว้บนดวงจันทร์เพื่อใช้แสงสะท้อนวัดระยะระหว่างโลกและดวงจันทร์ครับ:

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยผู้สูงอายุเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. อุปกรณ์ติดตัว (Wearables) เช่น Apple Watch และ Smart Watch อื่นๆหรือแถบรัดหน้าอก เริ่มสามารถตรวจับการล้ม ความเร็วหรือจังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือแม้แต่คลื่นหัวใจผิดปกติ แล้วแจ้งเตือน หรือแจ้งผู้ช่วยเหลือได้
  2. มีโปรแกรมติดในโทรศัพท์เพื่อเตือนกำหนดการกินยา ตรวจจับการล้มได้
  3. อุปกรณ์สมาร์ทโฮมเช่น กล้อง หรือเครื่องตรวจจับควันที่สามารถส่งข้อมูลไปโทรศัพท์ได้ มีประโยชน์
  4. มีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณ GPS และประวัติการเคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุหลงลืม
  5. มีบริษัทที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นวิทยุแบบเรดาร์ตรวจจับตำแหน่ง การเคลื่อนไหว ลมหายใจ และการเต้นของหัวใจของผู้คนในบ้านโดยไม่ต้องใส่อุปกรณ์ติดตัว

ตัวอย่างการใช้ Apple Watch ตรวจจับการล้ม:

ตัวอย่างการใช้ Apple Watch ตรวจการทำงานของหัวใจ:

ตัวอย่างตรวจคลื่นหัวใจด้วย Apple Watch (ยังไม่ได้เปิดใช้ในทุกประเทศ ตอนนี้ประเทศไทยยังไม่เปิด):

เครื่องตรวจจับควันทำงานอย่างไร

ตัวอย่างเครื่องตรวจจับควันต่อ Wifi:

ลิงก์บริษัท Emerald ที่ตรวจจับผู้คนด้วยคลื่นวิทยุครับ

วิดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยีบริษัทเขา: