เล่มนี้ชื่อ “เอาตัวรอดด้วย ทฤษฏีเกม” เขียนโดยคุณ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ ครับ เก๊าเพื่อนผมบอกว่าเป็นเรื่องที่เด็กนักเรียน (และผู้ใหญ่) ทุกคนควรเรียนรู้ เพราะมีประโยชน์มากในการตัดสินใจในชีวิต ซึ่งผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ อ่านง่าย และราคาไม่แพง คุ้มมากครับ ผมซื้อ 3 เล่มแล้วแจกไป 2 แล้ว
สารบัญครับ:
กำเนิดทฤษฎีเกม…..๑๑
๑. เกม…..๑๕
๒. กลยุทธ์เด่น…..๒๗
๓. ความลำบากใจของจำเลย…..๓๘
๔. จุดสมดุลของแนช…..๕๐
๕. เกมปอดแหก…..๖๒
๖. เกมแห่งความร่วมใจ…..๗๐
๗. สุ่มกลยุทธ์…..๗๖
๘. ความน่าเชื่อถือ…..๘๒
๙. การต่อรอง…..๙๒
๑๐. เกมกับค่าจ้าง…..๑๐๖
๑๑. เกมกับธุรกิจ…..๑๑๘
๑๒. เกมกับตลาดหุ้น…..๑๒๗
บทส่งท้าย….๑๔๑
— – —- – —– ———
ผมคิดว่า บท “ความลำบากใจของจำเลย” (Prisoners’ Dilemma) เป็นตัวอย่างสำคัญว่ามนุษย์จะทำให้กฏแห่งกรรมทำงาน และทำให้สังคมน่าอยู่ได้อย่างไรโดยไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยครับ
เฉลยที่นี่
(เฉลยสั้นๆว่าตัวต่อไปให้อ่านตัวปัจจุบันดังๆว่ามีเลขอะไรกี่ตัวครับ เช่นตัวปัจจุบันคือ 1 ตัวต่อไปก็อ่านว่า หนึ่งหนึ่ง (มีหนึ่งหนี่งตัว) เขียนว่า 11
ตัวต่อไปอ่านว่า สองหนึ่ง (มีหนึ่งสองตัว) เขียนว่า 21
ตัวต่อไปอ่านว่า หนึ่งสองหนึ่งหนึ่ง (มีเลขสองหนึ่งตัว ตามด้วยเลขหนึ่งหนึ่งตัว) เขียนว่า 1211ตัวต่อไปอ่านว่า หนึ่งหนึ่ง หนึ่งสอง สองหนึ่ง (มีเลขหนึ่งหนึ่งตัว ตามด้วยเลขสองหนึ่งตัว ตามด้วยเลขหนึ่งสองตัว))
ผมสงสัยว่าจำนวนหลัก (หน่วย สิบ ร้อย พัน …) ในพจน์ที่ N จะใหญ่ประมาณ 1.324N นั่นก็คือพจน์ที่ N จะยาวขึ้นเร็วมากๆๆๆ
ถ้าคุณอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับธาตุต่างๆ คุณต้องไปดูที่ The Elements คุณจะเห็นรูป ประวัติ วิธีผลิต ตัวอย่างการใช้งาน ข้อมูลเกี่ยวข้อง การแปรธาตุ และอื่นๆ
ผู้สร้างคือ Theodore Gray ซี่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่สร้าง Mathematica เขาบอกคร่าวๆว่าเขาใช้ Mathematica อย่างไรในการผลิตเว็บอันนี้ที่นี่
ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณจะผลิตไฮโดรเจนคุณก็สามารถดูวิธีทำได้ที่นี่ หรือที่หน้านี้คุณจะได้รู้ว่าคุณไม่สามารถถ่ายรูปไอของไอโอดีนบนพื้นหลังสีดำได้เนื่องจากไอจะไม่สะท้อนแสง
This is another resource for my homeschooling project.
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)