Category Archives: science class

วิทย์ประถม: เล่นนกสมดุลและค้อนสมดุล

วันนี้ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล เด็กประถมต้นทำของเล่นนกสมดุล เด็กประถมปลายทำค้อนสมดุลและสังเกตจุดศูนย์ถ่วงที่อยู่ใต้ไม้ไอติมที่รับน้ำหนักค้อน

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้มีกลสั้นๆให้เด็กๆดู 6 กล:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

สำหรับประถมต้น  ผมให้เด็กๆตัดกระดาษเป็นรูปนกขนาดเล็กๆ โดยที่ปีกทั้งสองยื่นไปด้านหน้าของหัว แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษติดที่ปีก ขยับตำแหน่งคลิปให้จุดศูนย์ถ่วงของนกอยู่ที่ปากของมัน เราสามารถรับน้ำหนักมันที่ปากและนกก็จะลอยอยู่ได้ครับ

สำหรับเด็กประถมปลาย ผมให้เด็กๆติดค้อนเข้ากับไม้ไอติม แล้วเอาไปแขวนตามขอบโต๊ะ จุดที่รับน้ำหนักจะผ่านจุดศูนย์ถ่วงของค้อน+ไม้ไอติม ทำให้ค้อนลอยอยู่ได้

เราใช้ไม้บรรทัดแทนไม้ไอติมก็ได้ดังในคลิปนี้ครับ:

วิทย์ประถม: เรื่องสมดุลต่อ, ตั้งกระป๋องเอียง, นกกระดาษสมดุล

วันนี้ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล แล้วได้ซึมซับความรู้เรื่องสมดุลต่อโดยสังเกตว่าถ้าเรายืนให้หลังและส้นเท้าติดผนัง เราจะก้มตัวมาข้างหน้าไม่ได้ถ้าไม่งอขา เด็กประถมต้นได้เติมน้ำในกระป๋องให้ตั้งเอียงได้ เด็กประถมปลายได้ประดิษฐ์ของเล่นนกสมดุลจากกระดาษและคลิปโลหะ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้มีกลสั้นๆสามกลที่เล่นกับปากกา:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

จากนั้นเราคุยกันเรื่องสมดุลต่อ ถ้าเราไปยืนให้ส้นเท้าและหลังติดกับผนัง แล้วพยายามก้มลงเก็บของที่พื้นโดยไม่งอเข่า เราจะล้มเมื่อพยายามทำอย่างนั้น เพราะเมื่อเราก้มโดยที่เราไม่สามารถขยับน้ำหนักไปข้างหลัง (เพราะหลังติดกำแพงอยู่) จุดศูนย์ถ่วงของเราจะล้ำไปข้างหน้า อยู่ข้างหน้าเท้าของเรา แล้วตัวเราก็จะเริ่มเสียสมดุลย์แล้วล้มในที่สุด:

ถ้าเราสังเกตเวลาเราก้มตัวเก็บของ เราจะมีบางส่วนของร่างกายอยู่แนวหลังเท้าและบางส่วนอยู่แนวหน้าเท้าเสมอ เพราะไม่อย่างนั้นเราจะล้มเนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงอยู่นอกบริเวณรับน้ำหนักที่เท้าครับ

สำหรับประถมต้น ผมให้ตั้งกระป๋องเอียงๆกัน กระป๋องอลูมิเนียมเปล่าๆจะวางเอียงๆไม่ได้ แต่ถ้าเราใส่น้ำเข้าไปให้เหมาะสม น้ำจะถ่วงน้ำหนักให้กระป๋องเอียงอยู่ได้ ให้เด็กทดลองใส่น้ำปริมาณต่างๆเข้าไปในกระป๋องแล้วชั่งน้ำหนักว่าใส่น้ำเข้าไปกี่กรัมแล้วยังตั้งกระป๋องอยู่ได้ พบว่าถ้าใส่น้ำประมาณ 50-200 กรัมก็จะตั้งกระป๋องอยู่ได้ ถ้าน้ำมากไปหรือน้อยไปกระป๋องจะล้ม:

สำหรับประถมปลาย ผมให้เด็กๆตัดกระดาษเป็นรูปนกขนาดเล็กๆ โดยที่ปีกทั้งสองยื่นไปด้านหน้าของหัว แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษติดที่ปีก ขยับตำแหน่งคลิปให้จุดศูนย์ถ่วงของนกอยู่ที่ปากของมัน เราสามารถรับน้ำหนักมันที่ปากและนกก็จะลอยอยู่ได้ครับ

ของเล่นนกกระดาษนี้ใช้หลักการเดียวกับส้อมสมดุลสัปดาห์ที่แล้วเลยครับ (วิทย์ประถม: เรียนเรื่องสมดุลต่อ, ส้อมสมดุล):

วิทย์ประถม: เรียนเรื่องสมดุลต่อ, ส้อมสมดุล

วันนี้ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล แล้วได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสมดุลต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเราได้ทำของเล่นส้อมสมดุลกัน

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้มีกลสั้นๆสี่กล:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

ต่อจากนั้นผมสอนเด็กๆให้ทำของเล่นคลาสสิคเรียกว่าส้อมสมดุล วิธีทำคือเอาส้อมสองอันที่มีขนาดและน้ำหนักเท่าๆกันมาจิ้มใส่กัน แล้วเสียบไม้ขีดหรือไม้จิ้มฟันเข้าไปให้ส้อมติดกัน จุดศูนย์ถ่วงของส้อมสองอันกับไม้จิ้มฟันจะอยู่ในแนวไม้จิ้มฟันทำให้เราสามารถเลี้ยงส้อมให้สมดุลอยู่ได้อย่างน่าประหลาดใจ วิธีทำอยู่ในคลิปนี้ครับ:

ในตอนท้ายของคลิปที่เราจุดไฟเผาไม้ขีด สาเหตุที่ไฟดับที่ขอบแก้วไม่ลามไปบนไม้ขีดที่เหลือก็เพราะว่าแก้วรับความร้อนจากไฟไป ทำให้อุณหภูมิลดลงจนไฟดับครับ

หลังจากเด็กๆรู้วิธีทำแล้ว เขาก็ไปหัดทำและเล่นของเล่นใหม่นี้กันครับ: