Tag Archives: แรงโน้มถ่วง

แรงต้านอากาศ กระดาษเต้นระบำ วิทย์ที่ดอยอ่างขาง หลอดและไฟฟ้าสถิต

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “อากาศร้อนเย็นและความดัน เสื้อกันหนาวทำงานอย่างไร ปืนลมหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมต้นได้ดูวิดีโอหุ่นยนต์วาดรูปบนหาดทราย ได้ดูวิดีโอการปล่อยลูกโบว์ลิ่งและขนนกในห้องสูญญากาศ และได้เล่นของเล่นแถบกระดาษเต้นระบำ เด็กประถมปลายได้คุยกันปรากฎการณ์ที่สังเกตเห็นตอนเดินทางไปดอยอ่างขางคือดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นวงรีๆไม่กลมและสีไม่สม่ำเสมอ ภาคตัดขวางของปีกเครื่องบิน และดูวิดีโอสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนขยะเปียกเป็นน้ำดื่มและไฟฟ้าที่สนับสนุนโดยมูลนิธิเกตส์ (และผมได้พยายามปลูกฝังการใช้เงินอย่างมีรสนิยมเพื่อปรับปรุงโลกอย่างนี้ ไม่ใช่สะสมเพื่อตนเองเท่านั้น) เด็กๆอนุบาลสามได้เล่นเอามือดูดหลอดพลาสติกด้วยไฟฟ้าสถิตและแถบกระดาษเต้นระบำครับ

 ก่อนอื่นเด็กประถมต้นได้ดูวิดิโอคลิปนี้ครับ เป็นหุ่นยนต์น่ารักดีชื่อว่า Beachbot คนแค่บอกว่าให้ไปวาดรูปอะไรบนชายหาดแล้วมันก็ไปวาดเอง:

เด็กๆดูจะได้รู้ว่ามีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆน่าสนใจอย่างนี้แล้วครับ Continue reading แรงต้านอากาศ กระดาษเต้นระบำ วิทย์ที่ดอยอ่างขาง หลอดและไฟฟ้าสถิต

วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูวิดีโอคลิปวิธีทำให้เราเห็นการไหลเวียนของอากาศที่เรียกว่า Schlieren Optics (ภาพเชลียเร็น) ที่อาศัยหลักการที่ว่าแสงเดินทางในอากาศที่มีความหนาแน่นต่างๆกันด้วยความเร็วไม่เหมือนกัน ทำให้เราสามารถเห็นความแตกต่างของความหนาแน่นในอากาศได้ นอกจากนี้เด็กๆได้ดูผมแกว่งถาดที่วางแก้วน้ำใส่น้ำเป็นวงกลมแนวตั้งโดยที่น้ำไม่หก และผิวน้ำอยู่นิ่งจนเด็กๆคิดว่าเป็นเยลลี่ เด็กประถมได้ทดลองแกว่งถ้วยพลาสติกใส่น้ำ เด็กอนุบาลได้แกว่งกล่องใส่ DVD ที่ใส่ถ้วยพลาสติกเบาๆแทนน้ำครับ สาเหตุที่น้ำไม่หกก็เพราะความเฉื่อยของน้ำผสมกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของแก้วน้ำทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงเทียม ผมพยายามปลูกฝังความคิด (inception) ให้เด็กประถมว่าถ้ามนุษย์อยู่เฉพาะบนโลกโดยไม่ไปตั้งรกรากบนดาวอื่นๆละก็เราจะศูนย์พันธุ์แน่ๆในที่สุด ให้เด็กเข้าใจว่าจะสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมบนยานอวกาศได้โดยให้ยานอวกาศหมุน (ให้ดูคลิปจากหนังเรื่อง 2001: A Space Odyssey)

ก่อนอื่นผมให้เด็กประถมดูคลิปนี้ก่อนครับ: Continue reading วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม

ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย

DSC08072

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูคลิปน่าสนใจเรื่องก๊าซ คุยกันเรื่องวิวัฒนาการต่อ ของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ฟังผมเล่าข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ที่นักวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ (Rosetta/Philae) ไปพบและลงจอดบนดาวหาง โดยใช้เวลาประมาณสิบปีในอวกาศ เด็กๆได้เข้าใจวิธีการเพิ่มความเร็วและเปลี่ยนทิศทางยานอวกาศโดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ (Gravity Assist) จากนั้นได้ดูวิดีโอคลิปการใช้หลักการวิวัฒนาการมาจำลองในคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวแบบต่างๆกัน สำหรับเด็กอนุบาลผมสอนวิธีเล่นกลที่ใช้หลักการความเฉื่อย โดยเอาเหรียญทับกระดาษวางไว้บนปากขวด แล้วดึง ดีด หรือตีกระดาษให้หลุดออกไปเร็วๆให้เหรียญยังอยู่ที่เดิมบนปากขวดครับ

วันพุธสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ คือชาวโลกได้ส่งยานอวกาศไปวิ่งคู่กับดาวหางและปล่อยยานลูกลงไปจอดบนดาวหางสำเร็จครับ สัปดาห์นี้ผมเลยมาเล่าเรื่องนี้ให้เด็กประถมฟังกัน Continue reading ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย

DSC08072

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูคลิปน่าสนใจเรื่องก๊าซ คุยกันเรื่องวิวัฒนาการต่อ ของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ฟังผมเล่าข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ที่นักวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ (Rosetta/Philae) ไปพบและลงจอดบนดาวหาง โดยใช้เวลาประมาณสิบปีในอวกาศ เด็กๆได้เข้าใจวิธีการเพิ่มความเร็วและเปลี่ยนทิศทางยานอวกาศโดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ (Gravity Assist) จากนั้นได้ดูวิดีโอคลิปการใช้หลักการวิวัฒนาการมาจำลองในคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวแบบต่างๆกัน สำหรับเด็กอนุบาลผมสอนวิธีเล่นกลที่ใช้หลักการความเฉื่อย โดยเอาเหรียญทับกระดาษวางไว้บนปากขวด แล้วดึง ดีด หรือตีกระดาษให้หลุดออกไปเร็วๆให้เหรียญยังอยู่ที่เดิมบนปากขวดครับ

วันพุธสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ คือชาวโลกได้ส่งยานอวกาศไปวิ่งคู่กับดาวหางและปล่อยยานลูกลงไปจอดบนดาวหางสำเร็จครับ สัปดาห์นี้ผมเลยมาเล่าเรื่องนี้ให้เด็กประถมฟังกัน Continue reading ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย