วันอังคารที่ผ่านมาวันผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้เริ่มรู้จักพลังงานศักย์เคมี ได้ดูคลิปพลังงานมหาศาลที่อยู่ในอาหารเช่นน้ำตาล (ทำเป็นเชื้อเพลิงจรวดได้) เด็กประถมต้นได้ดูคลิปใบเลื่อยที่ทำจากกระดาษ และประดิษฐ์ของเล่นคอปเตอร์ไม้ไอติมที่ยิงขึ้นที่สูงด้วยหนังยาง เด็กประถมปลายได้ประดิษฐ์เครื่องยิงลูกปิงปองด้วยความยืดหยุ่นของถุงมือยางครับ
(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “สร้างของเล่น Catapult (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น)” ครับ)
สำหรับเด็กประถมต้น ก่อนอื่นผมให้ดูคลิปการเอากระดาษมาหมุนเร็วๆใช้เป็นใบเลื่อยครับ:
เมื่อกระดาษหมุนเร็วๆ ขอบกระดาษจะวิ่งหนีจากศูนย์กลางการหมุนทำให้แผ่นกระดาษเรียบและตรง แข็งพอที่จะไปตัดสิ่งต่างๆได้ครับ เป็นของแปลกๆให้เด็กๆได้ดูกันว่ามีอย่างนี้ด้วย Continue reading คลิปพลังงานศักย์เคมี ของเล่นพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ใบเลื่อยกระดาษ →
อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่นี่นะครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “เสือไต่ถัง รถไฟเหาะ แรงเหวี่ยงติดขอบกาละมัง” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมครับ วันนี้ผมให้เด็กๆสังเกตลูกแก้วที่ตกจากที่สูงว่าความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อตกลงสู่พื้น ได้คุยกันว่าถ้าของตกโดยไม่มีแรงต้านอากาศของต่างๆจะตกจากที่สูงเท่ากันลงถึงพื้นพร้อมๆกัน เด็กประถมปลายได้เริ่มรู้จักพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ และเห็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงระหว่างพลังงานทั้งสองแบบ เด็กประถมต้นได้เห็นว่าความสูงและความเร็วเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เด็กๆได้เล่นรถไฟเหาะจำลองที่ทำจากลูกแก้ว (แทนรถไฟ) และสายยางพลาสติกใสยาวสิบเมตร (แทนราง) ครับ
สืบเนื่องมาจากวิดีโอรถไฟเหาะสัปดาห์ที่แล้วครับ: Continue reading จำลอง “รถไฟเหาะ” การเปลี่ยนรูปพลังงานระหว่างศักย์และจลน์ →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)