Tag Archives: ความเฉื่อย

วิทย์ประถม: เล่นกับความเฉื่อย

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆประถมศูนย์การเรียนปฐมธรรมมาครับ เด็กๆหัดคิดแบบวิทย์โดยพยายามอธิบายมายากล และเล่นกับความเฉื่อยโดยพยายามดึงกระดาษหรือไม้ไอติมที่รองเหรียญอยู่โดยให้เหรียญอยู่ที่เดิม

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่ ส่วนลิงก์รวมทุกกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ)

ก่อนอื่นเด็กๆได้ดูมายากลในคลิปนี้ครับ เด็กๆดูกลก่อนแล้วพยายามอธิบายก่อนเฉลย คราวนี้เรื่องผูกเชือกรองเท้าโดยเขย่าขาครับ:

กิจกรรมนี้ฝีกเด็กๆให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีการสังเกต การตั้งสมมุติฐานเพื่ออธิบายสิ่งที่สังเกตมา การตรวจสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่สังเกตมา การตั้งสมมุติฐานใหม่เมื่อสมมุติฐานเดิมขัดกับข้อมูล นอกจากนี้เราพยายามให้เด็กๆมีความกล้าคิดและออกความเห็น และหวังว่าเมื่อโตไปจะไม่ถูกหลอกง่ายๆครับ

จากนั้นผมก็เล่นกลเกี่ยวกับความเฉื่อย เริ่มโดยเอากระดาษขนาดแบ็งค์ยี่สิบมาวางบนปากขวดแก้ว แล้วเอาเหรียญสักสองสามเหรียญทับไว้ แล้วให้เด็กๆพยายามเอากระดาษออกมาโดยไม่จับเหรียญ และให้เหรียญอยู่บนขวดเหมือนเดิมครับ

หลังจากเด็กๆงงสักพักเราก็เฉลยครับ เราเอานิ้วชี้และนิ้วกลางไปตีเร็วๆที่กระดาษ กระดาษจะติดนิ้วออกมาอย่างรวดเร็ว (ถ้านิ้วแห้งเกินไปกระดาษไม่ติด ให้ใช้นิ้วแตะน้ำให้ชื้นๆนิดหน่อย) แต่เหรียญมีความเฉื่อยอยู่ไม่อยากขยับไปไหน จึงอยู่ที่ปากขวดเหมือนเดิม คลิปวิธีทำครับ:

หลังจากเด็กๆเล่นแบบนี้เป็นแล้ว ผมให้โจทย์ยากขึ้นโดยเอาไม้ไอติมมาแทนกระดาษ ใช้เหรียญวางทับ จะทำอย่างไร เพราะคราวนี้เราใช้นิ้วตีไม่ได้ ไม้ไอติมจะกระดก มีเด็กๆเสนอให้หาอะไรไปเคาะๆไม้ไอติม ในที่สุดเราก็หาทางตีไม้ไอติมให้กระเด็นออกไปเร็วๆได้ในที่สุด เช่นในคลิปนี้:

Posted by Pongskorn Saipetch on Tuesday, 9 August 2022

“ความเฉื่อย” หรือ Inertia (อ่านว่า อิ-เนอร์-เชียะ) เป็นคุณสมบัติของวัตถุทุกๆอย่างครับ เป็นคุณสมบัติของวัตถุต่างๆที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าอยู่เฉยๆก็จะอยู่เฉยๆไปเรื่อยๆจนมีอะไรมาทำอะไรกับมัน ถ้าเคลื่อนที่อยู่แล้วก็ไม่อยากหยุด ไม่อยากวิ่งเร็วขึ้น ไม่อยากเลี้ยว ถ้าจะทำให้หยุด หรือเร็วขึ้น หรือเลี้ยว ต้องใช้แรงมากระทำกับมัน

เราเรียกปริมาณความเฉื่อยของวัตถุแต่ละชิ้นว่า “มวล” ของวัตถุ บนโลกถ้าวัตถุไหนมีมวลมาก นำ้หนักของมันก็มากตาม แต่ในอวกาศไกลๆจากโลก แม้ว่าวัตถุนั้นจะมีน้ำหนักน้อยมากๆ (เพราะน้ำหนักคือแรงดึงดูดจากโลกมีค่าน้อยลงเมื่อห่างจากโลก) มวลหรือความเฉื่อยของมันก็ยังมี และทำให้วัตถุไม่ค่อยอยากเปลี่ยนแปลงการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีแรงอะไรไปผลักดันดูดดึงมัน

วัตถุที่มวลมาก ความเฉื่อยก็จะมาก ทำให้ต้องใช้แรงมากในการเร่งหรือหยุดหรือเลี้ยววัตถุเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้รถบรรทุกสิบล้อจึงเร่งให้มีความเร็วง่ายๆเหมือนรถจักรยานยนต์ไม่ได้ รวมถึงใช้ระยะทางในการหยุดมากกว่า

กลที่เล่นกับจานชามทั้งโต๊ะแทนที่จะเป็นเหรียญไม่กี่เหรียญก็ใช้หลักการเกี่ยวกับความเฉื่อยเหมือนกันครับ:

วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ดูวิดีโอคลิปวิธีทำให้เราเห็นการไหลเวียนของอากาศที่เรียกว่า Schlieren Optics (ภาพเชลียเร็น) ที่อาศัยหลักการที่ว่าแสงเดินทางในอากาศที่มีความหนาแน่นต่างๆกันด้วยความเร็วไม่เหมือนกัน ทำให้เราสามารถเห็นความแตกต่างของความหนาแน่นในอากาศได้ นอกจากนี้เด็กๆได้ดูผมแกว่งถาดที่วางแก้วน้ำใส่น้ำเป็นวงกลมแนวตั้งโดยที่น้ำไม่หก และผิวน้ำอยู่นิ่งจนเด็กๆคิดว่าเป็นเยลลี่ เด็กประถมได้ทดลองแกว่งถ้วยพลาสติกใส่น้ำ เด็กอนุบาลได้แกว่งกล่องใส่ DVD ที่ใส่ถ้วยพลาสติกเบาๆแทนน้ำครับ สาเหตุที่น้ำไม่หกก็เพราะความเฉื่อยของน้ำผสมกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของแก้วน้ำทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงเทียม ผมพยายามปลูกฝังความคิด (inception) ให้เด็กประถมว่าถ้ามนุษย์อยู่เฉพาะบนโลกโดยไม่ไปตั้งรกรากบนดาวอื่นๆละก็เราจะศูนย์พันธุ์แน่ๆในที่สุด ให้เด็กเข้าใจว่าจะสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมบนยานอวกาศได้โดยให้ยานอวกาศหมุน (ให้ดูคลิปจากหนังเรื่อง 2001: A Space Odyssey)

ก่อนอื่นผมให้เด็กประถมดูคลิปนี้ก่อนครับ: Continue reading วิธีมองเห็นอากาศด้วย Schlieren Optics การทดลองแรงโน้มถ่วงเทียม

ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย

DSC08072

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูคลิปน่าสนใจเรื่องก๊าซ คุยกันเรื่องวิวัฒนาการต่อ ของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ฟังผมเล่าข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ที่นักวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ (Rosetta/Philae) ไปพบและลงจอดบนดาวหาง โดยใช้เวลาประมาณสิบปีในอวกาศ เด็กๆได้เข้าใจวิธีการเพิ่มความเร็วและเปลี่ยนทิศทางยานอวกาศโดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ (Gravity Assist) จากนั้นได้ดูวิดีโอคลิปการใช้หลักการวิวัฒนาการมาจำลองในคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวแบบต่างๆกัน สำหรับเด็กอนุบาลผมสอนวิธีเล่นกลที่ใช้หลักการความเฉื่อย โดยเอาเหรียญทับกระดาษวางไว้บนปากขวด แล้วดึง ดีด หรือตีกระดาษให้หลุดออกไปเร็วๆให้เหรียญยังอยู่ที่เดิมบนปากขวดครับ

วันพุธสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ คือชาวโลกได้ส่งยานอวกาศไปวิ่งคู่กับดาวหางและปล่อยยานลูกลงไปจอดบนดาวหางสำเร็จครับ สัปดาห์นี้ผมเลยมาเล่าเรื่องนี้ให้เด็กประถมฟังกัน Continue reading ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย

DSC08072

อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ

ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ สำหรับบันทึกการสอนต่างๆในอดีตเข้าไปดูที่ http://atriumtech.com/sci_kids/ นะครับ

(คราวที่แล้วเรื่อง “ดูคลิปน่าสนใจเรื่องก๊าซ คุยกันเรื่องวิวัฒนาการต่อ ของเล่นลูกดอกหลอดกาแฟ” ครับ)

วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ วันนี้เด็กประถมได้ฟังผมเล่าข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ที่นักวิทยาศาสตร์จากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ส่งยานอวกาศ (Rosetta/Philae) ไปพบและลงจอดบนดาวหาง โดยใช้เวลาประมาณสิบปีในอวกาศ เด็กๆได้เข้าใจวิธีการเพิ่มความเร็วและเปลี่ยนทิศทางยานอวกาศโดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ (Gravity Assist) จากนั้นได้ดูวิดีโอคลิปการใช้หลักการวิวัฒนาการมาจำลองในคอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวแบบต่างๆกัน สำหรับเด็กอนุบาลผมสอนวิธีเล่นกลที่ใช้หลักการความเฉื่อย โดยเอาเหรียญทับกระดาษวางไว้บนปากขวด แล้วดึง ดีด หรือตีกระดาษให้หลุดออกไปเร็วๆให้เหรียญยังอยู่ที่เดิมบนปากขวดครับ

วันพุธสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ คือชาวโลกได้ส่งยานอวกาศไปวิ่งคู่กับดาวหางและปล่อยยานลูกลงไปจอดบนดาวหางสำเร็จครับ สัปดาห์นี้ผมเลยมาเล่าเรื่องนี้ให้เด็กประถมฟังกัน Continue reading ข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์ (ยานลงดาวหาง) จำลองวิวัฒนาการ กลความเฉื่อย