Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

สอนวิทย์มัธยม 1: หัดใช้คาลิเปอร์ เข้าใจปริมาณเล็กๆ เริ่มคุยเรื่องวิวัฒนาการ

สัปดาห์นี้ผมคุยกับเด็กๆม.1 เรื่องการพยายามเข้าใจขนาดเล็กๆและเริ่มเรื่องวิวัฒนาการครับ

เราคุยกันเรื่องการบ้านสัปดาห์ที่แล้วที่เด็กๆก็พอทำได้ มีขั้นตอนขบวนการหาคำตอบใช้ได้ คำตอบถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็มีขั้นตอนการคิดว่าทำไมถึงเป็นคำตอบดังกล่าว

เราลองใช้คาลิเปอร์ดิจิตัลวัดความหนาสิ่งต่างๆกันครับ คาลิเปอร์ที่ใช้เป็นแบบอ่านตัวเลขได้ง่ายๆ วัดได้ละเอียดถึง 0.01 mm  ถ้าคาลิเปอร์ไม่ใช่ระบบตัวเลขแต่เป็นแบบเทียบกับมาตรความยาว ควรดูคลิปนี้สำหรับวิธีใช้ครับ:

เราวัดความหนากระดาษได้ประมาณ 0.09 ถึง 0.10 mm ครับ Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: หัดใช้คาลิเปอร์ เข้าใจปริมาณเล็กๆ เริ่มคุยเรื่องวิวัฒนาการ

สอนวิทย์มัธยม 1: การเปรียบเทียบ การแปลงหน่วย การประมาณหยาบๆ (Order of Magnitude Estimate)

สัปดาห์นี้ผมคุยกับเด็กๆม. 1 กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจปริมาณต่างๆครับ

ตอนเราเริ่ม เรามีกิจกรรมหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตครับ สิ่งทีเราได้รู้จากกิจกรรมคือ 

  1. วัตถุขนาดที่เรามองเห็นที่วิ่งเร็วที่สุดที่มนุษย์สร้างคือยานอวกาศ Juno ตอนเข้าใกล้ดาวพฤหัส มีความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อวินาทีครับ หรือมากกว่า 1/10,000 ความเร็วแสงนิดหน่อย (แสงวิ่งเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที)  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วนี้ไปยังดาวที่ใกล้สุดจะใช้เวลาประมาณ 30,000 ปีครับ
  2. เพื่อเปรียบเทียบความเร็วนี้ เราพบว่ากระสุนปืนมีความเร็วประมาณ 1-3 เท่าความเร็วเสียง ถ้าปืนสั้นก็ช้าหน่อย ปืนยาวไรเฟิลก็เร็วหน่อย
  3. เสียงมีความเร็วประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศ หรือวิ่ง 1 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 3 วินาที
  4. ยาน Juno วิ่งเร็วกว่ากระสุนปืนไรเฟิลประมาณ 40 เท่า
  5. แสงมีความเร็วเป็นประมาณล้านเท่าความเร็วเสียง เวลาฟ้าแลบแล้วเราจับเวลาว่ากี่วินาทีก่อนจะได้ยินฟ้าร้อง เราก็สามารถประมาณได้ว่าจุดที่เกิดฟ้าแลบฟ้าร้องห่างออกไปเท่ากับ 340 เมตรต่อวินาทีที่เรานับ
  6. เราได้ดูวิดีโอกระสุนวิ่งไปหาเป้าที่ห่างไป 800 เมตรครับ:

Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: การเปรียบเทียบ การแปลงหน่วย การประมาณหยาบๆ (Order of Magnitude Estimate)

สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดโลก ดาวต่างๆ และระยะทางระหว่างดวงดาว

วันนี้ผมไปสอนวิทย์ม.1 มาครับ คราวนี้เราพยายามเข้าใจว่าจักรวาลที่เราอยู่มันใหญ่แค่ไหน

ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จนกระทั่งไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา คนนึกว่าเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จนกระทั่งกาลิเลโอมีกล้องดูดาวแล้วเริ่มส่องไปนอกโลก ความรู้เกี่ยวกับจักรวาลเพิ่มขึ้นมากมายในรอบไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา ตอนนี้คนที่มีความรู้จะเข้าใจแล้วว่าเราไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล เราอยู่บนก้อนหินกลมๆที่เรียกว่าโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในนับแสนล้านดวงที่โคจรรอบซึ่งกันและกันในแกแล็คซีที่เรียกว่าทางช้างเผือกหรือ Milky Way galaxy ส่วนกาแล็คซีทางช้างเผือกก็เป็นเพียงอันหนึ่งในนับแสนล้านแกแล็คซีที่อยู่ในจักรวาลที่เราสังเกตได้

เราเริ่มโดยให้เด็กๆเดาก่อนว่าขนาดเส้นรอบวงโลกที่เราอยู่มีขนาดเท่าไร หลังจากเด็กๆเดากันเสร็จเราก็ตรวจสอบตัวเลขจริงๆ พบว่าโลกมีเส้นรอบวงประมาณ 40,000 กิโลเมตร โดยเส้นรอบวงวัดตรงเส้นศูนย์สูตรจะยาวกว่าวัดรอบขั้วโลกเหนือ-ใต้ประมาณ 70 กิโลเมตรเพราะโลกหมุนอยู่ ส่วนพุงของมันแถวๆเส้นศูนย์สูตรเลยอ้วนออกมาหน่อยนึง

เด็กๆได้เดาว่าเส้นผ่าศูนย์กลางโลกควรจะเป็นเท่าไรด้วยครับ เราลองวาดวงกลมแล้วกะๆเอา เด็กๆเดาว่าเส้นรอบวงน่าจะเป็นสามเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก ผมบอกว่าเกือบถูก จริงๆเส้นรอบวงจะเป็นพาย (pi) เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยพายเป็นค่าคงที่ = 3.141592653… มีตัวเลขต่อไปเรื่อยๆไม่รู้จบ

เส้นรอบวงเท่ากับค่าคงที่ที่เรียกว่าพายคูณกับเส้นผ่าศูนย์กลางครับ พาย = pi = 3.14159...
เส้นรอบวงเท่ากับค่าคงที่ที่เรียกว่าพายคูณกับเส้นผ่าศูนย์กลางครับ พาย = pi = 3.14159…

Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดโลก ดาวต่างๆ และระยะทางระหว่างดวงดาว