Category Archives: ภาษาไทย

วิทย์ม.ต้น: เริ่มรู้จักตัวเราเทียบกับจักรวาล

วันนี้เราเริ่มวิทย์ม.ต้นเทอมใหม่ เราคุยกันเรื่องต่างๆดังนี้:

  1. Pale Blue Dot: โลกของเราเป็นจุดเล็กๆเท่านั้นเมื่อถ่ายรูปจากยานอวกาศที่ส่งออกไป

2. ขนาดต่างๆในจักรวาล: Powers of Ten

3. เว็บเพจ The Scale of the Universe เปรียบเทียบขนาดสิ่งของต่างๆ มีแบบเป็น App ด้วยครับ

4. เปรียบเทียบความเร็วแสง: Light Speed – fast, but slow

5. คำถามเรื่อง UFO และคลิปผ่าเอเลียน

6. คำสาปปิรามิด/คำสาปฟาโรห์

7. ไอเดียที่ว่าดวงจันทร์ Enceladus ของดาวเสาร์อาจมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมให้มีสิ่งมีชีวิตได้ อันนี้ลิงก์จาก NASA

การบ้านสัปดาห์นี้ให้อ่านบทนำและบทแรกของหนังสือปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล ให้สรุปจดเป็นโนัตสำหรับทำความเข้าใจของตน ถ่ายรูปโน้ตส่งให้พ่อโก้

นอกจากนี้แนะนำคลิปนี้ด้วยครับ The Most Astounding Fact (มีซับอังกฤษ หัดอ่านหัดฟังหัดเปิดดิก):

วิทย์ม.ต้น: Machine Learning ใน 5 นาที, ที่ฝึก ML, คำสอนปิดม.ต้น

วิทย์โปรแกรมมิ่งวันศุกร์สัปดาห์นี้ เด็กม.3 ได้ดูคลิปการสั่งให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้จากตัวอย่าง (machine learning หรือ ML) ได้พิมพ์ตามคลิปนี้ครับ:

ผมเล่าให้ฟังว่าถ้าเรามีข้อมูลตัวอย่างเยอะๆดีๆเราก็สามารถให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยเทคนิคด้าน machine learning เพื่อช่วยทำงานต่างๆให้เราได้ ยกตัวอย่างเช่นอาจช่วยวินิจฉัยโรค ช่วยรู้จักหน้าคน รู้จักคัดตัวอย่างผลไม้ ตรวจหาวัชพืช แยกแยะแมลงมีประโยชน์และมีโทษ ช่วยวาดรูป ช่วยแต่งเพลง ฯลฯ โดยตัวอย่าง (ที่ไม่สมจริง) ที่ผมลองพิมพ์ให้ดูก็เช่นแยกระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิด-19:

ผมแนะนำให้เด็กๆไปศึกษาวิธีบอกให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านนี้ โดยใช้เวลาว่างเข้าไปเรียนรู้ที่ https://www.kaggle.com/learn/overview

เนื่องจากเด็กๆม.สามจะกระจายไปตามโรงเรียนต่างๆไม่ได้เรียนกับผมแล้วผมฝากข้อแนะนำสุดท้ายไว้ว่าให้ฝึกฝนเพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรและโปรแกรมฉลาดๆให้ความสามารถของตนทวีคูณเป็นสิบเป็นร้อยเท่า อย่ารอให้คนอื่นใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฉลาดๆมาแข่งกับเราก่อนเพราะเราจะเดือดร้อน และเมื่อเรียนคณิตศาสตร์ม.ปลายแล้วไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำอะไรนอกจากสอบ ให้อ่านหนังสือ “คเณิร์ตศาสตร์” ที่ผมแจกไปให้

วิทย์ม.ต้น: Neomania, เล่นและ พยายามหาความเร็วปืนใหญ่ลม

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง neomania จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่เราชอบตื่นเต้นกับของใหม่ๆเกินไป ปัญหาก็คือของใหม่ๆหลายๆอย่างไม่ได้มีประโยชน์อะไรนักและของเก่าๆที่ใช้กันมานานๆหลายๆอย่างก็มีประโยชน์ เราต้องเลือกใช้ให้ถูก ให้มีประโยชน์

จากนั้นเด็กๆก็เล่นปืนใหญ่ลม (Vortex Cannon) กัน โดยเด็กๆได้ดูบางส่วนของคลิปพวกนี้ก่อนครับ:

มีคลิปแนะนำที่ไม่ได้ดูเพราะไม่มีเวลาพอด้วยครับ:

จากนั้นผมก็อธิบายการประกอบและเล่นของเล่นพวกนี้:

จากนั้นเด็กก็เล่นและพยายามหาความเร็วลมที่พุ่งออกมาจากปืนใหญ่ลม บรรยากาศกิจกรรมของเราครับ: