Tag Archives: Grade 7

สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดดาวพฤหัส กระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก ทำความคุ้นเคยกับตารางธาตุ

บันทึกย่อๆสัปดาห์นี้ครับ จากข่าวใหญ่เรื่องยาน Juno ไปเยี่ยมดาวพฤหัส ผมให้เด็กๆคำนวณว่าถ้าดวงอาทิตย์มีขนาด 10 cm ดาวพฤหัสจะใหญ่แค่ไหนและอยู่ไกลประมาณไหนครับ ใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับที่เปรียบเทียบขนาดโลกที่เคยทำไปแล้ว จะได้ว่าดาวพฤหัสขนาดประมาณ 1 cm และอยู่ห่างไปประมาณ 50 เมตรครับ

ผมให้เด็กสังเกตการความเกี่ยวข้องกันระหว่างกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กครับ:

และทดลองเล่นปืนแม่เหล็กครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: ขนาดดาวพฤหัส กระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก ทำความคุ้นเคยกับตารางธาตุ

สอนวิทย์มัธยม 1: โมเลกุล อะตอม และธาตุ (แต่เราตื่นเต้นเรื่องระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า)

วันนี้ผมคุยกับเด็กๆเรื่องอะตอมครับ เมื่อวันพุธเด็กๆสังเกตปรากฎการณ์ไฟฟ้าต่างๆกัน รู้จักประจุไฟฟ้า วันนี้เราเลยคุยกันต่อว่าประจุไฟฟ้ามันอยู่ที่ไหนกัน

ผมเล่าให้เด็กๆฟังว่าของทั้งหลายที่อยู่รอบตัวเรามันมีส่วนประกอบเล็กๆอยู่เรียกว่าโมเลกุล (เช่นน้ำมีโมเลกุลที่เรียกว่า H2O )โมเลกุลเองก็มีส่วนประกอบที่เรียกว่าอะตอม (เช่น H2O ประกอบด้วย H ไฮโดรเจนสองตัว และ O ออกซิเจนหนึ่งตัว)

อะตอมมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่าโปรตอน นิวตรอน และอิเล็คตรอนเป็นจำนวนต่างกัน โปรตอนจะมีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า อิเล็คตรอนจะมีประจุไฟฟ้าลบ มวลของโปรตอนและนิวตรอนมีขนาดใกล้ๆกันโดยนิวตรอนหนักกว่านิดนึง และอิเล็คตรอนจะเบากว่าโปรตอนประมาณ 2,000 เท่า (ลิงก์อ่านเพิ่มภาษาอังกฤษ: atom) Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: โมเลกุล อะตอม และธาตุ (แต่เราตื่นเต้นเรื่องระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า)

สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สืบเนื่องจากการบ้านคราวที่แล้วผมให้เด็กไปหาความยาวคลื่นแสงสีแดงมาเปรียบเทียบกับขนาดตัวคนว่าใหญ่กว่ากันกี่เท่า เด็กๆก็ไปหามาได้ว่าความยาวคลื่นประมาณ 700 nm หรือ 0.7 μm หรือขนาดอยู่ในระดับเดียวกับขนาดแบคทีเรีย E. coli แต่ใหญ่กว่าขนาดไวรัสหลายเท่าเพราะไวรัสเล็กกว่า E. coli ประมาณ 10 ถึง 100 เท่า

เด็กๆพบว่าแสงสีต่างๆกันมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน ผมเลยเล่าให้ฟังว่าจริงแล้วแสงที่เรามองเห็น เป็นส่วนเล็กๆของสิ่งที่เรียกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) คือถ้ามีประจุไฟฟ้าขยับไปมาเร็วๆ มันจะสร้างคลื่นให้วิ่งออกมา คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปมาเป็นจังหวะ เราจะแบ่งแยกและตั้งชื่อคลื่นเหล่านี้ตามความถี่ในการสั่นของคลื่น (หรือในทางกลับกันตามความยาวคลื่นก็ได้ เพราะความถี่ในการสั่นแปรผกผันกับความยาวคลื่น)

จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)
จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)

ผมไล่ชื่อของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามรูปนี้ให้เด็กๆเห็นความถี่และเข้าใจคุณสมบัติมันว่าใช้ทำอะไรบ้างครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า