Category Archives: มัธยม

วิทย์ม.ต้น: การเติบโตของเงินออมเป็นประจำ, หัดใช้ Mu-Editor

สัปดาห์นี้เด็กม.2-3 เขียนโปรแกรมหาเงินสะสมจากการออมเป็นประจำปีละเท่าๆกัน โดยมีผลตอบแทนต่อปีเท่าๆกัน เป็นเวลาหลายๆปีครับ ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้วที่คำนวณมูลค่าเงินในอนาคตถ้ามีการทบต้นไปเรื่อยๆหลายๆปี

เราปรับชื่อตัวแปรของฟังก์ชั่นหาค่าเงินในอนาคตให้เป็นสากลมากขึ้น:

หัดใช้ f-string เพื่อจัดรูปแบบข้อความหรือจำนวนทศนิยม:

และคำนวณเงินอนาคตทั้งหมดถ้าออมเท่าๆกันทุกปี:

ถ้าออมเงินทุกปีๆละ 1 บาท ที่ผลตอบแทน 0%, 2%, 5%, 7%, 10%, 15%, 20% เป็นเวลา 10, 20, 30, 40, 50 ปี จะมีเงินรวมตอนจบดังนี้:

สามารถโหลด Jupyter Notebook ไปเล่นได้ที่นี่ หรือดูโค้ดออนไลน์ได้ที่ https://colab.research.google.com/drive/1m8nOG-kKcsY7zur6IIrG9NlzNyB5ylYS?usp=sharing นะครับ

นอกจากนี้เด็กๆม.1, 2, 3 ก็ได้รู้จัก Mu Editor สำหรับเขียนโปรแกรมไพธอนแล้วเก็บเป็นไฟล์ .py แยกต่างหากไม่อยู่ใน Jupyter Notebook ครับ สามารถโหลดได้ที่ https://codewith.mu

เด็กม. 1 ได้เห็น turtle graphics นิดหน่อย ในอนาคตเราคงเอามาใช้วาดนู่นวาดนี่กัน

วิทย์ม.ต้น: Self-Selection Bias, Big History Project, เล่นฟ้าผ่าจิ๋ว

วันนี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง self-selection bias จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เราต้องระวังว่าการสรุปต่างๆของเราอาจเกิดจากเลือกแหล่งข้อมูลที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง ทำให้บทสรุปของเราไม่ตรงกับความจริงครับ

เด็กๆได้รู้จักเว็บ Big History Project ซื่งเป็นเว็บอธิบายความเป็นมาโดยย่อ (มากๆ) ว่ามนุษยชาติมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร บทเรียนจะเน้นว่าสิ่งที่ซับซ้อนใหม่ๆเกิดจากสิ่งที่เรียบง่ายกว่าเมื่อมีส่วนผสมและสภาวะที่เหมาะสม มีมีสิ่งซับซ้อนใหม่ๆเกิดขึ้นจะเรียกว่า Threshold โดยผมจะให้เด็กๆดูข้อมูลสัปดาห์ละ Threshold แล้วมาคุยกันครับ

จากนั้นเด็กก็หัดเป็น μThor หรือ μZeus (ไมโครธอร์, ไมโครซูส) หรือเทพเจ้าสายฟ้าขนาดจิ๋ว สร้างฟ้าผ่าจิ๋วจากไม้ชอร์ตยุงกันครับ หลักการเป็นประมาณนี้ครับ:

ภาพกิจกรรมเด็กๆครับ:

วิทย์ม.ต้น: เขียนโปรแกรมดูการเติบโตของเงิน, แบบฝึกหัดพิมพ์เรียงอักษรเป็นสามเหลี่ยมต่างๆ

เด็กม. 2-3 ได้ศึกษาการเติบโตของเงินแบบดอกเบี้ยทบต้น ให้เห็นผลของเวลาและอัตราผลตอบแทนว่าทำให้เงินเติบโตกันอย่างไร และทำไมควรจะเอาเงินไปวางไว้ในที่ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ การบ้านคือให้ไปคำนวณว่าถ้าเราลงทุนทุกปีเท่าๆกันด้วยอัตราผลตอบแทนเท่าๆกันเราจะมีเงินเก็บเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไปนานๆครับ ในอนาคตจะให้เด็กๆใช้ Bisection Method คำนวณเงินที่เราต้องออมหรืออัตราผลตอบแทนที่เราต้องหามาถ้าเรามีเป้าหมายเงินออมในอนาคต

ฟังก์ชั่นการคำนวณค่าเงินในอนาคตเป็นสูตรง่ายๆ:

ลองเปรียบเทียบผลตอบแทนต่างๆกัน:

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องอย่างนี้อ่านได้ที่: Compound Interest, ดอกเบี้ยทบต้น, และ อุปสรรคของคนรอพลังจาก “ดอกเบี้ยทบต้น”

สามารถโหลดโค้ดม.2-3 ใน Jupyter Notebook นี้ หรือดูออนไลน์ที่ https://nbviewer.jupyter.org/url/witpoko.com/wp-content/uploads/2019/07/2019-07-26_G8-9.ipynb นะครับ

เด็กม. 1 ได้ทำแบบฝึกหัดเขียนโปรแกรมไพธอน และพยายามแก้ปัญหาพิมพ์ตัวอักษรเรียงเป็นสามเหลี่ยมแบบต่างๆครับ หน้าตาประมาณนี้ครับ:

สามารถโหลดโค้ดม.1ในJupyter Notebook นี้ หรือดูออนไลน์ที่ https://nbviewer.jupyter.org/url/witpoko.com/wp-content/uploads/2019/07/2019-07-26_G7.ipynbนะครับ