Tag Archives: วิทย์ม.ต้น

วิทย์ม.ต้น: “Because Justification”, กำเนิดโลก, ส่องกล้องจุลทรรศน์

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง “Because” justification จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่คนชอบฟังเหตุผลแม้ว่าบางทีเหตุผลจะไม่เข้าท่าก็ตาม

เราได้คุยกันเรื่องกำเนิดโลกและเรื่องการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก (plate tectonics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ threshold 4 ใน Big History Project ครับ แนะนำให้อ่านที่เว็บเขาครับ

มีคลิปที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ แนะนำให้เด็กๆดูครับ:

จากนั้นเราก็ส่องกล้องจุลทรรศน์กัน วันนี้ดูเซลล์หัวหอม ไข่กบ สิ่งมีชีวิตเล็กๆจากน้ำขังข้างถนน

แนะนำเด็กๆเข้าไปดู ช่อง Journey to the Microcosmos นะครับ เขามีภาพและวิดีโอสวยๆจากกล้องจุลทรรศน์น่าสนใจมากเลย อันนี้คลิปแรกเขาครับ:

ภาพบรรยากาศห้องเรียนของเราครับ:

วิทย์ม.ต้น: เขียนโปรแกรมสร้างโจทย์ตัวอักษร

สัปดาห์นี้เด็กๆม.1-3 หัดเขียนโปรแกรมไพธอนเพื่อสร้างโจทย์ตัวอักษร (ต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ที่แล้วที่เขียนโปรแกรมไล่แทนค่าตัวอักษรเพื่อแก้โจทย์ทำนองนี้)

(โค้ดต่างๆแบบ Jupyter notebookโหลดได้ที่นี่ หรือดูออนไลน์ได้ที่นี่นะครับ)

เด็กๆพยายามแทนค่าตัวเลขแต่ละตัวด้วยตัวอักษร บางคนใช้ดิกชันนารี บางคนใช้สตริง วิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุดอาจเป็นประมาณนี้สำหรับเด็กๆที่รู้จัก list comprehension แล้ว (ถ้าอยากรู้เรื่องไปดูที่ Comprehending Python’s Comprehensions หรือดูที่ส่วน “การสร้างลิสต์จาก for” ที่หน้านี้ นะครับ)

ถ้าไม่รู้จัก list-comprehension ก็ใช้ for loop ได้ประมาณนี้:

พอแปลงเลขเป็นตัวอักษรได้ ก็ใส่ตัวตั้งสองตัว x, y แล้วให้คอมพิวเตอร์คำนวณค่า x+y, x-y, x*y, x/y แล้วแปลงทั้งหมดเป็นตัวอักษร A-J แทนเลข 0-1 โดยระวังว่าถ้าผลลัพธ์มีตัวเลขที่ไม่มีอยู่ในพวกตัวตั้ง x, y เราจะต้องไม่แทนค่าตัวเลขด้วยตัวอักษร

เพื่อไม่ให้เดาคำตอบได้ง่ายเกินไป เราไม่ควรแทน 0 ด้วย A, 1 ด้วย B, …, 9 ด้วย J เสมอ เราจึงอาจสลับอักษร A-J ให้เป็นลำดับอื่นก่อนแทนค่า เราสามารถทำได้ด้วย random.shuffle( ) แล้วแทนค่าด้วย translate( ) ประมาณนี้:

หน้าตาฟังก์ชั่นสร้างโจทย์ตัวอักษรก็อาจมีหน้าตาประมาณนี้:

หน้าตาโจทย์ที่ได้ก็จะเป็นประมาณนี้:

สำหรับเด็กม. 1 ผมเอาภาพคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆเช่น ENIAC ว่าเมื่อก่อนเขาโปรแกรมกันอย่างไร, ภาพเครื่องคำนวณสมัยกรีกโบราณ และภาพคุณ Katherine Johnson ที่เป็นนักคณิตศาสตร์ทำงานให้ NASA ที่เด็กๆรู้จักจากภาพยนต์เรื่อง Hidden Figures มาให้ดูด้วยครับ

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกๆของโลกชื่อ ENIAC ครับ ใหญ่เต็มห้องเลย
ENIAC in Philadelphia, Pennsylvania. Glen Beck (background) and Betty Snyder (foreground) program the ENIAC in building 328 at the Ballistic Research Laboratory ภาพจาก U.S. Army Photo [Public domain]
เครื่องจักรคำนวณสมัยกรีกโบราณ เรียกว่า Antikythera mechanism เป็นฟันเฟืองต่อกันอยู่ พอหมุนๆแล้วคำนวณตำแหน่งดวงดาว เทศกาลโอลิมปิก สุริยุปราคา ฯลฯ ได้ครับ อายุประมาณ 2,000 ปี
คุณ Katherine Johnson ครับ
Katherine G. Johnson Computational Research Facility ribbon-cutting ceremony in the Reid Conference Center. Honored guests include Katherine G. Johnson and members of her family, Mayor Donnie Tuck, Senator Warner and Governor McAuliffe. Margot Lee Shetterly, author of “Hidden Figures,”

วิทย์ม.ต้น: Hyperbolic Discounting, กำเนิดระบบสุริยะ, หัดใช้กล้องจุลทรรศน์

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง hyperbolic discounting จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli  ที่เราจะให้น้ำหนักประโยชน์ปัจจุบันมากกว่าประโยชน์ที่มากกว่าในอนาคตทำให้ตัดสินใจผิดได้ครับ

ถ้ามีเวลาแนะนำให้เด็กๆอ่านเพิ่มเติมที่นี่ด้วยนะครับ

การทดลองมาร์ชเมลโลว์ที่บอกเด็กว่ามีขนมให้กินหนึ่งชิ้นตอนนี้ แต่ถ้ารอจะได้สองชิ้นครับ:

วันนี้เราได้คุยกันเรื่องระบบสุริยะและดาวเคราะห์ที่เป็น threshold ที่ 4 ใน Big History Project:

ทำไมระบบสุริยะถึงแบนๆครับ:

จากนั้นเราก็หัดใช้กล้องจุลทรรศน์กันครับ วิธีใช้ก็ประมาณแบบนี้:

บรรยากาศในห้องเรียนของเราครับ: