Category Archives: มัธยม

วิทย์ม.ต้น: Affect Heuristic, Xenobots, วัดตำแหน่งในวิดีโอด้วย Tracker

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง affect heuristic จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ให้เราสังเกตว่าเรามักจะตัดสินใจเรื่องต่างๆจากความรู้สึกและอารมณ์ที่เรื่องเหล่านั้นทำให้เกิดในใจเรา โดยมักจะไม่คิดพิจารณาข้อดีข้อเสียต่างๆโดยละเอียด เช่นบางคนได้ยินคำว่า GMO ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องร้ายๆไปก่อนที่จะพิจารณาเพิ่มเติม

ดู Rolf Dobelli อธิบายครับ:

ผมให้เด็กๆดูคลิปเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สร้างจากเซลล์กบ นับว่าเป็นหุ่นยนต์มีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นตัวแรกก็ได้ครับ เรียกว่า xenobot:

เจ้า xenobot เกิดจากการออกแบบโดยอาศัย genetic algorithm ซึ่งเป็นวิธีจำลองการคัดเลือกพันธุ์ในธรรมชาติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อคัดเลือกพันธุ์ในคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วว่าควรมีหน้าตาส่วนประกอบอย่างไร ก็เอาแบบจากคอมพิวเตอร์มาสร้างโดยเอาเซลล์มาประกอบกัน สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ A scalable pipeline for designing reconfigurable organisms นะครับ

เด็กๆควรดูสรุปเรื่องการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่นี่นะครับ:

จากนั้นดูเรื่อง genetic algorithm ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการวิวัฒนาการหาคำตอบน่าสนใจต่างๆ รวมถึงออกแบบเจ้า xenobot ด้วย:

ถ้าสนใจจะเขียนโปรแกรมเพื่อทำ genetic algorithm ด้วยไพธอนให้ลองดูลิงก์ AI with Python – Genetic Algorithms ครับ

เวลาที่เหลือเราหัดใช้โปรแกรม Tracker เพื่อวัดระยะทาง ความเร็ว ความเร่งในวิดีโอคลิปต่างๆของเรากันครับ เป็นโปรแกรมฟรี open source และมีบน Windows, macOS, Linux

ผมเคยบันทึกตัวอย่างการใช้ไว้ที่นี่ครับ:

วิทย์ม.ต้น: Volunteer’s Folly, ความรู้เรื่องไวรัส, หัดดูกราฟการเคลื่อนที่

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง volunteer’s folly จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่ให้คิดพิจารณาดีๆว่าเราจะช่วยเหลือโครงการต่างๆอย่างไร ให้ดูว่าการใช้เวลาและทักษะของเราทำงานอาสาสมัครมีประสิทธิภาพมากกว่าหรือน้อยกว่าถ้าเราใช้เวลาและทักษะของเราหาเงินแล้วเอาเงินมาจ้างคนที่ทำงานที่เราจะไปอาสาได้ดีกว่าเรา

จากนั้นผมให้เด็กๆรู้จักไวรัสตามนี้:

และความรู้เบื้องต้นเรื่องไวรัสอูฮั่น

คลิปเพิ่มเติมสำหรับเด็กๆที่สนใจครับ:

ในเวลาที่เหลือ ผมให้เด็กๆรู้จักการเคลื่อนที่ในแนวเดียว (ใน 1 มิติ) แล้วเราก็วาดกราฟตำแหน่งเทียบกับเวลาต่างๆกัน ยกตัวอย่างกราฟเช่นในภาพนี้:

ผมอธิบายว่าความชัน = (ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป) หารด้วย (เวลาที่เปลี่ยนไป) ก็คือความเร็วนั่นเอง

จากนั้นก็ให้เด็กๆหัดวาดกราฟตำแหน่งเทียบกับเวลาสำหรับสิ่งต่างๆ การบ้านคือให้เด็กๆไปวาดกราฟสำหรับตำแหน่งแนวนอนของลูกตุ้มแกว่งๆ และตำแหน่งแนวตั้งของลูกตุ้มที่แขวนไว้กับหนังยางหรือสปริงที่ดึงแล้วปล่อยให้แกว่งขึ้นลงครับ

วิทย์ม.ต้น: หมอดูทำนายอย่างไร (Forer Effect), ทำของเล่นเทรบูเชท์กระป๋อง

วันพุธสัปดาห์นี้เด็กๆมัธยมต้นเรียนเรื่อง Forer Effect (หรือ Barnum effect) จากหนังสือ The Art of Thinking Clearly โดยคุณ Rolf Dobelli ที่อธิบายว่าหมอดู ซินแส ผู้วิเศษ โค้ชชีวิต นักวิเคราะห์หุ้น ฯลฯ หาเลี้ยงชีพได้โดยการทำนายเรื่องราวหลายๆเรื่องแต่ไม่เฉพาะเจาะจงเกินไป เรื่องราวที่เล่าที่ทำนายก็เป็นเรื่องที่ครอบคลุมกลุ่มคนใหญ่ๆแล้วคนฟังก็จะไปเลือกเชื่อเอาเอง ไม่ค่อยจำเรื่องที่ไม่ตรงกับตน

ลองเข้าไปอ่านเรื่อง “เปิดตำราโหราศาสตร์ทำนายดวงความรักทั้ง 12 ราศี สำหรับทุกคนที่ไม่เชื่อเรื่องคำทำนาย” และดูคลิปเหล่านี้นะครับ

ตอนแรกเราจะคุยกันเรื่องตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่งกันต่อแต่เราตัดสินใจประดิษฐ์ของเล่นเทรบูเชท์กระป๋องเล่นกันแทนครับ วิธีทำเป็นดังในคลิปครับ: