อัลบั้มภาพการเรียนการสอนอยู่ที่นี่ครับ
ถ้าสงสัยว่าไม่เห็นรูปหรือวิดีโอ เข้าไปดูที่เว็บ https://witpoko.com/ นะครับ ส่วนใหญ่ถ้าอ่านในเมล์จะไม่เห็นวิดีโอครับ
(คราวที่แล้วเรื่อง “(พยายาม)ติดตั้งลูกตุ้มความยาวต่างๆให้มันแกว่งสวยๆ” ครับ)
วันอังคารที่ผ่านมานี้ผมไปสอนเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและกลุ่มบ้านเรียนเฟิร์นมาครับ วันนี้เราดูวิดีโออนิเมชั่นของการแกว่งลูกตุ้มที่เราพยายามติดตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ดูการสั่นและพังของสะพาน และเอานิ้วถูปากแก้วให้เกิดการกำทอนมีเสียงดังครับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเด็กๆได้วัดความยาวลูกตุ้มให้มีความยาวต่างๆกันแล้วเอามาแขวนเรียงกันให้แกว่งเป็นรูปสวยงาม เนื่องจากความละเอียดในการวัดและการแขวนของเรามีไม่มากนัก รูปแบบการแกว่งของเราจึงสวยงามในระยะแรกๆแต่จะไม่สวยเมื่อเวลาผ่านไปสักพักครับ ผมจึงเอาภาพจำลองการแกว่งที่วาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้เด็กๆดูว่าถ้าเราทำการทดลองได้ละเอียดมากขึ้น การแกว่งจะสวยขึ้นอย่างไร:
วิดีโอข้างบนคือภาพลูกตุ้มความยาวขนาดต่างๆกันที่แกว่ง 51, 52, 53, … , 65 คร้้งต่อหน่วยเวลาใช้คำสั่ง Mathematica วาดดังนี้ครับ:
Animate[
Show[
Graphics[Line[{{-Pi/10, 0}, {Pi/10,0}, {Pi/10, -0.4}, {-Pi/10, -0.4}, {-Pi/10,0}}]],
Graphics[Flatten[
Table[{Disk[9.8/(2 Pi k/60)^2 {Sin[Pi/10 Cos[2 Pi k/60 t]], -Cos[Pi/10 Cos[2 Pi k/60 t]]},0.01],
Line[{{0, 0},9.8/(2 Pi k/60)^2 {Sin[Pi/10 Cos[2 Pi k/60 t]], -Cos[Pi/10 Cos[2 Pi k/60 t]]}}]}, {k, 51, 65}]]
]
]
, {t, 0, 60}]
เนื่องจากเราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์วาดให้ดูได้ง่ายๆ เราก็เลยเพิ่มจำนวนลูกตุ้มเป็น 70 ลูกเสียเลย: Continue reading ดูการ์ตูนการแกว่งลูกตุ้ม ดูสะพานแขวนพัง และเล่นแก้วน้ำร้องเพลง