Category Archives: General Science Info

นาฬิกาชีวิตประจำวัน (Circadian Rhythm)

ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องนาฬิกาชีวิตประจำวัน เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. ร่างกายของเราทำงานเป็นวงจรรอบละประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian rhythm) ระดับสารเคมีเช่นฮอร์โมนต่างๆ อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเผาผลาญและการย่อยอาหาร ความสามารถในการคิดและสมาธิ ความง่วงและการนอน จะเปลี่ยนไปตามเวลาระหว่างวัน เปรียบเสมือนร่างกายเรามีนาฬิกาอยู่ภายใน
  2. สิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก สัตว์ พืช หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวก็แสดงการทำงานเป็นวงจร 24 ชั่วโมง เป็นการปรับตัวด้วยการวิวัฒนาการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมกลางวันกลางคืนบนโลก มีนักวิจัยได้รางวัลโนเบลเรื่องนาฬิกาในร่างกายประเภทนี้ด้วย
  3. ในร่างกายของเรา การทำงานเป็นวงจรนี้มีอยู่ตั้งแต่ในระดับเซลล์แต่ละเซลล์และระดับอวัยวะของเรา สมองส่วน SCN จะส่งสัญญาณบอกให้ร่างกายส่วนต่างๆทำงานไปด้วยกัน สมองส่วน SCN “รู้ว่าเช้าแล้ว” โดยสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ในตาที่มีความไวต่อแสงสีฟ้า และ”รู้ว่ามืดแล้ว” เมื่อเซลล์ในตารับแสงน้อยลง
  4. คน (และสัตว์ทดลอง) ที่ดำรงชีวิตแตกต่างไปจากวงจรนาฬิกาของร่างกายประจำวันติดต่อกันเป็นเวลานานๆมักจะป่วยหรืออ่อนแอลง เช่นการนอนไม่เป็นเวลา นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารทั้งวัน มักจะทำให้รู้สึกเหนื่อย รู้สึกพักผ่อนไม่พอ ง่วงบ่อย น้ำหนักขึ้น ป่วยง่าย และอาจเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ รวมไปถึงโรคทางหลอดเลือดและหัวใจ สมองเสื่อม
  5. สิ่งที่เราน่าจะทำได้ให้เข้ากับนาฬิกาชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นก็คือนอนให้เป็นเวลา นอนให้นานพอประมาณ 7-8 ชั่วโมง เดินกลางแจ้งรับแสงแดดบ้างวันละสัก 10-30 นาที เดินและขยับตัวบ่อยๆ ทานอาหารทุกมื้อในช่วงเวลา 10 ชั่วโมง (เช่นถ้าทานอาหารมื้อแรกตอน 6 โมงเช้าก็ควรทานมื้อสุดท้ายภายในเวลา 16:00, ถ้าทานมื้อแรกตอน 9 โมงเช้าก็ควรทานมื้อสุดท้ายภายใน 19:00 เป็นต้น) อาหารมื้อสุดท้ายควรห่างจากเวลานอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

ลิงก์ที่น่าสนใจ:

รางวัลโนเบลเรื่องกลไก circadian rhythm

Center for Circadian Biology at UCSD

Lamia Lab, Scripps Institute

Regulatory Biology Laboratory, Salk Institute

myCircadianClock app

AI กับโรคระบาด Covid-19

ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่อง AI กับ Covid-19 เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

สรุปคือ:

  1. AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมที่ทำงานโดยการเรียนรู้จากข้อมูลตัวอย่างแล้วให้คำตอบออกมา ต่างกับโปรแกรมทั่วไปที่โปรแกรมเมอร์จะเป็นคนกำหนดรายละเอียดทุกขั้นตอนว่าจะให้ตอบอย่างไร แต่ AI จะถูกกำหนดว่าจะเรียนรู้จากข้อมูลอย่างไรเท่านั้น ข้อสรุปที่ AI ตัดสินจะออกมาจากข้อมูลและวิธีเรียนรู้ ไม่ได้มาจากข้อสรุปของโปรแกรมเมอร์
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาดมีมากมายมหาศาล ตั้งแต่ข้อมูลจำนวนคนไข้ประเภทต่างๆ, ข้อมูลข่าวและโซเชียลมีเดีย, ข้อมูลการเดินทาง, ข้อมูลงานวิจัย, ข้อมูลทางเคมีของยา, ข้อมูลทางพันธุกรรมและโปรตีนของไวรัส ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้สามารถเอาไปใช้สอน AI แบบต่างๆ ให้มันช่วยคิดช่วยสรุปช่วยตัดสินให้มนุษย์
  3. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ก็เช่น การทำนายการเกิดโรคระบาดใหม่, ระบบคัดกรองผู้ป่วยจากอาการและการเดินทาง, การวินิจฉัยจากภาพ CT ทรวงอก, การเสนอยาที่ใช้รักษาโรคอื่นอยู่แล้วมาทดลองกับ Covid-19, การสรุปแนวโน้มงานวิจัยต่างๆ ฯลฯ
  4. ในอนาคต เมื่อเรามีเซนเซอร์ด้านสุขภาพติดตัวมากขึ้น ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ก็น่าจะสามารถถูกไปใช้ในการทำนาย แนะนำ และรักษาโรคต่างๆและโรคระบาดใหม่ๆได้ดีขึ้นอีก

ตัวอย่างลิงก์ที่น่าสนใจ:

บริษัท Blue Dot ที่ตรวจสอบการเกิดโรคระบาด

สรุปแนวโน้มงานวิจัยด้วย NLP ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของ AI

ปัญหาที่เชิญชวนนักวิจัยด้าน AI มาแก้ที่ Kaggle

ตัวอย่างข่าวการใช้ AI ดูภาพ CT ทรวงอกเพื่อวินิจฉัย 1, 2

ข่าวเรื่องการใช้ AI แนะนำว่ายาอะไรน่าเอามาทดลองสู้กับ Covid-19

Conference จากมหาวิทยาลัย Standford เกี่ยวกับ Covid-19 และ AI:

กิจกรรมแก้เบื่อกักตัวอยู่บ้านจากโควิด-19

ผมบันทึกเสียงสั้นๆวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องกิจกรรมทำง่ายๆแก้เบื่อที่บ้าน เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ

ลิงก์ที่อ้างอิงครับ

  1. การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว: เก็บเหรียญในจานใส่น้ำโรยพริกไทย, นมหลากสี, ตะแกรงกันน้ำหก
  2. ท่อกระดาษทรงพลัง
  3. กลตั้งไข่, อธิบายไว้ที่นี่ครับ
  4. กล้องจุลทรรศน์มือถือ, อธิบายไว้ที่นี่ครับ
  5. การทดลองเกี่ยวกับน้ำแปดอย่าง
  6. ช่องยูทูบเด็กจิ๋วดร.โก้
  7. หนังสืออ่านฟรีเกี่ยวกับดาราศาสตร์ภาษาไทย
  8. แหล่งเรียนภาษาอังกฤษ และอีกแหล่งครับ