Category Archives: science class

แสง สีรุ้ง ปริซึม การสะท้อนภายใน ใยแก้วนำแสง ปรับปรุงปืนลม

เมื่อวันอังคารผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมเป็นครั้งสุดท้ายของเทอมครับ เด็กประถมต้นได้คุยกันเรื่องสีรุ้งว่าจริงๆมันมีสีเยอะมากแต่เราตั้งชื่อให้แค่เจ็ดสี ได้ดูการเลี้ยวเบนของแสงผ่านปริซึม ได้คุยกันว่าเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางต่างๆกัน ความเร็วของแสงจะเปลี่ยนไป และจะมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ ได้คุยกันเรื่องการสะท้อนภายในเมื่อแสงทำมุมที่เหมาะสมในตัวกลาง และการประยุกต์หลักการนี้ไปส่งข้อมูลในใยแก้วนำแสง เด็กประถมปลายได้พยายามปรับปรุงปืนลมกระสุนโฟมจากสองสัปดาห์ที่แล้ว ได้เห็นว่าวิถีกระสุนตกลงเพราะแรงโน้มถ่วง และการตั้งศูนย์เล็งว่าทำได้อย่างไรครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คลิปหุ่นยนต์สุดเจ๋ง ดูทิศทางการเดินทางของแสง ทำปืนลมยิงกระสุนโฟม” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น ผมเอาปริซึม (Prism) มาให้เด็กๆดูครับ เอามารับแสงแดดอย่างนี้:

แสงแดดวิ่งผ่านปริซึมกลายเป็นหลายๆสีครับ
แสงแดดวิ่งผ่านปริซึมกลายเป็นหลายๆสีครับ

ผมถามเด็กๆว่าเห็นสีอะไรบ้าง เด็กๆบอกว่าเป็นสีรุ้ง ผมถามว่ารุ้งมีกี่สี เด็กๆก็บอกว่ามีเจ็ดสี ผมเลยให้นับดู เด็กๆนับอย่างยากลำบากมากครับ เพราะจริงๆแล้วสีที่ออกมามันมีเยอะมาก มีหลายสีหลายเฉด แต่เราจำๆกันมาว่ามีเจ็ดสีเพราะเราตั้งชื่อสีมาเรียกสีต่างๆเหล่านี้แค่เจ็ดสีเท่านั้น Continue reading แสง สีรุ้ง ปริซึม การสะท้อนภายใน ใยแก้วนำแสง ปรับปรุงปืนลม

คลิปหุ่นยนต์สุดเจ๋ง ดูทิศทางการเดินทางของแสง ทำปืนลมยิงกระสุนโฟม

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมต้นและปลายได้ดูคลิปหุ่นยนต์ Atlas ที่เดินสองขาและวางแผนการเคลื่อนที่เพื่อทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ เด็กประถมต้นได้สังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ที่เปลี่ยนไปของแสงเมื่อผ่านตัวกลางสองชนิด (น้ำและอากาศ) และได้ฉายเลเซอร์เพื่อสังเกตเองครับ เด็กประถมปลายได้ประดิษฐ์ปืนลมยิงกระสุนโฟมและได้การบ้านให้ไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในอีกสองสัปดาห์ครับ เด็กอนุบาลสามได้สังเกตทิศทางแสงคล้ายๆประถมต้นครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “หัดรู้จัก pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) การเคลื่อนที่ของคลื่นใน Slinky” ครับ)

สำหรับเด็กประถมผมให้ดูคลิปหุ่นยนต์เดินสองขาสุดเจ๋งชื่อ Atlas ครับ:

เจ้าหุ่นยนต์นี่มีมือกลมๆเหมือนโดราเอมอนด้วยนะครับ สามารถเดินสองขาไปตามทางต่างๆแม้จะขรุขระมีหิมะปกคลุม สามารถยกของได้ เมื่อการทำงานถูกขัดขวางก็สามารถตัดสินใจเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานได้ Continue reading คลิปหุ่นยนต์สุดเจ๋ง ดูทิศทางการเดินทางของแสง ทำปืนลมยิงกระสุนโฟม

หัดรู้จัก pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) การเคลื่อนที่ของคลื่นใน Slinky

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้ทำความรู้จักกับค่า pH และทดลองวัดค่าสำหรับของเหลวต่างๆเช่นน้ำก๊อก น้ำอัดลม ชาเขียว ซุปไก่สกัด น้ำมะนาวความเข้มข้นต่างๆ baking soda ละลายน้ำ น้ำยาล้างจาน เด็กประถมปลายได้ฟังผมเล่าข่าวเรื่องพบหมึกสายวงฟ้า (Blue-ringed octopus) ที่มีพิษร้ายแรงในตลาดขายปลาหมึกด้วยครับ เด็กอนุบาลสามทับสองได้เล่นและสังเกตคลื่นในสปริงยาวๆที่เราเรียกว่า Slinky ได้สังเกตการตกของ Slinky และได้ดูคลิป Infinite Slinky ด้วยครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “คุยกันเรื่องคลื่นความโน้มถ่วง หัดดูคลื่นเคลื่อนที่ใน Slinky” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมคุยกับเด็กๆว่าเรื่องค่า pH ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะบอกว่าสารละลายในน้ำมีความเป็นกรด เป็นด่างแค่ไหน ในทางเทคนิค นักวิทยาศาสตร์จะวัดความเข้มข้นที่มีหน่วยเป็นโมลต่อลิตรของไฮโดรเจนไอออน (H+) แล้วใส่เครื่องหมาย -Log[ ] เข้าไปครับ จะได้ค่า pH = -Log[H+] รายละเอียดนี้ผมไม่ได้บอกเด็กๆไปครับ แต่เล่าเรื่องโมเลกุลน้ำที่หน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ที่เต้นไปมาเป็นแสนล้านครั้งต่อวินาที บางทีก็แตกตัวเป็นมิกกี้เมาส์หูหลุด (H20 เปลี่ยนร่างไปมาเป็น OH + H+) แล้วเราก็วัดว่ามีความเข้มข้น H+ เท่าไร ถ้าเอาสารเคมีไปละลายในน้ำ ความเข้มข้น H+ ก็เปลี่ยนไป เราวัดความเข้มข้นนี้เป็นตัวเลขชี้วัดว่าสารละลายเป็นกรดเป็นด่างเท่าไร

โมเลกุลน้ำหน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ครับ
โมเลกุลน้ำหน้าตาเหมือนมิกกี้เมาส์ครับ

Continue reading หัดรู้จัก pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) การเคลื่อนที่ของคลื่นใน Slinky