Category Archives: science class

ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป

ผมไปทำกิจกรรมวิทย์กับเด็กๆมาครับ เด็กประถมได้เห็นไฟฟ้าสถิตดูดน้ำชัดๆ และได้ดูคลิปไฟฟ้าสถิตดูดหยดน้ำในยานอวกาศในสภาพไร้น้ำหนัก ได้รู้หลักการทำงานของไม้ช็อตยุงและทำไมมันถึงเป็นฟ้าผ่าแบบจิ๋วๆที่ทำงานด้วยหลักการเดียวกับฟ้าผ่าจริงๆในท้องฟ้า ได้ดูของเล่นจากไฟฟ้าสถิตที่เรียกว่า Franklin Bells หรือป๋องแป๋งไฟฟ้า เด็กประถมปลายได้ดูวิธีประมาณโวลท์ของไม้ช็อตยุงด้วยการดูว่าประกายไฟข้ามอากาศได้กว้างแค่ไหน เด็กอนุบาลสามได้คุยกันเรื่องธรรมชาติและปริมาณการหมุน และได้เล่นลูกข่างไจโรสโคปครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา” ครับ)

สำหรับเด็กประถม ผมพาไปดูไฟฟ้าสถิตดูดสายน้ำให้ชัดๆครับ ไปที่ก๊อกน้ำเปิดน้ำให้ไหลเป็นเส้นเล็กๆ เอาหลอดพลาสติกถูกกับกระดาษ แล้วเอาหลอดไปใกล้ๆสายน้ำ สายน้ำจะวิ่งเข้าหาหลอดพลาสติกครับ:

ไฟฟ้าสถิตบนหลอดพลาสติกดูดสายน้ำเข้าหาหลอดครับ
ไฟฟ้าสถิตบนหลอดพลาสติกดูดสายน้ำเข้าหาหลอดครับ

สาเหตุที่ไฟฟ้าสถิตดูดน้ำก็เพราะว่าโมเลกุลน้ำ H2O บางส่วนสามารถแตกตัวเป็น H+ ซึ่งมีประจุบวกและ OH ซึ่งมีประจุลบได้ รวมถึงอาจมีไอออนอื่นๆที่มีประจุละลายอยู่ เมื่อเอาไฟฟ้าสถิตไปใกล้ๆ ส่วนประกอบในน้ำที่มีประจุตรงข้ามกับประจุไฟฟ้าสถิ­ตจะถูกดูดเข้าหาแหล่งที่มี ไฟฟ้าสถิต ส่วนประจุที่เหมือนกับไฟฟ้าสถิตจะอยู่ด้านที่ห่างออกไปในสายน้ำ

จากนั้นผมก็ให้เด็กๆดูคลิปการทดลองในสถานีอวกาศครับ เอาเข็มถักไหมพรมที่เป็นพลาสติกไนลอน ถูกับกระดาษ แล้วปล่อยหยดน้ำเข้าไปใกล้ๆ ก่อนจะดู ผมถามเด็กๆว่าคิดว่าหยดน้ำจะเป็นอย่างไร มันจะลอยอยู่เฉยๆ หรือวิ่งหนีหรือวิ่งเข้าหาแหล่งไฟฟ้าสถิต เด็กๆก็เดากันไปต่างๆนาๆครับ แล้วเราก็ดูคลิปกัน: Continue reading ไฟฟ้าสถิต & น้ำในยานอวกาศ ฟ้าผ่าจิ๋ว Franklin Bells ไจโรสโคป

ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทย์มาครับ เด็กประถมต้นได้สังเกตไฟฟ้าสถิตดูดสายน้ำ ได้เห็นการเอาประจุไฟฟ้าจากไม้ช็อตยุงมาเป็นไฟฟ้าสถิต เห็นฟ้าผ่าจิ๊วจากไม้ช็อตยุง เด็กประถมปลายได้สร้าง Electroscope วัดไฟฟ้าสถิตกันเอง เด็กอนุบาลสามได้ดูการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากด้วยการผสมเบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู ใช้เป่าลูกโป่ง ทำถุงระเบิด และจรวดจุกคอร์กครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “Electroscope เปรียบเทียบไฟฟ้าสถิต ระเบิดเบคกิ้งโซดา” ครับ)

สำหรับเด็กประถมต้น เราเล่นไฟฟ้าสถิตกันต่อโดยสร้างไฟฟ้าสถิตบนลูกโป่งหรือหลอดพลาสติก (ด้วยการถูกับพื้น ผ้า หรือกระดาษ) แล้วเอาไปใกล้ๆสายน้ำเล็กๆครับ สายน้ำจะถูกดูดเข้าหาลูกโป่งหรือหลอดพลาสติกครับ:

Continue reading ไฟฟ้าสถิต & น้ำ & ไม้ช็อตยุง สร้าง Electroscope ระเบิดเบกกิ้งโซดา

สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สืบเนื่องจากการบ้านคราวที่แล้วผมให้เด็กไปหาความยาวคลื่นแสงสีแดงมาเปรียบเทียบกับขนาดตัวคนว่าใหญ่กว่ากันกี่เท่า เด็กๆก็ไปหามาได้ว่าความยาวคลื่นประมาณ 700 nm หรือ 0.7 μm หรือขนาดอยู่ในระดับเดียวกับขนาดแบคทีเรีย E. coli แต่ใหญ่กว่าขนาดไวรัสหลายเท่าเพราะไวรัสเล็กกว่า E. coli ประมาณ 10 ถึง 100 เท่า

เด็กๆพบว่าแสงสีต่างๆกันมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน ผมเลยเล่าให้ฟังว่าจริงแล้วแสงที่เรามองเห็น เป็นส่วนเล็กๆของสิ่งที่เรียกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) คือถ้ามีประจุไฟฟ้าขยับไปมาเร็วๆ มันจะสร้างคลื่นให้วิ่งออกมา คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปมาเป็นจังหวะ เราจะแบ่งแยกและตั้งชื่อคลื่นเหล่านี้ตามความถี่ในการสั่นของคลื่น (หรือในทางกลับกันตามความยาวคลื่นก็ได้ เพราะความถี่ในการสั่นแปรผกผันกับความยาวคลื่น)

จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)
จินตนาการหน้าตาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าครับ (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_radiation)

ผมไล่ชื่อของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามรูปนี้ให้เด็กๆเห็นความถี่และเข้าใจคุณสมบัติมันว่าใช้ทำอะไรบ้างครับ: Continue reading สอนวิทย์มัธยม 1: เริ่มรู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า