Category Archives: science class

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 9 ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับโลก

วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 9 กันครับ วันนี้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก

เด็กๆถ้าอยากรู้ว่าเราแบ่งยุคของโลกอย่างไร ลองไปดูที่ Geologic time scale ครับ เช่นยุคประมาณ 350 ล้านปีที่แล้วที่ยังไม่มีตัวอะไรย่อยสลายต้นไม้ทำให้สะสมกลายเป็นถ่านหินเรียกว่า Carboniferous ครับ ชื่อมันแปลว่า carbo- (ถ่านหิน) + fero- (รวบรวม/ขนมา) ในวิดีโอ Cosmos ยุคนี้คือยุคที่มีออกซิเจนเยอะๆและแมลงที่อาศัยการแพร่ของอากาศเข้าไปตามรูตามผิวร่างกายสามารถเติบโตมีขนาดใหญ่มากๆครับ

ถ้าไม่อยากอ่านข้างบน ดูคลิปนี้ก็ดีครับ มีซับอังกฤษครับ:

แนะนำช่อง PBS Eons ครับ:

ลิงก์นี้ (Geologic time scale ที่ UC Berkeley) กดดูแต่ละยุคได้ง่ายและอ่านง่ายกว่าใน Wikipedia ครับ  เด็กๆจะเห็นตัวย่อ mya ซึ่งย่อมาจาก million years ago (ล้านปีที่แล้ว) นะครับ

อยากให้เด็กๆเข้าไปอ่าน Life Timeline ด้วยนะครับ จะได้รู้เกี่ยวกับว่าสิ่งมีชีวิตพวกไหนเกิดขี้นประมาณไหนในประวัติศาสตร์โลก

Timeline สิ่งมีชีวิตครับ https://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_the_evolutionary_history_of_life
Timeline สิ่งมีชีวิตครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_the_evolutionary_history_of_life

ถ้าอยากรู้เรื่องการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทั้งหลายที่ผ่านมา เข้าไปดูหน้านี้ครับ: Extinction event การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดก็คือเมื่อประมาณ 65-66 ล้านปีที่แล้วที่ไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ตายไปทำให้บรรพบุรุษเราที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีโอกาสแพร่พันธุ์หากินได้ทั่วไปมากขึ้น

การสูญพันธุ์ใหญ่ๆที่ผ่านมา 5 ครั้งครับ:

ในช่อง PBS Eons มีหลายวิดีโอที่อยากให้เด็กๆได้ดูครับ เช่นเรื่องการเคลื่อนที่ของทวีปต่างๆ ถ้าฟังไม่ทันกดดูซับนะครับ:

เรื่องไมโตคอนเดรียและคลอโรพลาสท์ที่เมื่อก่อนน่าจะเป็นแบคทีเรียอิสระ แต่มารวมตัวกับเซลล์อื่นกลายเป็นเซลล์สมัยนี้:

และเรื่องไทรโลไบท์ครับ:

ช่องนี้มีวิดีโออีกมากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตบนโลกครับ ถ้าสนใจกดดูไปเรื่อยๆนะครับ

อันนี้เรื่อง James Cameron ลงไปในน้ำลึกกว่า 10 กิโลเมตรที่เราคุยกันในห้องเรียน:

วิทย์ม.ต้น: ดูคลิประเบิดนิวเคลียร์, เขียนโปรแกรม Scratch

วันนี้เด็กๆม.ต้นได้ดูคลิปการทดลองระเบิดนิวเคลียร์จากเมื่อหลายสิบปีก่อน และพึ่งเปิดเผยให้คนทั่วไปดูได้ครับ  มีบางคลิปที่ทดลองในที่อากาศชื้น ระเบิดทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเต็มไปด้วยเมฆฝนก็มี บางอันจะเห็นอะไรแหลมๆออกมากจากลูกระเบิดซึ่งก็คือลวดสลิงและเสาเหล็กที่ค้ำยันลูกระเบิดแล้วโดนความร้อนกลายเป็นไอแปลกดีครับ

ถ้าสนใจเข้าไปดูที่นี่ได้ครับ เป็นลิสต์ใน YouTube จะมีต่อกันไปเรื่อยๆนะครับ:

จากนั้นผมให้เด็กๆเขียนและปรับปรุงโปรแกรมของเขาต่อ มีเด็กหลายคนถามเรื่องการขึ้น Level ต่อไปในเกมของเขา ผมจึงอธิบายในแต่ละเคส และแนะนำให้ลองเข้าไปดูที่หน้า How to Make a Title Screen and Levels เป็นไอเดียครับ

เด็กๆทำเอง อ่านเอง ปรึกษากันเองเป็นส่วนใหญ่ครับ

วิทย์ม.ต้น: Cosmos Ep. 8, จำลองของตกลงสู่หลุมดำ

วันนี้เด็กๆม.ต้นที่กลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมได้ดูรายการ Cosmos: A Spacetime Odyssey ตอนที่ 8 กันครับ วันนี้เรื่องดาวฤกษ์ประเภทต่างๆ พอดูเสร็จเราก็ปล่อยลูกเปตองในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวยเพื่อจินตนาการถึงของที่ตกลงสู่หลุมดำจะวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆชนกันไปมาจนร้อนมากๆเปล่งแสงเอ็กซ์เรย์กันครับ

เด็กๆควรอ่านเรื่องดาวฤกษ์เป็นความรู้รอบตัวจากเว็บของ NASA ที่นี่ครับ 

รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ เป็นภาษาไทยที่นี่ หรือถ้าไม่อยากอ่านแต่อยากดูคลิปลองดูที่นี่ครับ:

การเกิดและตายของดาวฤกษ์ครับ:

ประวัตินิดหน่อยว่าทำไมถึงแจกแจงดาวฤกษ์เป็น OBAFGKM  (จำง่ายๆว่า Oh, Be A Fine Guy(Girl), Kiss Me.):

O จะเป็นพวกร้อนสุด พวก M จะเป็นพวกเย็นสุด ถ้าอยากรู้ประวัติ H-R Diagram (Hertzsprung-Russell Diagram) ที่อยู่ในวิดีโอกดดูที่นี่นะครับ

 มีดาวขนาดใหญ่มากๆด้วยครับ:

อันนี้ความรู้รอบตัวว่าทำไมเราถึงเห็นดาวเป็นแฉกๆทั้งๆที่ดวงดาวจริงๆเป็นทรงกลมครับ:

เนื่องจากใน Cosmos มีการพูดถึงของตกลงไปในหลุมดำด้วย เราเลยหาเรื่องเล่น เอาลูกเปตองมากลิ้งในเก้าอี้พลาสติกรูปกรวย ให้เห็นว่าเวลาของที่โคจรหลุมดำวิ่งเข้าไปใกล้ๆ มันจะมีความเร็วสูงขึ้น และเมื่อของเหล่านั้นชนกันจะเกิดความร้อนเปล่งแสงเป็นเอ็กซ์เรย์ได้ เราเอากล้องถ่ายการเคลื่อนที่ของลูกเปตองใส่ไปในโปรแกรม Tracker เพื่อวัดตำแหน่งของมันด้วยครับ เด็กๆเล่นกันโดยหาทางทำให้ลูกเปตองโคจรอยู่นานที่สุดด้วยวิธีต่างๆกันครับ

ถ้าไม่เคยใช้โปรแกรม Tracker ลองไปดูคลิปและลิงก์ที่วิดีโอนี้นะครับ: