ของไหล (อากาศ, น้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอล ตะเกียบลม

วันอังคารที่ผ่านมาผมไปทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็กอนุบาลสามมาครับ เด็กๆได้เล่นตะเกียบลมที่อาศัยหลักการที่ว่าลม (หรือของไหลอื่นๆเช่นน้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอลทำให้ลูกบอลติดอยู่กับสายลม เหมือนมีตะเกียบล่องหนที่ทำจากสายลมคีบลูกบอลอยู่ครับ ปรากฎการณ์เรียกว่า Coanda Effect ครับ

(อัลบั้มบรรยากาศกิจกรรมอยู่ที่นี่นะครับ คราวที่แล้วเรื่อง “ทาโร่กรอบเพราะอะไร พิมพ์ด้วยสีลอยน้ำ ไฟฟ้ากระแส ลูกข่างไจโร” ครับ)

ผมเอาอุปกรณ์หลายอย่างมาให้เด็กๆดูครับ มีเครื่องเป่าผม พัดลมเล็กๆ เครื่องเป่าหญ้า ลูกปิงปอง ลูกโป่ง โฟมกลมๆ และลูกบอลชายหาดพลาสติก แล้วถามเด็กๆว่าถ้าเราเป่าลูกบอลกลมๆด้วยเครื่องเป่าต่างๆจะเกิดอะไรบ้างครับ ให้เด็กๆเดากันไปแล้วก็จับคู่ลูกบอลประเภทต่างๆกับเครื่องเป่าประเภทต่างๆให้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น พบว่าถ้าแรงเป่ามากไป ลูกบอลก็กระเด็นไปไกล ถ้าลูกบอลหนักไป ลูกบอลก็ตกพื้น แต่ถ้าแรงเป่ามีขนาดเหมาะสมกับลูกบอล ลมจะเลี้ยงลูกบอลให้ลอยอยู่ในอากาศ และเมื่อเปลี่ยนทิศทางลมช้าๆลูกบอกก็จะขยับโดยจะอยู่ในสายลมเสมอด้วยครับ ตัวอย่างการเล่นครับ:

หลังจากเด็กๆเล่นจนเหลือเวลาสิบนาที เราก็มานั่งล้อมวงกันว่าทำไมลูกบอลต่างๆถึงลอยอยู่อย่างนั้นได้ เด็กหลายคนบอกว่าลมมันดันจากด้านล่างทำให้ลูกบอลลอยอยู่ได้ เป็นคำตอบที่ถูกแต่ไม่ครบทีเดียว ผมให้เด็กๆสังเกตว่าถ้าผมเอาลูกบอลบังลมที่เป่ามาที่ตัวผมแล้ว จะมีลมมาโดนตัวผมหรือไม่:

ถามให้เด็กๆเดาว่าถ้าเอาลูกบอลบังกระแสลมอย่างนี้ ลมจะมาถึงตัวผมได้หรือไม่
ถามให้เด็กๆเดาว่าถ้าเอาลูกบอลบังกระแสลมอย่างนี้ ลมจะมาถึงตัวผมได้หรือไม่
ปรากฎว่าลมวิ่งมาโดนตัวผมได้ครับ เสื้อสะบัดใหญ่เลย
ปรากฎว่าลมวิ่งมาโดนตัวผมได้ครับ เสื้อสะบัดใหญ่เลย

พอกดสวิทช์ให้ลมเป่าออกมา ปรากฎว่ามีสายลมวิ่งมาโดนผมครับ สายลมวิ่งเกาะไปตามผิวโค้งของลูกบอล และดึงลูกบอลเข้าสู่สายลมด้วยครับ เนื่องจากเรามองไม่เห็นสายลม (แม้ว่าจะรู้สึกได้) เราจึงดูสายน้ำแทนครับ มันทำตัวคล้ายๆกัน:

การที่สายลมหรือสายน้ำวิ่งไปตามผิวโค้งๆของลูกโป่ง (หรือลูกบอลต่างๆที่เราใช้) และดูดลูกโป่งจะเปรียบเสมือนสายลมหรือสายน้ำทำตัวเป็นตะเกียบล่องหน คีบลูกโป่งไว้ครับ ปรากฎการณ์ที่ของไหล (สายลมหรือสายน้ำ) ชอบวิ่งไปตามผิววัตถุอย่างนี้มีชื่อว่า Coanda Effect ครับ

ถ้าสายลมแรงพอ เช่นออกมาจากเครื่องอัดลมความดันสูง แรงลมสามารถ “คีบ” ไขควงให้ลอยอยู่ได้ด้วยครับ:

ในอดีตผมเคยอัดคลิปการเล่นประมาณนี้ไว้ที่ช่องเด็กจิ๋ว & ดร.โก้ด้วยครับ เด็กๆอาจจะชอบดู:

One thought on “ของไหล (อากาศ, น้ำ) ชอบวิ่งตามผิวลูกบอล ตะเกียบลม”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.