(คราวที่แล้วเรื่องเล่นกับการหมุน
ที่นี่ครับ)
วันนี้เป็นอีกวันอังคารที่ผมได้เข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาลบ้านพลอยภูมิอีกครั้งครับ คราวนี้เราทำการทดลองเกี่ยวกับ “ความเฉื่อย” ครับ
“ความเฉื่อย” หรือ Inertia (อ่านว่า อิ-เนอร์-เชียะ) เป็นคุณสมบัติของวัตถุทุกๆอย่างครับ เป็นคุณสมบัติของวัตถุต่างๆที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าอยู่เฉยๆก็จะอยู่เฉยๆไปเรื่อยๆจนมีอะไรมาทำอะไรกับมัน ถ้าเคลื่อนที่อยู่แล้วก็ไม่อยากหยุด ไม่อยากวิ่งเร็วขึ้น ไม่อยากเลี้ยว ถ้าจะทำให้หยุด หรือเร็วขึ้น หรือเลี้ยว ต้องใช้แรงมากระทำกับมัน
เราเรียกปริมาณความเฉื่อยของวัตถุแต่ละชิ้นว่า “มวล” ของวัตถุ บนโลกถ้าวัตถุไหนมีมวลมาก นำ้หนักของมันก็มากตาม แต่ในอวกาศไกลๆจากโลก แม้ว่าวัตถุนั้นจะมีน้ำหนักน้อยมากๆ (เพราะน้ำหนักคือแรงดึงดูดจากโลกมีค่าน้อยลงเมื่อห่างจากโลก) มวลหรือความเฉื่อยของมันก็ยังมี และทำให้วัตถุไม่ค่อยอยากเปลี่ยนแปลงการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนที่ของมัน ถ้าจะเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีแรงอะไรไปผลักดันดูดดึงมัน
Continue reading ความเฉื่อยครองโลก →
(คราวที่แล้วเรื่องเอาแรงโน้มถ่วงมาเล่น
ที่นี่ครับ)
วันนี้เป็นอีกวันอังคารที่ผมได้เข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ ตอนแรกผมจะทำการทดลองเรื่องโคมไฟลอยที่เห็นในงานวันที่ 5 ธันวา แต่หลังจากทดลองด้วยต้วเองแล้วทำโคมไหม้ไฟจึงเปลี่ยนแผนครับ กลายเป็นว่าคราวนี้เราทำการทดลองเกี่ยวกับการหมุนสองสามอย่าง
เนื่องจากคราวที่แล้วผมบอกเด็กๆว่าของทุกอย่างจะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันจากแรงโน้มถ่วง และสาเหตุที่ดวงจันทร์ไม่พุ่งเข้าชนโลกก็เพราะดวงจันทร์มีความเร็วออกไปทางข้างๆเร็วพอ พอจะตกชนโลกจึงตกลงมาไม่โดนเสียที กลายเป็นโคจรรอบโลกไป ผมจึงคิดหาการทดลองมาให้เด็กๆดูว่าของที่ดูดกัน ไม่จำเป็นต้องชนกันอย่างไรมาให้เด็กดู
Continue reading เล่นกับการหมุน →
(คราวที่แล้วเรื่องร่มชูชีพของเล่นและความรู้เรื่องอากาศ
ที่นี่ครับ)
วันนี้เป็นอีกวันอังคารที่ผมได้เข้าไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กๆกลุ่มบ้านเรียนปฐมธรรมและเด็กๆอนุบาลบ้านพลอยภูมิครับ คราวนี้เราเล่นของเล่นที่ทำง่ายมากๆแต่เล่นสนุก โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก
สำหรับเด็กประถม ผมเอาลูกเหล็กกลมๆ มาปล่อยให้ตกสู่พื้น แล้วถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่าทำไมลูกเหล็กถึงตกลงพื้น เด็กตอบกันว่าเพราะมันหนัก ผมขยายว่าจริงๆแล้วของทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้จักจะดึงดูดซึ่งกันและกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นลูกเหล็ก สุนัข ดอกไม้ ภูเขา ตึก โลก ดวงจันทร์ ตัวของเด็กๆเอง ดาวซิริอุส หลุมดำ หรือ แกแล็คซีที่อยู่ไกลๆ จะมีแรงที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วงดูดทุกสิ่งทุกอย่างเสมอ แต่แรงนี้จะอ่อนลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะทางไกลขึ้น เราจึงไม่รู้สึกถึงแรงจากดาวไกลๆ หรือแกแล็คซีไกลๆ สิ่งที่เราเรียกว่าน้ำหนักของเราก็คือแรงที่โลกดูดเรานั่นเอง
Continue reading เอาแรงโน้มถ่วงมาเล่น →
บันทึกกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่คุณครูเอาไปประยุกต์เล่นกับเด็กๆเยอะๆครับ :-)