Category Archives: General Science Info

วิธีจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศสู้ภาวะโลกร้อน (Carbon Capture)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องการจับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศสู้โลกร้อนเลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. ภาวะโลกร้อนเกิดจากก๊าซเรือนกระจกเช่นไอน้ำ มีเธน คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไม่ค่อยปล่อยให้ความร้อนในรูปรังสีอินฟราเรดหนีออกไปจากโลก
  2. ปริมาณคาร์บอนไอออกไซด์เพิ่มขึ้นมากจากก่อนยุคอุตสาหกรรม (ก่อนเราจะเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซเชื้อเพลิง) ร่วม 2 เท่า (จากประมาณ 250 ppm เป็น 400 ppm ในเวลาสองร้อยปี)
  3. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มประมาณ 16,000 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 2 ppm ต่อปี)
  4. ถ้าไม่จัดการปัญหานี้เราอาจสูญพันธุ์ได้จากวงจรอุบาทว์ (positive feedback) ที่โลกร้อนมากขึ้นเรื่อยๆจนสิ่งมีชีวิตปัจจุบันอยู่ไม่ได้
  5. วิธีที่มนุษย์พยายามทำกันคือลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังแสงอาทิตย์ และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วยวิธีต่างๆเช่นปลูกต้นไม้ เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินปูนหรือพลาสติก ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ขบวนการผลิตสร้างก๊าซเรือนกระจกมากๆ

ลิงก์น่าสนใจ:

ไอซ์แลนด์ทดลองเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินปูนได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งทดแทนเนื้อที่อาจช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

เครื่องจักรนิรันดร์ (Perpetual Motion Machine)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องเครื่องจักรนิรันดร์ ซึ่งก็คือเครื่องจักรที่สามารถทำงานต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องป้อนพลังงานเข้าไป เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. เครื่องจักรแบบนั้นไม่มีในปัจจุบันครับ
  2. ถ้ามีเครื่องจักรแบบนั้น มันจะทำงานขัดกับกฎธรรมชาติเรื่องการอนุรักษ์พลังงานหรือการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปี (กฎทางเทอร์โมไดนามิกส์) ผู้ประดิษฐ์น่าจะได้รางวัลโนเบลจากการค้นพบกฎธรรมชาติใหม่ๆและร่ำรวยจากพลังงานที่เขาขาย
  3. ผู้ประดิษฐ์อาจเข้าใจผิดเช่นวัดพลังงานผิดพลาด หรือไม่ได้สังเกตว่ามีพลังงานวิ่งเข้าไปในเครื่องจักร หรือไม่ก็ตั้งใจหลอกลวงผู้อื่นโดยใส่แหล่งพลังงานเช่นแบตเตอรี่ไว้ข้างใน

รวมตัวอย่างคลิป (หลอกๆแต่ดูสมจริง) ใน YouTube ครับ

ตัวอย่างลิงก์อธิบายที่น่าสนใจ:

ลิงก์เรื่องไบโอเมตริกซ์ (Biometrics)

วันนี้ผมบันทึกเสียงสั้นๆเรื่องวิทยาศาสตร์ทั่วไปในรายการ Sci & Tech ที่วิทยุไทยพีบีเอสเรื่องไบโอเมตริกซ์ (biometrics) คือการใช้ร่างกายหรือพฤติกรรมระบุตัวตน เลยเอาสรุปและลิงก์ที่ผู้สนใจเข้าไปดูเพิ่มเติมมารวมไว้ที่นี่ครับ:

สรุปคือ

  1. ระบบพวกนี้มีมานานแล้ว เช่นลายเซ็นหรือลายนิ้วมือ
  2. เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงเก็บและใช้ข้อมูลได้มากขึ้น
  3. ตอนนี้เราเพิ่มระบบจดจำใบหน้า ลูกตา ลักษณะการเดิน จังหวะการพิมพ์คีย์บอร์ด เส้นเลือดใต้ผิวหนัง คลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ DNA ฯลฯ
  4. เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการระบุตัวตน
  5. น่าจะเพิ่มความถูกต้องและปลอดภัยเช่นตามด่านตรวจคนเข้าเมือง
  6. ถ้าถูกแฮ็กแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้ง่ายๆเหมือนพาสเวิร์ด
  7. ความเป็นส่วนตัวอาจจะลดลงไป
  8. รัฐอาจใช้ควบคุมประชาชน

ตัวอย่างไบโอเมตริกซ์:

หลอกโทรศัพท์ด้วยลายนิ้วมือ:

วิธีเก็บลายนิ้วมือด้วยกาวตราช้าง (super glue):

ตัวอย่างระบบจดจำใบหน้า (facial recognition) และปัญหาที่มี:

ระบบ Face ID ของ iPhone ทำงานอย่างไร:

ประสบการณ์ขอไม่ใช้ระบบจดจำใบหน้าในสนามบินในสหรัฐ

ระบุตัวตนโดยการวัดการเต้นของหัวใจด้วยเลเซอร์ (ไกลถึง 200 เมตร)